รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เงินเฟ้อสูงกว่าคาด สร้างแรงกดดันตลาดหุ้น

เผยแพร่ 11/02/2565 09:30
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค.65 ของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาดอยู่ที่ 7.5% YoY ส่งผลให้ความกังวลเรื่องนโยบายการเงินตึงตัวกลับมา โดยผล Survey จาก Bloomberg คาดหมายว่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 6 ครั้งในปี 2565, Bond Yield 10 ปี และ 2 ปี ปรับขึ้นแรง ขณะที่ตลาดหุ้นปรับลดลง ส่วน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นบ้านเรา น่าจะถือเป็นเพียง Sentiment เชิง ลบทำให้เกิดการปรับฐานระยะสั้น ส่วนผลในเชิงพื้นฐานไม่น่าจะมากเนื่องจาก ยังคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่ อ่อนไหวและต้องติดตามคือ การลดขนาดงบดุลของ Fed ว่าจะมีแนวทาง อย่างไร และจะเริ่มเมื่อใด โดยเรื่องนี้จะมีผลโดยตรงต่อสภาพคล่องในระบบ

SETIndex วันนี้น่าจะปรับฐาน โดยมีSentiment ตลาดหุ้นต่างประเทศ กดดันคาดอยู่ในกรอบ 1685 – 1710 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ให้ขายทำกำไร BEC และถือเงินสด 10% Top Pick เลือก ADVANC, MAKRO และ KBANK (BK:KBANK)

เงินเฟ้อสหรัฐ สูงสุดในรอบ 40 ปีกดดันสินทรัพย์เสี่ยงช่วงสั้น

ประเด็นที่นักลงทุนให้น้ำหนักเมื่อวานคือ รายงาน US inflation เดือน ม.ค. ออกมา 7.5% (สูงสุดในรอบ 40 ปี) และสูงกว่าที่ Consensus คาดที่ 7.2% เช่นเดียวกับ Core inflation ในเดือนเดียวกันอยู่ที่ 6% ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้มุมมองตลาดในปัจจุบัน อิงผลสำรวจใน Bloomberg คาด Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 6 ครั้งจากการประชุม Fed ในปีนี้เหลือ 7 ครั้ง และคาดการณ์ขึ้นครั้งแรก ยังคงมุมมองเดิม คือ ขึ้นรอบ มี.ค. แต่คาดโอกาสจะขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอยู่ที่ 0.75% (จากเดิม คาดขึ้นแค่ 0.25%) โดยรวมสรุป ASPS ประเมินว่า Consensus ในตลาดมีมุมมอง ต่อการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในปีนี้ในอัตราเร่งมากขึ้น เชื่อว่าสินทรัพย์เสี่ยงยังผันผวน รอรายงาน Fed Minutes วันที่ 16 ก.พ. (คาดรอรายละเอียดเรื่องดอกเบี้ย การลด Balanc sheet)

โดยรวมช่วงสั้นเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง เห็นจากตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อวานปรับฐาน ลง (ดัชนี Nasdaq ปรับลงมากสุด 2.1% Dow jones -1.8% S&P500 -1.47%) คาด จะเป็น Sentiment ลบต่อตลาดหุ้นไทยในวันนี้ ขณะที่ Bond Yields สหรัฐอายุ 2 ปี และ 10 ปีปรับขึ้นแรง และทำจุดสูงสุดในรอบมากกว่า 2 ปี อยู่ที่ 1.58% และ 2.035% ตามลำดับ (Sentiment บวก ต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มประกันชีวิตอาทิBLA)

คำแนะนำลงทุนช่วงที่ความกังวลเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูง ASPS ทำการศึกษาในอดีตช่วงที่ เงินเฟ้อโลกและไทยเป็นขาขึ้นในช่วงปี 50-51 พบว่า Sector ที่ Outperform ของ ไทย เช่น กลุ่มปิโตร-น้ำมัน ตามราคาน้ำมัน, กลุ่มประกัน กลุ่มอาหาร และกลุ่ม ICT (ดังรูปด้านล่าง) และอีกการศึกษาในล่าสุดช่วง ระหว่าง 5-27 ม.ค.65 ซึ่งเป็นช่วงที่ ตลาดกังวล Fed ขึ้นดอกเบี้ยฯ พบว่า Sector ที่ Outperform คือกลุ่ม ธนาคาร พาณิชย์ กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่ม ICT และกลุ่มปิโตรเคมี (ดังรูปด้านล่าง) โดยรวมยัง แนะนำลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ Outperform

COVID-19 ผู้ป่วยอาการหนักทรงตัวต่ำ ภาครัฐเริ่มผ่อนมาตรการตรวจรักษา การระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มน่ากังวล หลังจำนวนผู้ติดเชื้อยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นที่สังเกตว่าจำนวนผู้ป่วยหนักกลับไม่ได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

จากสถานการณ์ข้างต้น ส่งผลให้ภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการลงบ้าง โดยวานนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นที่เตรียมจะเสนอเข้า สู่ที่ประชุมศบค. ในวันนี้ อาทิ ยกเลิกโรค COVID-19 ออกจากบริการยูเซป (UCEPCOVID) และให้ประชาชนหันไปใช้สิทธิ์ UCEP ทั่วไปแทน โดยผู้ติดเชื้อต้องไปใช้ สิทธิ์รักษาตามที่ผู้ป่วยมี อาทิ บัตรทอง, ประกันสังคม, สิทธิ์ข้าราชการ และประกัน สุขภาพต่างๆ นอกเหนือจากนี้ยังมีการปรับราคาการใช้บริการตรวจหาเชื้อแบบ RTPCR ตามวิธีการตรวจ โดยตรวจ 2 ยีนส์ ภาครัฐฯจะจ่าย 900 จากเดิม 1,300 ส่วน ตรวจ 3 ยีนส์ จ่าย 1,100 บาท จากเดิม 1,500 บาท คาดให้เริ่มมีผลในวันที่ 1 มี.ค. 2565 นี้ ASPS ประเมินเป็น Sentiment ลบต่อกลุ่มโรงพยาบาลประกันสังคม จากความเสี่ยง จำนวนผู้ป่วยเข้ามาตรวจ/รักษา COVID-19 น้อยลง เพราะต้องไปโรงพยาบาลที่ตนมี สิทธิ์เท่านั้นโดยยังให้เน้นลงทุน BH, BDMS จากความคาดหวังการฟื้นตัวได้ชัดจาก ผู้ป่วยต่างชาติ และหลีกเลี่ยงกลุ่มโรงพยาบาลประกันสังคม

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

หาก Fed ลดขนาดงบดุล มีโอกาสกดดันสินทรัพย์เสี่ยง

จากอัตราเงินเฟ้อของสหรับที่อยู่ในระดับสูงข้างต้น ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีโอกาสใช้นโยบายการเงินตึงตัวเพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ นอกจากการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว อีกหนึ่งวิธีคือการปรับลดงบดุล (Balance Sheet Reduction) เนื่องจากปัจจุบัน งบดุลของ Fed มีมูลค่าถึง 8.93 ล้านล้านเหรียญ หรือ คิดเป็นประมาณ 38.5% ของ GDP สหรัฐ ส่งผลให้สภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงิน มีสูงมาก ดังนั้น หาก Fed ปรับลดงบดุล สภาพคล่องส่วนเกินอาจลดลง ซึ่งจะกระทบ กับราคาสินทรัพย์เสี่ยงได้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน Fed ส่งสัญญาณถึงช่วงเวลาปรับลดงบดุลว่าจะเกิดขึ้นภายหลัง จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกของปี 2565 แต่กลับยังไม่ระบุเวลา ชัดเจนนัก แม้บางส่วนในตลาดมองว่าจะเป็นช่วงกลางๆปี 2565 โดยให้น้ำหนักรายงาน การประชุม Fed (Fed Minute) ของการประชุมวันที่ 25-26 ม.ค. 2565 ที่จะเผยแพร่ ในวันที่ 16 ก.พ. 2565 ว่าจะมีการส่งสัญญาณเรื่องปรับลดงบดุลอย่างไร ซึ่งหาก Fed Minute ส่งสัญญาณว่าการลดงบดุลอาจเกิดเร็วกว่าคาด อาจสร้างแรงกดดันต่อตลาด หุ้นโลกได้

โดยในอดีตเวลาที่ Fed ลดงบดุลในช่วงแรกราว 4 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 15 เดือน) กดดันตลาดหุ้นโลกปรับฐานราว -7 ถึง -11% ความกังวลว่าเหตุการณ์จะซ้ำรอยในอดีต เลยกดดันให้ตลาดหุ้นปรับฐานได้ก่อนบ้าง

ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยยังถือว่ามีความได้เปรียบ เนื่องจากหาก Fed ขึ้นดอกเบี้ยถึง 6 ครั้ง จะกดดันให้ Forward Market Earning Yield Gap สหรัฐลดลงต่ำกว่า 3% ต่างกับตลาด หุ้นไทยที่ยังได้สภาพคล่องส่วนเกินจากสินทรัพย์ปลอดภัยคอยหนุน (คาด กนง. ยังไม่ขึ้น ดอกเบี้ยในปีนี้) หนุน Forward Market Earning Yield Gap ไทยยังกว้างอยู่เกิน 4% ทำ ให้ Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อ ภายใต้นโยบายการเงินโลกตึงตัวมาก ขึ้น

กลยุทธ์การลงทุนแนะนำถือเงินสด 10% แนะลงทุนในหุ้นขนาดใหญ๋ราคาผันผวนต่ำ ADVANC, MAKRO และหุ้นมีเกราะป้องกันดอกเบี้ยขาขึ้น KBANK เป็น Toppicks

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย