🥇 กฎข้อแรกของการลงทุนหรือ? รู้ว่าเมื่อใดควรประหยัด! รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ก่อนโปรโมชั่น BLACK FRIDAY จะหมดเขตรับส่วนลด

มองหาความมั่นคงในยามวิกฤต? 2 กองทุน ETF ที่สามารถซื้อและถือเอาไว้ได้ตลอดไป

เผยแพร่ 28/02/2565 15:11
US500
-
MSFT
-
IVV
-
GOOGL
-
AAPL
-
AMZN
-
NVDA
-
TM
-
TSLA
-
TSM
-
VXUS
-
GOOG
-
TCEHY
-
SSNLF
-
NSRGY
-
RHHBY
-
SPY
-

จริงอยู่ว่าตอนนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่ความผันผวน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยโรคระบาด เงินเฟ้อ และภัยสงคราม แต่สำหรับนักลงทุนที่อยู่มานาน พวกเขาทราบดีว่าการกระจายความเสี่ยงสามารถมอบผลตอบแทนในระยะยาวกลับคืนมาได้ 

สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบ วิธีการคำนวณว่าหุ้นตัวไหนจะสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนเป็นเท่าทวีคุณในช่วงความผันผวนรุนแรงเช่นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้เราขอเสนอวิธีการคำนวณหาผลตอบแทนง่ายๆ ด้วยการใช้กฎที่มีชื่อว่า “กฎแห่ง 72” ซึ่งจะช่วยให้คุณคำนวณว่าการลงทุนของคุณจะสามารถเพิ่มเป็นสองเท่าได้เร็วอย่างไร ด้วยวิธีการทบต้น คุณสามารถหารเลข 72 ด้วยเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนต่อปี

สมมุติว่าเราให้ค่าเฉลี่ยของการลงทุนในหุ้นต่อปีเอาไว้ที่ 10% เมื่อนำกฏแห่ง 72 มาใช้ ก็จะกลายเป็น 72/10 = 7.2 เท่ากับว่าต้องใช้เวลาเจ็ดปีกว่าๆ ในการลงทุน ถึงจะได้กำไรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คำถามก็คือแล้วมีหุ้นตัวไหนบ้างที่สามารถซื้อและถือยาวได้นานขนาดนั้น? 

ไม่ต้องมองไปที่ไหนไกล คุณสามารถเริ่มต้นใช้กฎนี้กับดัชนีเอสแอนด์พี 500 ก่อนได้เลย เพราะดัชนีตัวนี้สามารถให้ผลตอบแทนได้มากกว่า 10% ต่อปีอยู่แล้ว แต่หากอยากได้ทางเลือกอื่นสำหรับการลงทุน ในบทความนี้เรามี 2 กองทุน ETF มาแนะนำ

1. iShares Core S&P 500 ETF

- ระดับราคาปัจจุบัน: $430.14
- กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $373.26 - $482.07
- เปอร์เซ็นต์การปันผล: 1.39%
- อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.03% ต่อปี

เนื่องจากดัชนีเอสแอนด์พี 500 เป็นหนึ่งในสี่ดัชนีหลักของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงมีกองทุน ETF มากมายที่ลงทุนในดัชนีตัวนี้ ในรูปแบบต่างๆ กองทุน ETF ที่อ้างอิงราคามาจากเอสแอนด์พี 500 ที่เก่าแก่ที่สุดมีชื่อว่า SPDR S&P 500 ETF Trust (ASX:SPY) แต่นั่นไม่ใช่กองทุนที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้

กองทุนแรกที่เราต้องการจะนำเสนอมีชื่อว่า iShares Core S&P 500 ETF (NYSE:IVV) เป็นกองทุนที่อ้างอิงความเคลื่อนของราคามาจากดัชนีเอสแอนด์พี 500 เปิดให้ซื้อขายครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี 2000 มีสินทรัพย์อยู่ภายใต้การจัดการรวมแล้วทั้งหมด $316,000 ล้านเหรียญสหรัฐIVV Weekly

หากพิจารณาการถือครองออกเป็นสัดส่วนจะพบว่า IVV ถือครองหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีไอทีมากที่สุด 29.11% ตามมาด้วยกลุ่มเฮลท์แคร์ 13.26% กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 12.51% การเงิน 10.66% สื่อสาร 10.13% อุตสาหกรรม 7.75% และกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าจำเป็น 5.86% 

หุ้น 10 อันดับแรกของกองทุนคิดเป็น 28% ของกองทุนทั้งหมด มีสินทรัพย์รวมกันคิดเป็น $307,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หุ้นชื่อดังเหล่านั้นได้แก่ Apple (NASDAQ:AAPL), Microsoft (NASDAQ:MSFT), Amazon (NASDAQ:AMZN), Alphabet (NASDAQ:GOOGL), Tesla (NASDAQ:TSLA), NVIDIA (NASDAQ:NVDA) เป็นต้น

ตลอดระยะเวลา 12 เดือนล่าสุด IVV ปรับตัวขึ้นมาแล้วทั้งหมด 8.5% สร้างจุดสูงสุดตลอดกาลเอาไว้เมื่อวันที่ 4 มกราคมปี 2022 แต่เพราะปีนี้ตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงทำให้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน IVV วิ่งลงมาแล้ว 11.5% ณ ตอนนี้ IVV มีอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E) และอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาหุ้นกับมูลค่าทางบัญชี (P/B) อยู่ที่ 22.35x และ 4.23x ตามลำดับ

ถึงแม้ว่าตลาดลงทุนในปัจจุบันจะมีความผันผวนสูง แต่เราเชื่อว่าหุ้นในเอสแอนด์พี 500 จะยังสามารถเติบโตได้ด้วยอานิสงส์การเติบโตในโลกของไอที และหุ้นวัฐจักรอื่นๆ นักลงทุนที่สนใจสามารถพิจารณาการย่อตัวลงในช่วงนี้เป็นจังหวะเข้าซื้อกองทุนได้

2. Vanguard Total International Stock Index Fund ETF

- ระดับราคาปัจจุบัน: $59.44
- กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $57.90 - $67.51
- เปอร์เซ็นต์การปันผล: 6.33%
- อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.08% ต่อปี

กองทุนตัวถัดมาที่เราอยากจะแนะนำมีชื่อว่า Vanguard Total International Stock Index Fund ETF (NASDAQ:VXUS) เป็นกองทุนที่ลงทุนกับบริษัทนอกสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก อ้างอิงราคามาจากดัชนี FTSE Global All Cap ex US Index VXUS Weekly

กองทุน VXUS เปิดให้เริ่มต้นลงทุนมาตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2011 ความน่าสนใจอยู่ที่ถึงแม้จะลงทุนกับหุ้นบริษัททั้งหมด 7,717 ตัว แต่หุ้นเหล่านั้นไม่มีหุ้นของบริษัทจากสหรัฐอเมริกาเลยแม้แต่ตัวเดียว ประเทศที่ VXUS ลงทุนมากที่สุดคือญี่ปุ่น ด้วยสัดส่วนมากกว่า 15% ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร 9.9% จีน 8.6% แคนาดา 7.3% ฝรั่งเศส 6.4% และสวิตเซอร์แลนด์ 5.8% 

หากแบ่งแยกกลุ่มหุ้นออกเป็นสัดส่วน จะพบว่า VXUS ลงทุนมากที่สุดกับหุ้นในกลุ่มการเงิน 21.1% กลุ่มเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ 8.9% กลุ่มสินค้าไม่คงทน 7.5% เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ 7.2% เทคโนโลยีเพื่อบริการ 6.4% และบริษัทผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรม 5.2% 

หุ้น 10 อันดับแรกที่ VXUS ถือครองคิดเป็นเกือบ 9% ของสินทรัพย์ทั้งหมด $402,900 ล้านเหรียญสหรัฐ หุ้นชื่อดังเหล่านั้นได้แก่ Taiwan Semiconductor (NYSE:TSM) Tencent (OTC:TCEHY) Nestle (OTC:NSRGY) Roche (OTC:RHHBY); Samsung Electronics (OTC:SSNLF) และ Toyota Motor (NYSE:TM)

ตลอดระยะเวลา 12 เดือนล่าสุด VXUS ปรับตัวขึ้นมาแล้วทั้งหมด 5.7% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน VXUS วิ่งลงมาแล้ว 5.4% ณ ตอนนี้ VXUS มีอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E) และอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาหุ้นกับมูลค่าทางบัญชี (P/B) อยู่ที่ 13.7x และ 1.8x ตามลำดับ เพราะว่ากองทุนตัวนี้ครอบคลุมการลงทุนกับหุ้นชื่อดังทั่วโลก ดังนั้นเราจึงเชื่อว่ากองทุนนี้ควรค่าแก่การพิจารณา

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย