รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ลุ้นรายงานดัชนี PMI สหรัฐฯ และจับตารายงานการประชุมเฟดล่าสุด

เผยแพร่ 23/05/2565 08:46
อัพเดท 09/07/2566 17:32
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดยังคงผันผวนหนัก จากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวหนักและผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อสูงต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน
  • ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว ตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ในฝั่งสหรัฐฯ รวมถึงยุโรป นอกจากนี้ รายงานการประชุมเฟดต้นเดือนพฤษภาคม จะเป็นที่จับตาของผู้เล่นในตลาดและอาจให้ภาพแนวโน้มนโยบายการเงินเฟดที่ชัดเจนมากขึ้นได้

  • ผู้เล่นในตลาดทยอยลดการถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและหันมาถือเงินเยนญี่ปุ่นหรือทองคำแทน ทำให้เงินดอลลาร์อาจไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากหากตลาดปิดรับความเสี่ยง ยกเว้นในกรณีที่ ตลาดกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานการประชุมเฟดและถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ส่วนเงินบาทอาจแกว่งตัว Sideways และผันผวนตามบรรยากาศในตลาดการเงิน โดยเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้ ถ้าตลาดเปิดรับความเสี่ยงจากความหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทว่าเงินบาทอาจไม่แข็งค่าไปมาก จากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจไหลเข้าลดลงและบรรดาผู้นำเข้าต่างรอซื้อเงินดอลลาร์ในจังหวะเงินบาทแข็งค่าขึ้นอยู่

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    34.10-34.70
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงหนักและเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ตลาดจะให้ความสำคัญต่อรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่อาจส่งสัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ อย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Manufacturing & Services PMIs) โดยตลาดคาดว่า ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาจขยายตัวในอัตราชะลอลง จากผลกระทบของปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหา Supply Chain สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคมที่อาจลดลงสู่ระดับ 57.8 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) ในขณะที่ภาคการบริการอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อสูงไม่มากนัก หนุนโดยตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งและความสามารถในการชำระหนี้ที่ดี (Debt-Servicing to Income ratio อยู่ในระดับต่ำ น้อยกว่า 10%) โดยดัชนี PMI ภาคการบริการจะอยู่ที่ระดับ 55.3 จุด ส่วนเงินเฟ้อ PCE เดือนเมษายนอาจชะลอลงสู่ระดับ 6.2% ซึ่งอาจช่วยลดความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อได้บ้าง อย่างไรก็ดี ตลาดจะจับตารายงานการประชุมเฟด (FOMC Meeting Minutes) ในเดือนพฤษภาคม อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมิน ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเฟด โดยเฉพาะมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมถึงคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal Rate) ที่ตลาดมองไว้ราว 3.25%

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่า ผลกระทบจากสงครามที่สร้างปัญหาเงินเฟ้อสูงและปัญหา Supply Chain จะยังคงกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจเยอรมนี สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี (Ifo Business Climate) ในเดือนพฤษภาคม ที่จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 91.4 จุด ต่ำกว่า ความเฉลี่ยในช่วง 10 ปี ที่ระดับ 97.4 จุด นอกจากนี้ ตลาดจะรอประเมินภาพรวมเศรษฐกิจยุโรป ผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการ ในเดือนพฤษภาคม โดยตลาดคาดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจยังคงเผชิญแรงกดดันจากผลกระทบของสงครามและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงเศรษฐกิจโลก ทำให้ภาคการผลิตอาจขยายตัวในอัตราชะลอลง ชี้โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตที่จะลดลงสู่ระดับ 54.8 จุด จาก 55.5 จุด ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ภาคการบริการอาจได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นบ้าง แต่โดยรวมยังคงฟื้นตัวได้ดี สอดคล้องกับรายงาน Google (NASDAQ:GOOGL) Mobility data ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนี PMI ภาคการบริการ อาจลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 57.5 จุด

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีนจะกดดันภาคการผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น สะท้อนผ่าน ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคมที่จะลดลงสู่ระดับ 52 จุด อย่างไรก็ดี การผ่อนคลายมาตรการ Lockdown จะช่วยหนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศคึกคักมากขึ้น ชี้โดย ดัชนี PMI ภาคการบริการ เดือนพฤษภาคม ที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51 จุด ทำให้โดยรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ดีอยู่ นอกจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะรอติดตามผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางในเอเชีย โดยตลาดมองว่า ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 2.00% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวดีขึ้น เช่นเดียวกันกับ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ที่อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.75% หลังเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.50% ทว่า BI อาจส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป หากเศรษฐกิจเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อ รวมถึงการอ่อนค่าของค่าเงินมากขึ้น โดยผู้เล่นในตลาดเริ่มมองว่า BI อาจขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนมิถุนายน

    • ฝั่งไทย – ตลาดคาดว่ายอดการส่งออก (Exports) ในเดือนเมษายน อาจโตราว +14.6%y/y ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่โตเกือบ 20% จากผลกระทบของสงครามรวมถึงปัญหาการระบาดของโอมิครอนในจีน ขณะที่ยอดการนำเข้า (Imports) จะโตกว่า +18%y/y จากราคาสินค้าต้นทุน/วัตถุดิบที่แพงขึ้นและการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้ดุลการค้ามีโอกาสขาดดุลได้

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย