รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ทำให้ทองคำ และ BTC มีการปรับตัวลงเรื่อยๆ

เผยแพร่ 01/09/2565 19:18
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ตลาดหุ้นทั่วโลกได้มีการร่วงลงอีกครั้งในวันนี้ ส่งผลให้ราคา BTC นั้นได้มีการปรับตัวลงตามตลาดหุ้นสหรัฐฟิวเจอร์สที่มีการปรับตัวลงในวันนี้

ในขณะที่การแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้กดดันราคาทองคำให้ลงมาอยู่ที่ระดับ 1,700$ อีกครั้ง

เราไปสรุปภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกในวันนี้กันก่อนเช่นเดิมครับ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพุธ (31 ส.ค.) โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปิดในแดนลบติดต่อกัน 4 วันทำการ และทำสถิติเดือนส.ค.ที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,510.43 จุด ร่วงลง 280.44 จุด หรือ -0.88%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,955.00 จุด ลดลง 31.16 จุด หรือ -0.78% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,816.20 จุด ลดลง 66.93 จุด หรือ -0.56%

ตลอดทั้งเดือนส.ค. ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงทั้งสิ้น 4.06%, ดัชนี S&P500 ดิ่งลง 4.24% และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 4.64% โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีทำผลงานในเดือนส.ค.ที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2558

ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดกล่าวในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮลเมื่อวันศุกร์ (26 ส.ค.) ว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย และยังกล่าวด้วยว่าหลังจากเสร็จสิ้นการใช้มาตรการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า

ทางด้านนางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้อยู่เหนือระดับ 4% ภายในต้นปี 2566 และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ นางเมสเตอร์ส่งสัญญาณว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถูกเทขายอย่างต่อเนื่อง นำโดยหุ้นเอชพี ดิ่งลง 7.68% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลประกอบปีงบการเงิน 2565 นอกจากนี้ ผู้บริหารของเอชพียังเตือนว่า ยอดขายคอมพิวเตอร์พีซีมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างมาก เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจมหภาคกำลังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และทำให้ลูกค้าในกลุ่มนี้มีความระมัดระวังมากขึ้นในการซื้อคอมพิวเตอร์พีซี

ส่วนหุ้นบริษัทเทคโนโลยีรายอื่น ๆ ที่ปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ รวมถึงหุ้นซีเกต เทคโนโลยี ดิ่งลง 3.54% หุ้นไมโครซอฟท์ ปรับตัวลง 0.57% หุ้นแอปเปิล ร่วงลง 1.06% หุ้นไอบีเอ็ม ลดลง 0.9% หุ้นอินเทล ร่วงลง 1.05%

หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง หลังจากราคาน้ำมัน WTI ดิ่งหลุดจากระดับ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยหุ้นโคโนโคฟิลลิปส์ ลดลง 0.967% หุ้นออคซิเดนเชียล ปิโตรเลียม ร่วงลง 1.4% หุ้นเชฟรอน ดิ่งลง 1.58% หุ้นเอ็กซอน โมบิล ลดลง 0.75%

หุ้นเบด บาธ แอนด์ บียอนด์ ซึ่งเป็นบริษัทขายปลีกสินค้าภายในบ้าน ทรุดตัวลง 21.30% หลังจากบริษัทประกาศปิดสาขา 150 แห่ง และเลย์ออฟพนักงานจำนวนมาก

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 132,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 300,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 270,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค.

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 300,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 528,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันพุธ (31 ส.ค.) และปิดตลาดเดือนส.ค.ในแดนลบ โดยถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ว่า เงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนส.ค.แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง โดยความวิตกเกี่ยวกับหุ้นกลุ่มพลังงานทวีความรุนแรงขึ้น หลังจากรัสเซียเริ่มยุติการส่งก๊าซให้กับเยอรมนีผ่านท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1

ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 415.12 จุด ลดลง 4.69 จุด หรือ -1.12%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,125.10 จุด ลดลง 85.12 จุด หรือ -1.37%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 12,834.96 จุด ลดลง 126.18 จุด หรือ -0.97% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,284.15 จุด ลดลง 77.48 จุด หรือ -1.05%

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดครั้งใหม่ในรอบ 6 สัปดาห์ และลดลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงานที่ร่วงลง 2.6% หลังจากราคาน้ำมันยังคงร่วงลงจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ดัชนี STOXX 600 ปิดตลาดในเดือนส.ค.ร่วงลง 5.1% จากความวิตกเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่าง ๆ, ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และการปันส่วนพลังงานในยุโรป

อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ 9.1% ในเดือนส.ค. จากระดับ 8.9% ในเดือนก.ค.ซึ่งสูงเกินคาด และสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ระดับ 2%

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันศุกร์ที่แล้วว่า ผู้กำหนดนโยบายของ ECB บางคนต้องการที่จะหารือเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนก.ย. แม้มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ตาม

บรรดานักลงทุนมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังรัสเซียยุติการส่งออกก๊าซผ่านท่อส่งนอร์ดสตรีม 1 ในวันพุธนี้

หุ้นเอนี (Eni) ของอิตาลี ร่วงลง 3.5% หลังเปิดเผยว่า บริษัทจะได้รับก๊าซในปริมาณที่ลดลงจากบริษัทก๊าซพรอมของรัสเซีย

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันพุธ (31 ส.ค.) โดยปรับตัวลงรายวันรุนแรงที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ เนื่องจากการเตือนเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้าได้ตอกย้ำความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงในอังกฤษ

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,284.15 จุด ลดลง 77.48 จุด หรือ -1.05%

เงินเฟ้อของอังกฤษอยู่เหนือระดับ 10% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ขณะที่ราคาพลังงานมีแนวโน้มพุ่งขึ้น 80% จากเดือนต.ค. และคาดว่าจะปรับตัวขึ้นต่อไป ขณะที่โกลด์แมน แซคส์เตือนเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า เงินเฟ้อในอังกฤษอาจพุ่งเกิน 20% ในต้นปีหน้า

ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ในเดือนก.ย. และจะชะลอการปรับขึ้นเหลือ 0.25% ในเดือนพ.ย.ก่อนที่จะยุติการปรับขึ้นดอกเบี้ย

บรรดานักลงทุนจะรอการประกาศชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษในวันที่ 5 ก.ย.นี้ ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นบ่งชี้ว่า นางลิซ ทรัสส์ รมว.ต่างประเทศเป็นตัวเก็งที่จะเข้ารับตำแหน่งดังกล่าวมากกว่านายริชิ ซูแนค อดีตรมว.คลัง

นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากผลการสำรวจที่บ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจอังกฤษร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2565 ขณะที่บริษัทต่าง ๆ วิตกเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมภาคการผลิตของจีนจากผลสำรวจภาคเอกชน

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 27,797.00 จุด ลดลง 294.53 จุด หรือ -1.05% , ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 19,761.72 จุด ลดลง 192.67 จุด หรือ -0.97% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,196.54 จุด ลดลง 5.60 จุด หรือ -0.17%

นักลงทุนจับตาดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนส.ค.จากไฉซิน/มาร์กิตที่มีกำหนดเผยแพร่ในวันนี้

ดัชนี PMI ภาคการผลิตอย่างเป็นทางการประจำเดือนส.ค.ของจีนเผยแพร่ในวันพุธ (31 ส.ค.) โดยแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมภาคการผลิตหดตัวลงท่ามกลางการพุ่งขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และภาวะคลื่นความร้อนที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ

เมื่อคืนนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นในช่วงแรกของรอบการซื้อขาย แต่ปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 4

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วง 280.44 จุด หรือเกือบ 0.9% แตะที่ 31,510.43 ดัชนี S&P 500 ร่วงประมาณ 0.8% ปิดที่ 3,955 และดัชนี Nasdaq Composite ปรับตัวลงราว 0.6% แตะที่ 11,816.20 จุด

ผลสำรวจซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกันไฉซินระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนส.ค.ของจีนปรับตัวลงสู่ระดับ 49.5 จากระดับ 50.4 ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 50.2 โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากอุปสงค์ชะลอตัวลง นอกจากนี้ ปัญหาขาดแคลนพลังงานและการแพร่ระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของจีน

นายหวัง เจ๋อ นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทไฉซิน อินไซต์ กรุ๊ปกล่าวว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัวอย่างอ่อนแอ เนื่องจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ที่ยังคงแพร่ระบาดในท้องถิ่น และปัญหาคลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมในประเทศจีน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง

ทั้งนี้ ข้อมูลของไฉซินสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ที่รายงานเมื่อวานนี้ว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนส.ค.ของจีนอยู่ที่ระดับ 49.4 ซึ่งแม้ว่าขยับขึ้นจากระดับ 49 ในเดือนก.ค. แต่ดัชนี PMI อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนยังคงอยู่ในภาวะหดตัว อันเนื่องมาจากผลกระทบของโรคโควิด-19, วิกฤตพลังงาน และการทรุดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์

จากการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนที่ได้ออกมาในช่วงเช้านี้เอง ที่ได้ทำให้ตลาดหุ้นจีนร่วงลง ส่งผลให้สกุลเงินหยวน CNY ได้มีการอ่อนค่าลงอย่างหนัก และส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย AUD มีการอ่อนค่าด้วยเช่นกัน หนุนดัชนีดอลลาร์สหรัฐ DXY ให้พุ่งขึ้น และกดดันราคาทองคำให้ร่วงลงมาที่ระดับ 1,702$ ในช่วงเช้าที่ผ่านมา

ในขณะที่การร่วงลงของตลาดหุ้นจีนนี้เอง ได้ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปฟิวเจอร์สและตลาดหุ้นสหรัฐฟิวเจอร์สได้มีการปรับตัวลงเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ราคา BTC ได้มีการปรับตัวลงในช่วงเช้าที่ผ่านมาด้วย

ตลาดหุ้นเอเชียปิดภาคเช้าลดลงเป็นส่วนใหญ่ในวันนี้ โดยถูกกดดันจากการที่ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ในวันพุธ (31 ส.ค.) ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดภาคเช้าที่ 27,673.14 จุด ร่วงลง 418.39 จุด หรือ -1.49%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดภาคเช้าที่ 19,650.77 จุด ลดลง 303.62 จุด หรือ -1.52% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดภาคเช้าที่ 3,209.87 จุด เพิ่มขึ้น 7.74 จุด หรือ +0.24%

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลดลง โดยได้รับแรงกดดันจากกรณีที่หุ้นอินวิเดีย (Nvidia) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐ ปรับตัวลง 6.6% ในการซื้อขายนอกเวลาทำการที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กช่วงเช้านี้ หลังรัฐบาลสหรัฐแจ้งให้อินวิเดียระงับการส่งออกชิปคอมพิวเตอร์ระดับสูง 2 รุ่นสำหรับงานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้กับจีน

ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) จากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีนในวันนี้ต่างก็แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวลง จากผลพวงของปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูง อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และสงครามในยูเครน

นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกในเดือนนี้ โดยเมื่อคืนนี้ นางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้อยู่เหนือระดับ 4% ภายในต้นปี 2566 จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.25% - 2.50%

นางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ กล่าวว่า เฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ก่อนที่จะสามารถผ่อนคลายมาตรการในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ

นางเมสเตอร์ระบุว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้อยู่เหนือระดับ 4% ภายในต้นปี 2566 และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่ง

นอกจากนี้ นางเมสเตอร์ระบุว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า

คำกล่าวของนางเมสเตอร์สวนทางการคาดการณ์ในตลาดที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปีหน้า

ขณะเดียวกัน นางเมสเตอร์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงสู่ระดับ 5-6% ในปีนี้ และจะเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า

และจากข่าวที่ออกมาในเมื่อคืนนี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันตลาดอย่างหนัก และทำให้ทั้งตลาดหุ้น ทองคำ และ BTC ได้มีการปรับตัวลงเรื่อยๆ โดยที่ไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นได้เลย

ราคาทองฟิวเจอร์และราคาทองสปอตร่วงลงเช้านี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ณ เวลา 10.42 น.ตามเวลาไทย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 10.30 ดอลลาร์ หรือ 0.60% แตะ 1,715.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนราคาทองสปอตปรับตัวลง 0.3% แตะ 1,705.86 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาทองฟิวเจอร์ร่วงหลุดจากระดับ 1,720 ดอลลาร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยล่าสุด นางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้อยู่เหนือระดับ 4% ภายในต้นปี 2566 และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ นางเมสเตอร์ส่งสัญญาณว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า

นอกจากนี้ นักลงทุนยังกังวลว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน โดยนายมาดิส มูลเลอร์ ประธานธนาคารกลางเอสโตเนีย กล่าวว่า ECB ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 8 ก.ย.นี้ เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ โดยขณะนี้เงินเฟ้อในยูโรโซนอยู่สูงกว่าเป้าหมายที่ 2% ของ ECB ถึง 4 เท่า

ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปเปิดตลาดลดลงในวันนี้ โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุก และเงินเฟ้อที่พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ดัชนี STOXX 600 เปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 414.47 จุด ลดลง 0.65% หรือ -0.16%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีเปิดวันนี้ที่ 12,713.75 จุด ลดลง 121.21 จุด หรือ -0.94% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเปิดวันนี้ที่ 6,068.34 จุด ลดลง 56.76 จุด หรือ -0.93%

หุ้นทุกกลุ่มปรับตัวลง โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงนำตลาด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย ส่วนหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวลง 1.8% หลังราคาโลหะลดลง

ตลาดเงินยูโรโซนคาดการณ์ว่า มีโอกาสประมาณ 80% ที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมสัปดาห์หน้า เมื่อเทียบกับที่ประมาณ 50% เมื่อวานนี้ (31 ส.ค.)

เอสแอนด์พี โกลบอล/ซีไอพีเอสเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายในเดือนส.ค.ของอังกฤษปรับตัวลงสู่ 47.3 จาก 52.1 ในเดือนก.ค. แต่ดีกว่าตัวเลขดัชนี PMI ขั้นต้นซึ่งอยู่ที่ระดับ 46.0

อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขขั้นสุดท้ายจะดีกว่าตัวเลขขั้นต้น แต่ก็ยังคงเป็นดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2563 เนื่องจากการผลิต ธุรกิจใหม่ และคำสั่งส่งออกใหม่ต่างก็ปรับตัวลงอย่างมาก นอกจากนี้ การขยายตัวของการจ้างงานชะลอลงด้วย โดยอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 20 เดือน

และจากการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษที่ได้ออกมาในตอนช่วง 15:30 นี้เอง ได้ทำให้สกุลเงินปอนด์ GBP มีการอ่อนค่าลง และยิ่งส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ DXY ปรับตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ได้มีการย่อลงในช่วงบ่ายที่ผ่านมา และส่งผลให้ราคาทองคำได้มีการปรับตัวลงจากระดับ 1,708$ ลงมาอยู่ที่ระดับ 1,700$ ในขณะนี้

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงลงในวันนี้ โดยบรรยากาศการซื้อขายยังคงถูกกดดันจากการที่ตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นยุโรปยังคงปิดตลาดวานนี้ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 27,661.47 จุด ร่วงลง 430.06 จุด หรือ -1.53%

หุ้นลบนำตลาดได้แก่ กลุ่มขนส่งทางทะเล, กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันและถ่านหิน

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดร่วงลงกว่า 2% ในวันนี้ เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นปัจจัยฉุดหุ้นกลุ่มที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย

ดัชนี S&P/ASX 200 ปิดที่ 6,845.60 จุด ลดลง 141.20 จุด หรือ -2.02% และดัชนี All Ordinaries ปิดที่ 7,079.90 จุด ลดลง 146.20 จุด หรือ -2.02%

ดัชนีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ร่วงลง 3% และ 2.2% ตามลำดับ

หุ้นบีเอชพีดิ่งลง 7.6% ซึ่งได้ฉุดดัชนีหุ้นกลุ่มวัสดุดิ่งลง 4.9%

ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดร่วงลงในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้มาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ในจีน รวมทั้งรายงานที่ว่าภาคการผลิตของจีนชะลอตัวลงในเดือนส.ค.

ทั้งนี้ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดที่ 3,184.98 จุด ลดลง 17.16 จุด หรือ -0.54%

นครเฉิงตูสั่งล็อกดาวน์ตั้งแต่คืนนี้ (1 ก.ย.) เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยนับเป็นการปิดเมืองขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการล็อกดาวน์นครเซี่ยงไฮ้ต่อเนื่อง 2 เดือนในปีนี้ โดยการตัดสินใจดังกล่าวตอกย้ำถึงการยึดมั่นต่อนโยบายโควิดเป็นศูนย์ที่ริเริ่มโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แม้จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ของประชาชนกว่า 20 ล้านคนและเศรษฐกิจโลกก็ตาม

ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากผลสำรวจซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกันไฉซินระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนส.ค.ของจีนปรับตัวลงสู่ระดับ 49.5 จากระดับ 50.4 ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 50.2 โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากอุปสงค์ชะลอตัวลง นอกจากนี้ ปัญหาขาดแคลนพลังงานและการแพร่ระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของจีนด้วย

ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดตลาดในแดนลบวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะที่เงินวอนร่วงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ปิดวันนี้ที่ 2,415.61 จุด ลดลง 56.44 จุด หรือ -2.28%

ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดลดลงในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ดัชนีฮั่งเส็งปิดตลาดที่ระดับ 19,597.31 จุด ลดลง 357.08 จุด หรือ -1.79%

ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮลเมื่อวันศุกร์ (26 ส.ค.) ว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย และยังกล่าวด้วยว่าหลังจากเสร็จสิ้นการใช้มาตรการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า

ทางด้านนางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้อยู่เหนือระดับ 4% ภายในต้นปี 2566 และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ นางเมสเตอร์ยังส่งสัญญาณว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ความคิดเห็นล่าสุด

ขอบคุณครับ
ขอบคุณมากครับอาจารย์
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย