ประเด็นที่อยู่ในความสนใจในช่วงสัปดาห์นี้คงหนี้ไม่พ้นอัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.65 ของสหรัฐ ซึ่ง Consensus คาดหมายว่าน่าจะสูงถึง 7.2% ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวจะถูกนำมาตีความเรื่องระดับความรุนแรงของการใช้ นโยบายการเงินตึงตัวของ Fed ในปีนี้ ส่วนในบ้านเราวันพุธนี้ จะมีการประชุม กนง. ซึ่งโดยภาพที่เห็นในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ไปในทางเดียวกันคือคง อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องติดตามคือผลประกอบการ 4Q64 ซึ่งจนถึงปัจจุบันฝ่ายวิจัยได้ทำคาดการณ์ออกมาแล้ว 65 บริษัท คาดว่าจะเห็น การเติบโตของกำไรราว 25% QoQ แต่ยังลดลง 5.6% YoY อย่างไรก็ตามยัง เห็นหลายบริษัทที่กำไรเติบโตทั้ง YoY และ QoQ ซึ่งจะเป็นเป้าหมายเก็งกำไร
SET Index ปรับขึ้นต่อเนื่องมา 7 วัน ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี พบว่ามีโอกาสปรับฐานระยะสั้นได้ คาดอยู่ในกรอบ 1665 – 1685 จุด พอร์ต จำลองไม่มีการปรับ หุ้น Top Pick เลือก ADVANC, MAKRO และ SCCC
อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ยาวิเศษที่รักษาเงินเฟ้อได้ทุกอาการ
ตลาดหุ้นโลกวานนี้ ภาพรวมแกว่งทรงตัว โดยตลาดหุ้นสหรัฐแกว่งตัวบวกลบสลับกัน ในช่วง +-0.5% ขณะที่ Bond Yield ระยะสั้น-กลางถูก Take Profit หลังเพิ่มขึ้นไป แตะจุดสูงสุดในรอบ 2 ปีในช่วงที่ผ่านมา ASPS มองว่าปัจจัยที่ตลาดหุ้นโลกยังไม่อาจ มองข้ามได้ (Overhang) คืออัตราเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ม.ค. 2565 ที่จะรายงานในวันที่ 10 ก.พ. 2565 นี้ (ทราบผลราวช่วงหัวค่ำตามเวลาไทย) เพราะอัตราเงินเฟ้อสหรัฐจะมี น้ำหนักต่อทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ต่อไป
ปัจจุบัน สหรัฐเผชิญอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างสูง (อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 2564 สูงสุดใน รอบเกือบ 40 ปี) เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากปริมาณเงินในระบบของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูง จาก มาตรการ QE ในช่วงที่ COVID-19 ระบาดรุนแรง
ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐมีทิศทางฟื้นตัวที่ดี สะท้อนจาก GDP สหรัฐงวด 4Q64 มีมูลค่า มากกว่า GDP งวด 4Q62 ถึง 3.1%
”อาการ”อัตราเงินเฟ้อสูงของสหรัฐข้างต้นมีต้นเหตุสำคัญมาจากเศรษฐกิจฟื้นตัว (Demand-Pull) จึงเหมาะกับการ”รักษา”ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ถึงกระนั้น ASPS มองว่าอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่”ยาวิเศษ”ที่รักษาเงินเฟ้อได้ทุกอาการ เนื่องจากอัตรา เงินเฟ้อสูงอาจมีสาเหตุมาจากต้นทุนการผลิต (Cost-Push) ที่สูงขึ้นก็ได้ โดยเฉพาะใน กรณีของไทยที่เผชิญปัญาอัตราเงินเฟ้อเบากว่า เพราะอัตราเงินเฟ้อไทยต่ำกว่าอัตรา เงินเฟ้อโลก, ปริมาณเงินในระบบเพิ่มน้อยกว่า เพราะไม่มี QE (ดังรูปข้างต้น) และที่ สำคัญคือ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่า (GDP ไทย 4Q64 ต่ำกว่า GDP งวด 4Q62 ถึง 5%) ดังนั้น อาการอัตราเงินเฟ้อของไทยจึงมีต้นเหตุจาก Cost-Push เช่นราคา น้ำมันดิบ-อาหารสดทรงตัวสูง จากผลผลิตขาดแคลน ดังนั้น”ยาอัตราดอกเบี้ย” จึงไม่ เหมาะกับอาการเงินเฟ้อเช่นนี้ เพราะหาก กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อ อาจเป็นการซ้ำเติมให้เศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้าออกไปอีกได้ โดยสรุป ASPS จึงวินิจฉัยว่า อัตราดอกเบี้ยไทยจะไม่ขยับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยโลก ช่วยให้สภาพคล่องทางการเงิน ของไทยยังสูง หนุนหุ้นไทยมีเรี่ยวแรงขยับขึ้นต่อได้
ในประเทศ ประเด็นยังอยู่กับ Covid และ พรุ่งนี้ประชุม กนง.
ในประเทศประเด็นที่มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นไทย หลักๆ ยังเป็นเรื่องสถานการณ์ Covid อีกครั้ง หลังรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วประเทศหลังจากเทศกาล(ตรุษจีน) รายงาน ออกมาเพิ่มขึ้นเกิน 1 หมื่นรายติดต่อกัน 4 วัน เข้าสู่ Scenario Base case ที่ สาธารณสุขประเมินไว้ VS. กรณี worst case คาด 3 หมื่นราย/วัน ทำให้ช่วงสั้น อาจจะทำให้รัฐบาลยังไม่เร่งผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่าสถานการณ์ ทั้ง อัตราการเสียชีวิตที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับสายพันธ์ ท่าทีของรัฐที่ส่งสัญญาณว่าจะไม่กลับไป
คุมเข้มกิจกรรมเศรษฐกิจ ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินว่าจะไม่เห็นการกลับ Lockdown คาดจะไม่เปิด Downside ต่อ GDP Growth และ EPS Growth ในปี 2565 ยังเป็น บวกต่อหุ้นไทย
ส่วนวันพรุ่งนี้ติดตามการประชุม กนง. : ASPS คาดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ เดิม 0.5% สอดคล้องกับผลสำรวจนักวิเคราะห์ ใน Bloomberg 23 คน (100% หรือ นักวิเคราะห์ทุกคนคาดคงอัตราดอกเบี้ยที่เดิม ดังรูป) ดังที่ฝ่ายวิจัยนำเสนอนมาตลอด ว่าดอกเบี้ยนโยบายคาดจะทรงตัวต่ำ 0.5% ตลอดปี 2565 คือคาดขึ้นช้ากว่า สหรัฐที่จะ ขึ้นในปีนี้ 4 ครั้งเป็นอย่างน้อย เนื่องจาก 1.) Core Inflation เดือน ยังต่ำ อยู่ที่ 0.52%yoy 2.) เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวล่าช้ากว่าต่างประเทศ ฯลฯ ดอกเบี้ยที่ต่ำหนุน สภาพคล่องในประเทศยังมีอยู่บวกต่อ SET index
ต่างชาติยังซื้อสุทธิหุ้นกลุ่ม TIP ต่อเนื่อง เป็นตัวพยุง SET Index ในช่วงสั้น
หลังจากต่างชาติ Underweight หุ้นไทยมานาน จนล่าสุดมีสัดส่วนการถือครอง โดยตรงราว 21% จึงเริ่มเห็นการกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่องตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา มูลค่า รวมสูงถึง 6.45 หมื่นล้านบาท (สูงสุดเมื่อเทียบกับนักลงทุนประเภทอื่นๆ) จากภาพรวม เศษรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ 3Q64 และกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตในปีนี้
ขณะที่ปัจจุบันยังเห็น Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นปี ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคราว 592 ล้านเหรียญฯ หรือ 1.96 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีโอกาสเห็น Flow ไหลเข้าหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง จากดอกเบี้ยที่อยู่ ระดับต่ำอีกนาน ไม่เหมือนประเทศฝั่งพัฒนาแล้วที่มีความกังวลดอกเบี้ยขาขึ้น
แม้ปัจจุบันตลาดหุ้นยังอยู่ในภาวะผันผวน จากความกังวลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ แต่ฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ายังปัจจัยหนุนอีกหลายมุมในปีนี้ที่ช่วยหนุนให้ Fund Flow ยังมี Momentum ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง
ใน 10 ปีที่ผ่านมา มีโอกาสไม่ถึง 1% ที่ SET จะบวก 8 วันติดต่อกัน เน้นหุ้น Defensive ADVANC MAKRO SCCC
ในช่วงที่ผ่านมา SET Index ถือว่า Outperform เป็นพิเศษ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น ติดต่อกันมา 7 วันทำการ กว่า 2.6% หรือ 43 จุด จาก 1634 จุด ขึ้นมาอยู่ที่ 1677 จุด
อย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังอาจส่งผลให้ SET Index ย่อตัวลงได้อยู่ 2 เรื่อง ดังนี้
-
สถิติในอดีต ชี้ว่า ปัจจัยหนุนให้ SET มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 8 วัน ทำการขึ้นไป มีเพียง 0.7% เท่านั้น โดยฝ่ายวิจัยทำการวิเคราะห์การ เคลื่อนไหวของ SET Index ย้อนหลัง 10 ปี พบว่า SET มีโอกาสให้ผลตอบแทน เป็นบวก 1320 วัน จาก 2464 วัน หรือราว 53.6% และโอกาสจะลดน้อยลง ตามความต่อเนื่องที่มีมากขึ้น เช่น SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น ติดต่อกัน 3 วันขึ้นไปเพียง 15% เท่านั้น และปัจจุบัน SET Index บวก ติดต่อกันขึ้นมาแล้ว 7 วัน ซึ่งโอกาสที่จะบวก 8 วันทำการขึ้นไป มีเพียง 0.7% เท่านั้น
-
ประจวบเหมาะกับเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ม.ค. 65 ใกล้ประกาศในวัพฤหัสบดีนี้ โดยตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7.2%YoY ซึ่งประเด็นเงินเฟ้อเป็นเรื่องที่นักลงทุน ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในช่วงนี้ และมักจะสร้างความผันผวนต่อตลาด เสมอมา
สรุปคือ จากสถิติในอดีต ยิ่ง SET Index ขึ้นติดต่อกันนาน ยิ่งมีโอกาสน้อย บวกกับ ความกังวลตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่ใกล้เข้ามา น่าจะกดดันให้ SET Index สะดุด ในช่วงสั้นๆ ได้ ดังนั้นกลยุทธ์เน้นหุ้น Defensive มีความผันผวนต่ำ อย่าง ADVANC, MAKRO, SCCC เป็น Top pick
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities