สัปดาห์ที่ผ่านมาถือได้ว่าตลาดลงทุนอเมริกาเอาตัวรอดมาได้อย่างหวุดหวิด แม้จะมีความผันผวนเกิดขึ้น แต่ดัชนีบางตัวอย่างเช่นเอสแอนด์พี 500 และดาวโจนส์ในวันศุกร์ยังสามารถวิ่งกลับขึ้นมาปิดบวกได้ 0.51% และ 0.44% ตามลำดับ หุ้นกลุ่มที่พาเอสแอนด์พี 500 กลับขึ้นมาได้คือกลุ่มพลังงาน ที่สามารถปิดบวก 2.19% ตามมาด้วยกลุ่มสาธารณูปโภค 1.45% มีเพียงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและสินค้าอุปโภคบริโภคเท่านั้นที่ปิดติดลบ
ในวันเดียวกัน ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นได้เพียง 0.44% เท่านั้น ในขณะที่ดัชนีแนสแด็ก 100 และรัสเซล 2000 ปิดตลาดติดลบตัวละ 0.1% แม้ว่าสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงดำเนินต่อไป และไม่อาจวางใจได้ แต่สัปดาห์นี้นักลงทุนอาจจำเป็นต้องสละเวลามาดูรายงานตัวเลขเศรษฐกิจกันสักนิด เพราะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนมีนาคม จะรายงานตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 เมษายนนี้เลย ความสำคัญก็คือหากวันศุกร์นี้ตัวเลขที่ออกมาลดลง ก็จะยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่เฟดจะพิจารณาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้าขึ้นจาก 0.25% เป็น 0.50%
สิ่งที่จะเป็นปัญหาลูกโซ่ ต่อเนื่องจากตัวเลขการจ้างงานก็คือถ้าหากมีการจ้างงานลดลง ความต้องการแรงงานก็จะเพิ่มขึ้น ผลักดันให้ตัวเลขค่าจ้างต้องเพิ่มสูงขึ้น และนั่นจะยิ่งซ้ำแผลเศรษฐกิจ ที่ตอนนี้เงินเฟ้อก็สูงที่สุดในรอบสี่สิบปีอยู่แล้ว ให้สูงมากยิ่งกว่านี้ แม้แต่ราคาน้ำมันดิบในตอนนี้เองยังอยู่ ณ จุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2011 ห่างจากจุดสูงสุดในปี 2008 เพียง 0.04% เท่านั้น
หากราคาน้ำมันดิบขึ้นทดสอบจุดสูงสุดในปี 2008 ได้ บางคนคาดการณ์ว่าเฟดจะถูกบังคับให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะไม่กระทบแค่ต้นทุนการเดินทางเท่านั้น แต่อุตสาหกรรมของอเมริกา ที่ยังต้องพึ่งพาน้ำมันสำหรับการผลิตและการขนส่งผลิตภัณฑ์ จะต้องได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น ต้นทุนของสินค้าอื่นๆ ก็จะปรับตัวขึ้นตามเช่นกัน
ภาพรวมของดัชนีเอสแอนด์พี 500 ในสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวขึ้น 1.79% นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน ที่วิ่งขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.59% ตามมาด้วยหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง 3.7% สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ กลุ่มที่ติดลบในสัปดาห์ที่แล้วมีเพียงหุ้นกลุ่มสุขภาพ (-0.52%) และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (-0.21%) ตามลำดับ
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เมื่อวันศุกร์ปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงสุดนับตั้งแต่จุดสูงสุดในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ หยุดอยู่ที่แนวต้านของเส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน แต่ก่อนหน้านี้เอสแอนด์พี 500 ได้ส่งสัญญาณขาขึ้นออกมาแล้วเมื่อราคาสามารถขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 และ 200 วัน
สิ่งที่นักลงทุนต้องชั่งใจในสัปดาห์นี้คือความเป็นไปได้ระหว่างการเป็นขาขึ้นและลง เทรนด์ไหนจะมีความเป็นไปได้มากกว่ากัน ก่อนหน้านี้เส้นค่าเฉลี่ย 50 วันได้ตัดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันลงมาแล้ว การกลับขึ้นมาทำให้ราคาได้กลับมาทดสอบ 4500 จุดอีกครั้ง ซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นทั้งแนวรับและแนวต้านมาก่อน ถือเป็นจุดสำคัญที่จะมีความผันผวนเกิดขึ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีสามารถขึ้นยืนเหนือระดับ 2% ได้ และกำลังอยู่บนเส้นทางของการมุ่งหน้าขึ้นทดสอบระดับ 3% ในขณะเดียวกันดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันศุกร์แม้จะเคลื่อนตัวขึ้น แต่ก็วิ่งอยู่ในกรอบราคาแคบๆ ถือว่ายังสามารถรักษาขาขึ้นสี่จากห้าสัปดาห์ล่าสุดเอาไว้ได้
ถึงจะยังคงเป็นขาขึ้น แต่สิ่งที่นักลงทุนต้องระวังคือความชันที่กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังสร้าง ณ ตอนนี้เอนเอียงไปทางแนวโน้มขาลง การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่าตลาดกำลังเตรียมพร้อมรับมือกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และสอดคล้องกับตลาดหุ้นที่มีแรงหนุนขาลงมากกว่าขึ้น ถึงเอสแอนด์พี 500 และดาวโจนส์จะเอาตัวรอดปิดบวกมาได้ แต่เราเชื่อว่าอีกไม่นานต่อกลายเป็นขาลงไม่ต่างจากแนสแด็กและรัสเซล 2000
ทองคำเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวลง 0.41% หากพิจารณาตลอดสัปดาห์จะพบว่าทองคำปรับตัวขึ้น 1.29%
ความเคลื่อนไหวของราคาทองคำที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้คือจับตาการสร้างไหล่ขวาของรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) หากสร้างไหล่ขวาสำเร็จ ให้จับตาดูแนวรับที่บริเวณราคา $1,900
สกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ปรับตัวขึ้นอีกเมื่อวันเสาร์ กลายเป็นแนวโน้มขาขึ้นวันที่ห้าติดต่อกัน และยังคงวิ่งอยู่ใกล้กับระดับราคา $45,000 สาเหตุที่ราคาบิทคอยน์ปรับตัวขึ้นอาจเกิดขึ้นมาจากข่าวลือในวงการที่ว่ามูลนิธิเทอร่า ซึ่งเป็นเจ้าของสเตเบิลคอยน์ UST กำลังสะสมบิทคอยน์ เพื่อเป็นทุนสำรองนอกจากดอลลาร์
แต่จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคกลับบอกว่านักลงทุนควรจะจับตาดูขาขึ้นรอบนี้ไปก่อน เพราะตอนนี้กราฟกำลังติดแนวต้าน ซึ่งยังขึ้นไปไม่ถึงแนวต้านของเส้น neckline ที่ $50,000 หากขึ้นไปถึงบริเวณนั้น ราคาบิทคอยน์อาจจะยังปรับตัวลง ต่อแนวโน้มหลักต่อได้ ตอนนี้ปัจจัยพื้นฐานกับเทคนิคมีความขัดแย้งกัน นอกจากเทอร่า รัสเซียกำลังพิจารณาจะใช้สกุลเงินบิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ชำระตามกฎหมายได้ แต่การวิเคราะห์ทางเทคนิคกลับชี้ให้เห็นว่าขาขึ้นรอบนี้ยังมีความเสี่ยง
สุดท้าย ราคาน้ำมันดิบเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทะยานขึ้น 8.79% ชิงพื้นที่จากขาลงในรอบสองสัปดาห์กลับมาได้ครึ่งหนึ่ง
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค อินดิเคเตอร์วอลลุ่ม (Volume) แสดงทิศทางที่ตรงกันข้ามกับกราฟขาขึ้น สามารถตีความได้ว่ามีความต้องการน้ำมันลดลง การปรับตัวลดลงวิ่งต่ำกว่า $93.63 ต่อบาร์เรลจะกลายเป็นการสร้างแนวโน้มขาลงอย่างเป็นทางการ
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
07:00 (สหราชอาณาจักร) ถ้อยแถลงจากประธานธนาคารกลาง
20:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 1.8% เป็น 1.0%
วันอังคาร
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก CB: คาดว่าตัวเลขในเดือนมีนาคมจะลดลงจาก 110.5 เป็น 107.0
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขตำแหน่งงานเปิดใหม่จาก JOLT: ตัวเลขในเดือนมกราคมออกมาอยู่ที่ 11.263M
วันพุธ
08:15 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจากเอกชน (ADP): คาดว่าจะลดลงจาก 475K เป็น 428K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 2.3% เป็น 7.1% QoQ
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: สัปดาห์ที่แล้วมีตัวเลขออกมาอยู่ที่ -2.508M bbl
21:30 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: ตัวเลขในเดือนกุมภาพันธ์ออกมาอยู่ที่ 50.2 จุด
วันพฤหัสบดี
02:00 (สหราขอาณาจักร) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าตัวเลขเทียบไตรมาสจะลดลงจาก 1.1% เป็น 1.0% แต่ตัวเลขเทียบรายปีจะคงที่ 6.5% YoY
03:55 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขการว่างงาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -33K เป็น -20K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าตัวเลขของสัปดาห์ที่แล้วจะเพิ่มขึ้นเป็น 200K
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.0% เป็น 0.2%
19:50 (ญี่ปุ่น) ดัชนีภาคการผลิตในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จาก Tankan: คาดว่าจะลดลงจาก 18 เป็น 12
19:50 (ญี่ปุ่น) ดัชนีที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก Tankan: คาดว่าจะลดลงจาก 9 เป็น 5
21:45 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมหาลัยไซซิน: ตัวเลขในเดือนกุมภาพันธ์ออกมาอยู่ที่ 50.4
วันศุกร์
03:55 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 58.4 เป็น 57.6 จุด
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจากคงที่ 55.5 จุด
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 5.9% เป็น 6.5%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะลดลงจาก 678K เป็น 475K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 3.8% เป็น 3.7%
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะคงที่ 58.6 จุด