คำถามสำคัญที่นักลงทุนอยากทราบในสัปดาห์นี้คือ พฤติกรรมภาพรวมในตลาดหุ้นอเมริกาจะยังคงเป็นการดักซื้อเมื่อราคาหุ้นย่อตัวลงมา อย่างเช่นที่เกิดขึ้นไปเมื่อวันศุกร์หรือไม่? เพราะตอนนี้เรื่องที่นักลงทุนกำลังเก็งกันมากที่สุดคือการโจมตียูเครนของรัสเซียจะส่งผลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ที่จะเกิดขึ้นภายในช่วงกลางเดือนมีนาคมนี้ด้วยหรือเปล่า? หรือประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน จะตัดสินใจยกทัพกลับก่อน? ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็มีแต่ความเป็นไปได้ทั้งนั้น เราจึงเชื่อว่าในสัปดาห์นี้ตลาดลงทุนจะยังคงผันผวนต่อไป
การดักซื้อของนักลงทุนในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ดัชนีเอสแอนด์พี 500 กระโดดขึ้นมา 6% จากจุดต่ำสุดของวันพฤหัสบดี ขึ้นมาปิดบวกได้ในวันศุกร์ การดีดตัวกลับขึ้นมาครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนขาขึ้น เพราะนั่นคือจุดที่เกิดขึ้นหลังจากเทรนด์ขาลงที่ทำตลาดร่วงลงมา 12% นับตั้งแต่จุดสูงสุดในวันที่ 3 มกราคม ยิ่งเมื่อได้พิจารณากราฟเอสแอนด์พี 500 ทางเทคนิคแล้ว ยิ่งพบว่าขาขึ้นครั้งนี้มีความเป็นไปได้มากทีเดียว
กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นว่าการดีดตัวเมื่อวันพฤหัสบดี-ศุกร์ที่แล้ว เกิดขึ้น ณ บริเวณเส้น neckline ของรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) พอดี แสดงให้เห็นว่าแรงสนับสนุนขาขึ้นยังปฏิเสธไม่ยอมให้เอสแอนด์พี 500 ลงไปต่ำมากกว่านี้ หากสัปดาห์นี้ขาขึ้นดังกล่าวสามารถยืนเหนือเส้น neckline นี้ได้ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างขาขึ้นที่พอจะมีโอกาส เพราะอย่างไรเสีย เทรนด์ใหญ่ที่คุมตลาดก็ยังเป็นขาลง ไม่ว่าจะเป็นกรอบราคาขาลง แล้วเส้นค่าเฉลี่ยทั้งสามเส้น (50 100 และ 200 DMA) ที่ยังคงพร้อมใจกันแสดงภาพของเทรนด์ขาลง
กลุ่มหุ้นบนดัชนีเอสแอนด์พี 500 มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ กลุ่มเทคโนโลยีและผู้ให้บริการคมนาคมสามารถปรับตัวขึ้นมาได้ 1.36% และ 1.62% ตามลำดับ ในขณะที่หุ้นกลุ่มวัฐจักรอื่นก็สามารถวิ่งขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าจำเป็นสาธารณูปโภค และวัสดุก่อสร้างต่างก็ขึ้นตัวละ 3% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมและพลังงานสามารถปรับตัวขึ้นได้ 2%
ถึงจะเป็นสัญญาณที่ดีเช่นไร แต่นักลงทุนบางส่วนก็อาจจะเลือกที่จะรอดู เพราะเมื่อหักล้างกับขาลงที่เกิดขึ้นมาตลอดตั้งแต่ต้นปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ภาพรวมตอนนี้เอสอินด์พี 500 ก็ยังเป็นแนวโน้มขาลง 8% และทีสำคัญ เดือนนี้นักลงทุนจะให้ความสำคัญกับการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด ถึงแม้ว่าการประชุมจะมีขึ้นในช่วงกลางเดือน แต่วันพฤหัสบดีนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็มีนัดที่ต้องแถลงต่อสภาคองเกรส ซึ่งนักลงทุนอยากทราบเป็นอย่างยิ่งว่าเฟดมีความเห็นอย่างไรกับสงครามระหว่างรัสเซียยูเครน
นอกจากนี้นักลงทุนต้องไม่ลืมว่านี่คือสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมแล้ว และทุกๆ วันศุกร์ของสัปดาห์แรก จะต้องมีการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐอเมริกา เท่ากับว่าสัปดาห์นี้จะมีข่าวเศรษฐกิจให้จับตามองมากมาย และยังมีรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนชื่อดังอย่างเช่น Salesforce.com (NYSE:CRM) Zoom Video (NASDAQ:ZM) Target (NYSE:TGT), Best Buy (NYSE:BBY) และ Costco Wholesale (NASDAQ:COST) ที่นักลงทุนไม่ควรจะมองข้าม
พฤติกรรมของกราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐลาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีถือว่าน่าสนใจ เพราะก่อนปิดตลาดเมื่อวันศุกร์แท่งเทียนขาขึ้นสามารถขึ้นปิดเหนือกรอบรูปธงลู่ลงได้ หากสัปดาห์นี้กราฟสามารถคงแรงขาขึ้นนี้ต่อไป จะเป็นการยืนยันว่าอัตราผลตอบแทนเลือกที่จะขึ้นต่อ สร้างแรงกดดันให้กับตลาดหุ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยที่แพงขึ้น ย่อมหมายถึงการได้ซื้อหุ้นในราคาที่แพงขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่าในช่วงต้นของสัปดาห์ก่อน ดอลลาร์สหรัฐจะปรับตัวขึ้นในฐานะสกุลเงินสำรองปลอดภัย แต่ในวันศุกร์ดัชนีดอลลาร์สหรัฐก็ได้ปรับตัวลดลงมา
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปทดสอบแนวต้านด้านบนของกรอบรูปเพชร (Diamond Pattern) ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไปได้ว่านี่อาจจะเป็นจุดสูงสุดที่กราฟจะทำให้ในขาขึ้นระลอกนี้ แต่ถ้าหากขาขึ้นมีกำลังและสามารถพาราคาให้ปรับตัวขึ้นต่อได้ ให้ทิ้งความเป็นได้ของการปรับฐาน หรือย่อตัวลงในทันที
ถึงแม้ว่าทองคำจะร่วงลงมาในวันศุกร์ แต่เราเชื่อว่ายังมีโอกาสที่ขาขึ้นจะไปได้ต่อในสัปดาห์นี้
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ตอนนี้ราคาทองคำได้อยู่ในโซน overbought การปิดคำสั่งซื้อเพื่อทำกำไรก่อน ทำให้กรอบสามเหลี่ยมที่อยู่คู่กับทองคำมาตั้งแต่สิงหาคมปี 2020 อาจจะกลายมาเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งในอนาคต
ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้อยู่ ราคาบิทคอยน์สามารถขยับขึ้นมายืนเหนือ $39,000 ได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม หากว่ากราฟบิทคอยน์สร้างรูปแบบหัวไหล่เสร็จ มีโอกาสที่จะได้เห็นบิทคอยน์ที่ $30,000
สุดท้าย ราคาน้ำมันดิบถือเป็นอีกตลาดที่คนให้ความสนใจในช่วงสงครามไม่แพ้กัน นักลงทุนจะเฝ้าจับตาในสัปดาห์นี้ว่าหลังจากตะวันตกคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันเป็นอันดับสองของโลก ไปแล้ว ราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้นต่อหรือไม่ เพราะหากเลวร้ายจริงๆ รัสเซียอาจจะลงโทษยุโรปด้วยการไม่ส่งพลังงานให้อีกต่อไป
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตาคือสหรัฐฯ จะเร่งมือในการทำข้อตกลงกับอิหร่านเรื่องนิวเคลียร์ให้เสร็จสิ้นเร็วขึ้น เพื่อดึงกำลังการผลิตน้ำมันของอิหร่านกลับมาหรือไม่ หากทำเช่นนั้นได้ จะเป็นการบรรเทาพิษภัยของราคาน้ำมันแพงได้อย่างน้อยในระดับหนึ่ง
ในช่วงที่การปะทะมีความรุนแรง ราคาน้ำมัน WTI ณ จุดหนึ่งสามารถทะลุกรอบรูปธงขึ้นไปแตะ $100 ต่อบาร์เรลได้ ก่อนที่จะวิ่งกลับลงมาอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมดังเดิม หากมีการทะลุกรอบสามเหลี่ยมนี้ขึ้นไปอีกครั้ง จะเป็นส่งสัญญาณว่าราคาน้ำมันพร้อมที่กลับมาสร้างเทรนด์ขาขึ้นให้ยืนเหนือ $100 ต่อบาร์เรลอย่างมั่นคงให้จงได้ ซึ่งไม่ใช่ผลดีต่อผู้บริโภคเลย
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)
วันอาทิตย์
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -4.4% เป็น 0.4% MoM
วันจันทร์
20:30 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 50.1 เป็น 49.0
20:45 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมหาลัยไซซิน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 49.1 เป็น 49.5
22:30 (ออสเตรเลีย) รายงานการประชุมของธนาคารกลาง
วันอังคาร
03:55 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 58.5 จุด
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 57.3 จุด
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลข GDP: คาดการณฺว่าจะลดลงจาก 0.6% เป็น 0.1%
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 57.6 เป็น 58.0
(ยังไม่ยืนยัน) (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลงลดจาก -1.9% เป็น -2.7% QoQ
วันพุธ
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้ผลิต: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 5.1% เป็น 5.3%
08:15 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชน ADP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -301K เป็น 350K
10:00 (แคนาดา) รายงานการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง: คาดการณ์ว่าจะขึ้นจาก 0.25% ขึ้นเป็น 0.5%
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: ตัวเลขสัปดาห์ก่อนออกมาอยู่ที่ 4.515M
วันพฤหัสบดี
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการบริการ: คาดว่าจะคงที่ 60.8 จุด
07:30 (ยูโรโซน) รายงานการประชุมของธนาคารกลาง
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 232K เป็น 226K
10:00 (สหรัฐฯ) ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อสภาคองเกรส
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะเพิ่มชึ้นจาก 59.9 เป็น 61.0 จุด
วันศุกร์
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการก่อสร้าง: คาดว่าจะลดลงจาก 56.3 เป็น 54.3
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะลดลงจาก 467K เป็น 450K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการว่างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 4.0% เป็น 3.9%