สัปดาห์ที่แล้วถือเป็นการปิดสัปดาห์ได้สวยที่สุดของดัชนีตลาดหุ้นอเมริกา เมื่อดัชนีทั้งสี่อย่างเอสแอนด์พี 500 ดาวโจนส์ แนสแด็กและรัสเซล 2000 สามารถปิดบวกได้ เอสแอนด์พี 500 ดาวโจนส์และแนสแด็กสามารถปิดบวกได้อย่างน้อย 6%
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าตลาดลงทุนขานรับตัวเลขดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลในเดือนเมษายนที่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9% เช่นเดียวกับตัวเลขที่หักลบกับอัตราเงินเฟ้อแล้วก็ยังปิดบวก 0.7% เอาชนะตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 0.7% มาได้ ด้วยเหตุนี้ ตลาดลงทุนจึงมีความหวังกับรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ เพราะเชื่อว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์อีกกลุ่มกลับไม่คิดเช่นนั้น พวกเขามองว่าเศรษฐกิจอเมริกากำลังชะลอตัวโดยอ้างอิงข้อมูลจากตัวเลขดัชนียอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง และดัชนียอดขายที่อยู่อาศัยที่รอการปิดการขายซึ่งหดตัวลดลง พวกเขาเชื่อว่าตัวเลขนี้จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วจนเกินไป และอ้างว่านี่คือสาเหตุที่ทำให้ตลาดลงทุนกลับมามีความมั่นใจและกล้าลงทุนในหุ้น
ข้อมูลตัวเลขดัชนียอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง ที่รายงานไปเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลง 2.4% ขยับลงไปใกล้กับจุดต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ ในเดือนเดียวกัน ตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยที่รอการปิดการขายในเดือนเมษายนก็ปรับตัวลดลงไปยังระดับ 3.9% ข้อมูลจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์สหรัฐอเมริกาเผยว่าตัวเลขที่รอการปิดการขายได้ปรับตัวลดลงมาแล้วเป็นสัปดาห์ที่หกติดต่อกัน นับเป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวมากที่สุดในรอบเกือบสิบปี
นอกจากนี้ตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่ได้ปรับตัวลดลง 16.6% MoM จากตัวเลขที่แก้ไขแล้วในเดือนมีนาคมที่ 26.9% YoY อัตราการจำนองที่สูงขึ้น ที่เกิดพร้อมกับความสามารถในการซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยใหม่ลดลง ประกอบการหดตัวของตัวเลข GDP แบบปีต่อปีที่ -1.5% มากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 นี่คือสัญญาณของเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ชัดว่ามีนักลงทุนอยู่ในทั้งสองกลุ่ม สองความเชื่อนี้พอสมควร และขาขึ้นที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นเพราะขาลงที่ลงมามากเกินไป จึงเกิดแรงซื้อจากการเข้าสะสมเกิดขึ้น ส่วนตัวแล้ว ต่อให้สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นต่อ เราไม่คิดว่าขาขึ้นครั้งนี้จะอยู่ได้นาน เพราะภาพรวมใหญ่แล้ว เรายังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง การย่อตัวกลับขึ้นมาบ้างในแนวโน้มขาลงถือเป็นเรื่องปกติ ที่สำคัญการย่อขึ้นมาเช่นนี้หากมองในมุมขาลง เหมือนการขึ้นมาหาคนที่ต้องการเทขายเพิ่ม และปรับตัวลดลงต่อ
กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นดัชนีเอสแอนด์พี 500 ที่ปรับตัวขึ้นมา 6.6% โดยที่หุ้นทุกกลุ่มสามารถปิดบวกได้หมด มีเพียงหุ้นในกลุ่มผู้ให้บริการด้านการสื่อสารเท่านั้นที่ปิดบวกน้อยที่สุด 3.8% แม้ว่าเอสแอนด์พี 500 จะสามารถกลับขึ้นมายืนเหนือเส้น neckline เกิดเป็นรูปแบบหัวไหล่ด้านหงาย (Head & Shoulder) ภาพรวมแล้วกราฟก็ยังคงวิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลงอยู่ดี การสวนเทรนด์เทรดตามขาขึ้นในปัจจุบันขึ้นไปทดสอบกรอบราคาด้านบน สำหรับเราแล้วถือว่ามีความเสี่ยง
ในกราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีก็เกิดเหตุการณ์ที่น่าสนใจขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีอยู่ช่วงหนึ่งที่กราฟสามารถดีดตัวกลับขึ้นไปยังระดับ 3.1% ได้ ก่อนที่จะร่วงลงมาปิดอยู่ต่ำกว่า 2.8% สะท้อนให้เห็นความกังวลของนักลงทุนทั้งสองฝั่ง ที่ยังไม่สามารถมองออกมาเศรษฐกิจอเมริกาจะเป็นเช่นไรต่อไป จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ขาขึ้นฉับพลันเมื่อวันศุกร์ทำให้รูปแบบหัวไหล่เสร็จสิ้น (ส่วนที่วิ่งขึ้นลงเร็วกลายเป็นไหล่ขวา)
แม้ว่าดัชนีดอลลาร์สหรัฐจะร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในแนวโน้มขาชึ้น
เมื่อเทียบจากกราฟในรูปด้านบน จะเห้นว่าดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังมีพื้นที่ให้ย่อลงมาปรับฐานได้อีกมาก โดยที่ยังสามารถรักษาแนวโน้มขาขึ้นในปัจจุบันเอาไว้ได้
เมื่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า แน่นอนว่าราคาทองคำต้องปรับตัวขึ้น ซึ่งทองคำสามารถทำเช่นนี้มาได้สองวันติดต่อกันแล้ว แต่จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราเชื่อว่าทองคำจะปรับตัวลดลงต่อตามเทรนด์เดิม
จริงอยู่ว่าในระยะสั้นราคาทองคำอาจจยังปรับตัวขึ้นต่อได้ แต่ในระยะยาว ตามกรอบราคาขาลงแล้ว ราคาทองคำมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวลดลงต่อไป
ราชาแห่งสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ยังคงดิ้นรนอย่างหนักกับความพยายามที่จะยืนเหนือ $30,000 ให้ได้ ตอนนี้ราคาบิทคอยน์ทำได้เพียงวิ่งแบบไซด์เวย์ในกรอบราคาแคบๆ การปรับตัวครั้งถัดไปไม่ว่าจะขึ้นหรือว่าลง จะเป็นตัวชี้ชะตาแนวโน้มการวิ่งในระยะยาว
นับเป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่บิทคอยน์ติดอยู่ในกรอบรูปแบบหัวไหล่ ที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างการสร้างเสร็จหรือยังไม่เสร็จดี
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ห้าติดต่อกัน ขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม
ลักษณะการวิ่งของกราฟราคาน้ำมันดิบ WTI ในตอนนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตร สมมุติว่าราคาน้ำมันดิบสามารถทะลุกรอบสามเหลี่ยมนี้ขึ้นไป มีโอกาสที่จะได้ทดสอบจุดสูงสุดของราคาน้ำมันดิบในวันที่ 8 มีนาคมอีกครั้ง
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณตาม EDT)
วันจันทร์
21:30 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 47.4 เป็น 48.0 จุด
หมายเหตุ: ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันทหารผ่านศึก
วันอังคาร
03:55 (เยอรมัน) อัตราการว่างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก -13K เป็น -16K
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 7.4% เป็น 7.7% YoY
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 1.1% เป็น 0.5% MoM
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 3.4% เป็น 0.7% QoQ
21:45 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมหาลัยไซซิน: ตัวเลขครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ 46.0
วันพุธ
03:55 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 54.7
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 54.6
07:00 (ยูโรโซน) ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป
08:15 (สหรัฐฯ) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรภาคเอกชน ADP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 247K เป็น 300K
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 54.4 เป็น 54.5
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขตำแหน่งงานที่เปิดรับจาก JOLT: คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยจาก 11.549M เป็น 11.400M
10:00 (แคนาดา) การประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.00% เป็น 1.50%
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: ครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ 0.9% MoM
วันพฤหัสบดี
11:00 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -1.019M เป็น -0.737M
วันศุกร์
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะลดลงจาก 428K เป็น 320K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 3.6% เป็น 3.5%
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะลดลงจาก 57.1 เป็น 56.4