ประเมินว่า Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติยังมีโอกาสไหลเข้าต่อ ทั้งนี้มี 4 เหตุผลที่เป็นแรงขับเคลื่อน 1) สถานะการถือครองหุ้นของต่างชาติในบ้านเรา ยังต่ำกว่าปกติมากโดยสัดส่วนการปิดโอนฯต่ำเพียง 21% เทียบกับจุดสูงสุดที่ 30% 2)โครงสร้างตลาดหุ้นบ้านเราราว 2 ใน 3 เป็นหุ้น Commodity + Old Economy ซึ่งอยู่ในกระแสการลงทุน 3) คาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อเนื่อง ทำให้ Market Earning Yield Gap ขยายกว้าง และ 4) EPS Growth และ GDP Growth บ้านเราอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่ากลุ่มประเทศพัฒนา แล้ว ทั้งนี้ปัจจุบันสัดส่วนการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยอยู่ ที่ 42.3% นับเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักในการขับเคลื่อน SET Index
SET Index ยังมีMomentum ในทางขึ้น กรอบการเคลื่อนไหวช่วง 1700 – 1730 จุด แต่หากหลุด 1700 จุด ลงมามีแนวรับถัดไปที่ 1685 จุด พอร์ต จำลองไม่มีปรับเปลี่ยน หุ้น Top Pick เลือก BH, MAKRO และ TOP
กนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ย 0.5%ตามเดิม คาดดอกเบี้ยยังต่ำยาวถึงตลอดปี 2565
ผลการประชุม กนง. มติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตามที่ ASPS และตลาดคาดก่อนหน้า และ ASPS ยังคงมุมมองเดิมคาดไทยยังคงอัตราดอกเบี้ยที่เดิม ตลอดปี 2565 พิจารณาจากการแถลงของ กนง. และสถิติที่ ASPS ทำการศึกษา อาทิ
เศรษฐกิจไทยปี 2565 ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ เห็นได้จาก กนง. ยังประเมิน เศรษฐกิจไทยกว่าจะฟื้นตัวไปเท่ากับระดับ Covid คือในปี 2566 (ดังรูป) เมื่อ เทียบกับสหรัฐ ที่ขนาดเศรษฐกิจกลับไปสูงกว่าก่อน Covid แล้ว ทำให้เห็น Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ยฯ
เงินเฟ้อไทยยังต่ำ ประเมินยังไม่เป็นแรงกดดันขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย : อิงเงิน เฟ้อที่ไม่รวมอาหารสด และพลังงาน (Core Inflation) เดือน ม.ค.ล่าสุด อยู่ที่ 0.52%yoy แม้เงินเฟ้อทั่วไป ในเดือนเดียวกันขยายตัว 3.23%yoy (สูงสุดใน รอบ 9 เดือน) แต่หากอิง คาด กนง. ประเมิน คือ เงินเฟ้อไทยอาจสูงกว่าเป้าช่วง 1H65 แต่จะค่อยๆชะลอตัวใน 2H65 และทั้งปีค่าเฉลี่ยยังต่ำกว่า 3% และราคาสินค้าในไทยปรับเพิ่มขึ้นแต่กระจุกเพียงบางกลุ่ม รวมถึงจำนวน สินค้าและบริการในไทยที่ราคาเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติไม่ได้ปรับขึ้นมาก อิง สัดส่วน สินค้าและบริการที่ราคาปรับขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยมีสัดส่วนราว 10% เทียบกับสหรัฐที่มีสัดส่วนราว 35%
สถิติข้อมูลความสัมพันธ์อัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐในอดีต ASPS ทำการศึกษา พบว่าอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐไม่ได้เปลี่ยนแปลงปรับขึ้น หรือปรับลงสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน อาทิ
-
ในช่วง ก.ค. 2553 - ส.ค. 2554 กนง.ขึ้นดอกเบี้ย เพราะอัตรา เงินเฟ้อของไทยขยายตัวสูง จาก 2.8% ใน พ.ย. 2553 มาเป็น 4.3% ใน ส.ค. 2554 แต่สหรัฐยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะ เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นจาก Subprime
-
ช่วง ธ.ค. 2558 – ก.ย. 2561 กนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพราะ อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวต่ำ และเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดีหลังเผชิญ วิกฤตการณ์การเมืองช่วง 2556–2557 ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฟื้น ตัวเพียงพอจาก Subprime และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเข้าสู่เป้า 2% Fed จึงขึ้นอัตราดอกเบี้ย
การเมือง...ถ้ายืดเยื้ออาจเป็นความเสี่ยง
สัญญาณที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีมาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของเสียง สนับสนุนในสภา และเสียงสนับสนุนในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เช่น
-
เสียงสนับสนุนในสภา: ช่วงกลางเดือน ม.ค. 2565 พรรคพลังประชารัฐได้มีมติขับ ส.ส. ในกลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส รวม 21 คน ออกจากพรรค
-
เสียงสนับสนุนในคณะรัฐมนตรี (ครม.): การประชุม ครม. เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 มีรัฐมนตรีในสังกัดพรรคภูมิใจไทยจำนวน 7 คน ส่งหนังสือลาประชุมโดยให้ เหตุผลว่าไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับ BTS เป็นระยะเวลา 30 ปี
จากสัญญาณดังกล่าวที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยชี้นำของสถานการณ์ทางการเมืองว่าอาจนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจออกมาในรูปของการยุบสภาฯ ได้ แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเกิด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก็ยังถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงภายใต้ระบบประชาธิปไตย นัก ลงทุนจึงไม่น่าจะกังวลมากนัก ทั้งนี้หากเกิดการยุบสภาขึ้นมา Time Line ที่เกิดขึ้นพอ ประเมินได้ดังนี้
-
หลังยุบสภา จะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน
-
หลังทราบผลการเลือกตั้ง ประเมินว่าน่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ภายใน 30 วัน
ทั้งนี้ เมื่อนำไปพิจารณาร่วมกับกระบวนการพิจารณางบประมาณประจำปี2566 จะ พบว่า หากไม่ต้องการให้การพิจารณางบประมาณปี2566 ล่าช้าออกไป จะต้องมีการ จัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในเดือน มิ.ย. 2565 เพราะหลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการ พิจารณาอนุมัติงบประมาณ 2566 ซึ่งถ้าพิจารณางบประมาณล่าช้า อาจความเสี่ยงต่อ เศรษฐกิจไทยต่อไปได้ จากการประเมินกรอบเวลาในการได้มาซึ่งรัฐบาลใหม่ บวกกับการพิจารณางบประมาณ ปี 2566 ข้างต้น ASPS หากอยู่บนสมมุติฐานว่ากรอบเวลาในการพิจารณางบประมาณ ไม่กระทบกระเทือน และอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับงวดปีที่ผ่านๆ มา ก็เป็นไปได้ว่าจะ จุดเปลี่ยนทางการเมืองมีโอกาสมาถึงในอีกไม่นานนี้
ต่างชาติมีพลังชี้นำหุ้นไทยมากขึ้น แนะหุ้นใหญ่ Laggard MARKRO, BH, TOP
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.7 หมื่นล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 3 ในรอบ 30 ปี หรือ ตั้งแต่ทางตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูล หนุนให้ยอดซื้อสุทธิหุ้นไทย นับตั้งแต่ต้นปี 2565 ถึงปัจจุบัน ขึ้นมาอยู่ที่ 4.37 หมื่นล้านบาท สูงสุดในภูมิภาค
ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่ามี 4 เหตุผลที่ Fund Flow ต่างชาติยังมีแนวโน้มไหลเข้าตลาด หุ้นไทยต่อในปี 2565 ดังนี้
-
ต่างชาติยังถือครองหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำ และ MSCI มีโอกาสเพิ่มน้ำหนัก หุ้นไทยในปี 2565 นี้โดยปัจจุบันต่างชาติถือครองหุ้นไทยทางตรงเพียง 21% ยังต่ำกว่าในอดีตที่เคยอยู่ที่ระดับสูงถึง 29% ในปี 2556 ดังนั้นยังมีช่องว่างให้ Fund Flow ไหลเข้า รวมถึง Downside ในการขายค่อนข้างจำกัด อีกทั้ง MSCI มีโอกาสเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยในปี 2565 นี้ เนื่องจากตลาดหุ้นไทยปรับตัว ขึ้นมาแล้วกว่า 7% สูงกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้วที่ขึ้นมา 1% (นับตั้งแต่ MSCI Rebalance ในรอบที่แล้ว คือ 1 ธ.ค. – 9 ก.พ. 65) หนุนสัดส่วน Market Cap. Weight ที่ MSCI ใช้ในการคำนวณดัชนีเพิ่มขึ้น
-
โครงสร้างตลาดหุ้นไทยเป็นลักษณะหุ้น Value ที่นักลงทุนต่างชาติให้ ความสนใจในตอนนี้โดยตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนหุ้น Commodity และหุ้น ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในประเทศราว 2 ใน 3 ของมูลค่าตลาด
-
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนไทยที่โดดเด่นกว่า ประเทศพัฒนาแล้ว โดยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังมีช่องว่างในการฟื้นไป เท่ากับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ราว 5% หนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนมีโอกาส เติบโต 11% สูงกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้วเติบโตราว 6%
-
สภาพคล่องส่วนเกินยังคอยหล่อเลี้ยงหุ้นไทยในปี 2565 นี้เนื่องจาก กนง. ยังมีโอกาสคงดอกเบี้ยนโยบายไทยต่อไปถึงสิ้นปี 2565 ช่วยหนุนให้สภาพ คล่องส่วนเกินยังมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้น แตกต่างกับทางสหรัฐที่สภาพคล่อง ส่วนเกินที่เคยหนุนตลาดหุ้นจะทยอยลดลง เนื่องจากมีโอกาสเห็นการขึ้น ดอกเบี้ย 4 - 5 ครั้งในปีนี้
นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติจะมีส่วนสำคัญในการชี้นำตลาดหุ้นไทยมากขึ้น สะท้อนได้ จากสัดส่วนการซื้อขายเฉลี่ยหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในปี 2565ytd นี้อยู่ที่ 42.3% พลิกกลับมาสูงสุดเมื่อเทียบกับนักลงทุนรายอื่นๆ และยังสูงสุดเมื่อเทียบกับสัดส่วนการ ซื้อขายในอดีตมาก ในทางตรงกันข้ามภาพของการซื้อขายของนักลงทุนสถาบันฯ ใน ประเทศ ถือว่ามีน้ำหนักต่อตลาดน้อยลงทั้งในปี 2564 และต่อเนื่องมาในปี 2565 นี้ เนื่องจากเหลือสัดส่วนการซื้อขายเพียง 7.0% และ 8.0% ตามลำดับ แตกต่างกับใน อดีตที่สูงกว่า 10%
แรงซื้อต่างชาติที่เข้ามาโดดเด่นต่อเนื่อง หนุน SET Index Outperform เป็นพิเศษ โดย ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันมา 8 วันทำการ กว่า 3.1% หรือ 50 จุด จาก 1634 จุด ขึ้นมา อยู่ที่ 1684 จุด แต่เมื่อเทียบกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี พบว่า SET จะบวกได้ ติดต่อกันตั้งแต่ 8 วัน ขึ้นไป มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากเพียง 0.7% เท่านั้น และถ้าจะบวก ต่อไปจนถึง 12 วัน ในอดีตมีโอกาสให้ผลตอบแทนในช่วง -0.7% ถึง +1.2% กลยุทธ์แนะนำหุ้นใหญ่พื้นฐานดีราคา Laggard เกาะกระแส Fund Flow อย่าง BH, MAKRO และ TOP เป็น Toppick
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities