หลังจากที่นักลงทุนชาวไทยได้หยุดไปเต็มๆ เกือบหนึ่งเก้าวัน สัปดาห์นี้ก็ถึงเวลากลับเข้าสู่โลกความเป็นจริงซึ่งเราเชื่อว่าธีมหลักก็จะยังคงเป็นเงินเฟ้อ และปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ที่ยังไม่สามารถหาความแน่นอนให้กับนักลงทุนได้ จะยังคงเป็นภาพรวมการลงทุนหลักต่อไป นั่นจะทำให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถูกเทขาย และนักลงทุนก็จะหันไปถือครองหุ้นสายป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอีกเช่นเคย
สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯ ส่งท้ายการลงทุนด้วยการปิดตลาดติดลบ กลุ่มหุ้นบนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ส่วนใหญ่ปิดติดลบ ยกเว้นเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงานที่สามารถปิดบวกได้ 0.33% ตามมาด้วยกลุ่มสาธารณูปโภคที่รอดจากแดนลบมาได้อย่างหวุดหวิด กับขาขึ้นรวมแล้วตลอดทั้งสัปดาห์เพียง 0.05%
จากน้อยไปหามาก กลุ่มหุ้นที่ปิดติดลบในสัปดาห์ที่แล้วน้อยที่สุดคือกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าจำเป็นด้วยตัวเลขติดลบ 0.03% โดยปกติแล้วหุ้นกลุ่มนี้มักจะรอดเพราะถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงได้ แสดงให้เห็นความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อเศรษฐกิจอเมริกา ณ ปัจจุบัน กลุ่มหุ้นตัวต่อมาที่ปิดติดลบคือกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยตัวเลข -0.11% ตามมาด้วยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง -0.34% กลุ่มผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร -1.7% และที่ลบหนักที่สุดคือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ที่ติดลบมากที่สุดถึง 2.43%
ยิ่งหากได้พิจารณาภาพรวมของกลุ่มหุ้นตลอดทั้งสัปดาห์ที่แล้วจะยิ่งเห็นความชัดเจนของขาลงมากยิ่งขึ้น หุ้นกลุ่มเทคฯ ปิดติดลบมากที่สุดถึง 5.13% ตามมาด้วยกลุ่มผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร -2.78% มีเพียงสามกลุ่มเท่านั้นที่สามารถปิดเป็นบวกได้คือกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าจำเป็น +0.57% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง +1.27% และกลุ่มพลังงาน +3.17% สาเหตุของความผันผวนในครั้งนี้ก็ยังคงหนีไม่พ้นข่าวสงครามรัสเซียยูเครน ที่ยังคงผลักดันให้ราคาพลังงานปรับตัวขึ้นท่ามกลางความวิตกกังวลว่าซัพพลายเชนสินค้าโภคภัณฑ์จะขาดแคลน
ณ จุดๆ นี้หากจะฝืนเชื่อว่าหุ้นกลุ่มเทคฯ ยังคงเป็นบวกอยู่ ก็คงมีแต่จะต้องพิจารณาจากกราฟรายปีและรายห้าปีเท่านั้น ที่ยังคงปิดบวก 4% ตลอดระยะเวลา 12 เดือนล่าสุด และ 180% สำหรับกราฟห้าปี ในขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานนั้น เฉพาะภาพรวมตลาดแค่หนึ่งปีก็สามารถปิดบวกได้มากถึง 62.33%
เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ความไม่แน่นอนยิ่งเติบโตในตลาดที่ไร้กลุ่มหุ้นให้ยึดเหนี่ยว
การยอมรับความจริงแบบไม่พูดออกมาตรงๆ ของธนาคารกลางสหรัฐฯ เกี่ยวกับเงินเฟ้อที่ไม่ใช่เรื่องชั่วคราวอีกแล้วยิ่งทำให้นักลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์ สตรีทเป็นกังวล ธนาคารยักษ์ใหญ่หลายแห่งได้ออกมาพูดในทำนองที่คล้ายกันว่าเฟดต้องรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้มากกว่านี้เพื่อสกัดการเติบโตของเงินเฟ้อ ซึ่งกลายเป็นความท้าทายของตลาดการเงินทั่วโลกไปเป็นที่้รียบร้อย สภาวะซัพพลายเชนขาดแคลน ตามด้วยสงครามยุโรปครั้งใหญ่ครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยิ่งอาจเป็นอันตรายมากขึ้นเมื่อมอสโกเริ่มขู่เปิดศึกนิวเคลียร์ครั้งแรก
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จงใจที่จะเพิกเฉยต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะก้าวเข้ายอมรับแบบอ้อมๆ ว่าสายเกินไปที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้ออย่างชัดเจน ข้อโต้แย้งนี้เชื่อว่าเฟดจะทำได้เพียงไล่ตามเงินเฟ้อมากกว่าที่จะแซงหน้าสกัดได้ หากสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะกลายเป้นช่วยสมทบให้เงินเฟ้อเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น ความกังวลเหล่านั้นแสดงออกผ่านตลาดอย่างชัดเจนเมื่อหุ้นและพันธบัตร ซึ่งมักจะเป็นตัวแทนขั้วตรงข้ามของวัฏจักรเศรษฐกิจ ได้ร่วงลงมาพร้อมกัน แม้แต่เส้นอัตราผลตอบแทนระยะสั้นและยาวก็ได้ส่งสัญญาณที่ทำให้เชื่อได้ว่าคนไม่มั่นใจกับเศรษฐกิจระยะยาวอีกแล้ว เมื่อเกิดสภาวะอย่าง inverted yield curve ขึ้น
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจที่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เราจะได้เห็นภาพของกราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีทะยานขึ้นยืนเหนือ 2.8% ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2018 นี่คือการส่งสัญญาณเตือนไปยังนักลงทุนในตลาดหุ้น เพราะยิ่งอัตราผลตอบแทนฯ ขึ้นแรง ยิ่งหมายถึงความเชื่อว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ที่รุนแรงมากกว่านี้
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค กราฟอัตราผลตอบแทน 10 ปีปรับตัวขึ้นตามรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ที่ตอนนี้กราฟได้สามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เส้นค่าเฉลี่ย 50 สัปดาห์ ก็สามารถตัดข้ามเส้น 100 วันไปได้ และกำลังมุ่งหน้าขึ้นทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2017
นอกจากนี้ การรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 1 ปี 2022 ก็จะสร้างความผันผวนให้กับหุ้นกลุ่มสายป้องกัน เพราะจะมีสองบริษัทใหญ่ที่รายงานผลประกอบการคือบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (NYSE:JNJ) และพร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิล (NYSE:PG)
สำหรับวันเวลาการรายงานผลประกอบการของบริษัททั้งสองนั้น เจแอนด์เจจะรายงานในวันพรุ่งนี้ ก่อนตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เปิด ในขณะที่พีแอนด์จีจะรายงานในวันพุธที่ 20 เมษายน ก่อนตลาดหลักทรัพย์เปิดเช่นกัน นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าไตรมาสที่ผ่านมา เจแอนด์เจจะสามารถทำกำไรได้ $23,690 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ $22,320 ล้านเหรียญสหรัฐเล็กน้อย ในขณะที่พีแอนด์จีจะสามารถทำกำไรได้ $18,720 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราผลตอบแทนต่อกำไร (EPS) เพิ่มขึ้นเป็น $1.3
นอกจากทั้งสองบริษัทนี้ ยังมีอีกสองบริษัทที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นก็คือการรายงานผลประกอบการของบริษัทเทสลา (NASDAQ:TSLA) และเน็ตฟลิกซ์ (NASDAQ:NFLX) เทสลาจะรายงานผลประกอบการในวันเดียวกันกับพีแอนด์จี แต่เป็นหลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการ นักวิเคราะห์คาดว่าเทสลาจะสามารถทำกำไรในไตรมาสนี้ได้ $17,630 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมี EPS อยู่ที่ $2.24 แน่นอนว่าตอนนี้นายอีลอน มัสก์ CEO ของบริษัทกำลังเป็นที่จับตาอย่างมาก หลักพยายามที่จะเทคโอเวอร์บริษัททวีตเตอร์ทั้งหมดด้วยการซื้อหุ้น แต่ยังไม่สำเร็จ
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะเห็นว่าหุ้นเทสลาไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อตามเทรนด์เดิมได้ แต่เราก็ยังไม่มองว่าเป็นขาลงระยะยาว จนกว่าราคาจะวิ่งลงต่ำกว่าระดับราคา $700
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล มีราคาปิดล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วที่ 100.32 สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2020
แต่ถึงกระนั้น การวิเคราะห์ทางเทคนิคกลับบอกว่าดัชนีดอลลาร์สหรัฐวิ่งอยู่ในกรอบราคาประมาณนี้มาสี่วันติดต่อกันแล้ว นักลงทุนขาขึ้นยังคงพยายามที่จะดันกราฟให้ปรับตัวขึ้นไปให้ได้
ส่วนสินค้าโภคภัณฑ์ตัวหลักๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญ ทองคำย่อตัวลงมาในวันสุดท้ายของสัปดาห์ที่แล้ว จบสถิติขาขึ้นห้าวันติดต่อกัน ในขณะที่เดียวกัน ราคาบิทคอยน์ขยับขึ้นลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
กราฟบิทคอยน์กำลังสร้างรูปแบบธงเล็กๆ ขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว หากเกิดรูปแบบนี้ มีโอกาสที่ราคาจะวิ่งไปต่อในทิศทางเดิม ซึ่งหมายความว่าการวิ่งลงไปทดสอบเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้น หากหลุดเส้นเทรนด์ไลน์นี้ลงไปได้ มีโอกาสเห็นกราฟบิทคอยน์วิ่งลงไปทดสอบระดับราคา $30,000 อีกครั้ง
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นจากข่าวสหภาพยุโรปกำลังจะพยายามที่จะลดการพึ่งพาน้ำมันจากรัสเซียอย่างจริงจังเพราะสงคราม
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค แม้ราคาน้ำมันดิบ WTI จะทะลุกรอบสามเหลี่ยมพักฐานขึ้นมาได้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าขาขึ้นรอบนี้จะรอด ดังนั้นจึงควรรอให้อย่างน้อยกราฟราคาน้ำมันดิบ WTI สามารถทะลุขึ้นยืนเหนือจุดสูงสุดเดิมหรือ $115 ต่อบาร์เรลให้ได้
ข่าวเศรษฐกิจเด่นประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันอาทิตย์
22:00 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 4.0% เป็น 4.4%
22:00 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะลดลงจาก 7.5% เป็น 4.5%
วันจันทร์
วันหยุดอีสเตอร์ในประเทศสหราชอาณาจักร เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง นิวซีแลนด์
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย
วันอังคาร
08:30 (สหรัฐฯ) ตัวเลขการอนุญาตก่อสร้าง: คาดว่าจะลดลงจาก 1.865M เป็น 1.830M
21:15 (ประเทศจีน) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้: ครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ 3.70%
วันพุธ
08:30 (แคนาดา) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน: ตัวเลขในเดือนกุมภาพันธ์ออกมาอยู่ที่ 0.8%
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง: คาดว่าจะลดลงจาก 6.02M เป็น 5.80M
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะลดลงจาก 9.382M เป็น 0.863M
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 1.8% เป็น 1.0% MoM
วันพฤหัสบดี
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะคงที่ 7.5%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 185K เป็น 175K
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีภาคการผลืตจากเฟดฟิลาเดเฟีย: คาดว่าจะลดลงจาก 27.4 เป็น 20.0 จุด
13:00 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
13:00 (ยูโรโซน) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลางยุโรป
วันศุกร์
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะคงที่ -0.3% MoM
03:30 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 56.9 เป็น 54.4 จุด
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะออกมาอยู่ที่ 55.2 จุด
09:45 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI คอมโพสิตจาก Markit: ครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ 57.7 จุด