🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ปัจจัยแวดล้อมดูผ่อนคลาย .. ลุ้น Rebound 

เผยแพร่ 28/01/2565 11:13
SETI
-
AOT
-
KBANK
-

ปัจจัยที่มีน้ำหนักในการกำหนดทิศทางตลาดหุ้นโลกมีอยู่ 2 ส่วนได้แก่ ความ กังวลเรื่องการเดินนโยบายการเงินตึงตัวของ Fed และ ความเสี่ยงในเชิงภูมิ รัฐศาสตร์ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องมีน้ำหนักในทางลบ และสลับกันเข้ามามีน้ำหนักต่อ ตลาด แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทั้ง 2 เรี่องได้ถูกสะท้อนในราคาหุ้นไปมากแล้ว หากไม่มีเหตุการณ์ที่เลวร้ายลงไปอีก เช่น Fed มีการจัดการลดขนาดงบดุล หรือเกิดภาวะสงครามขึ้นในจุดร้อนแรงบางจุด ก็เชื่อว่าจะไม่เปิด Downside ให้กับตลาดหุ้นมากนัก สำหรับบ้านเราเชื่อว่ายังห่างจากผลกระทบทั้ง 2 ปัจจัย มากจึงน่าจะเป็นตลาดที่ Outperform ได้ดีในช่วงปีนี้Theme การลงทุน ยัง เน้นไปที่หุ้น Commodity และ กลุ่ม Old Economy ตามเดิม เชื่อว่า SET Index มีโอกาสเกิด Technical Rebound ประเมินกรอบช่วง 1625 – 1648 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ไม่มีการปรับเปลี่ยน หุ้น Top Pick วันนี้ เลือก ADVANC, KBANK (BK:KBANK) และ SCC

ความกังวล Fed-ภูมิรัฐศาสตร์ สลับกันกดดันตลาด

แต่คาดสะท้อนในราคาบ้างแล้ว ASPS ประเมินปัจจัยกดดันสำคัญที่มีน้ำหนักต่อตลาดการเงินโลกและไทยในช่วงนี้มีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

  • ความกังวลการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของสหรัฐ: หลังจากที่ธนาคาร กลางสหรัฐ (Fed) เน้นย้ำ QE Tapering ตามแผนเดิม พร้อมส่งสัญญาณขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และปรับลดงบดุล (Balance Sheet) ในปีนี้แต่ทว่า จำนวนครั้งที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และช่วงเวลาที่ปรับลดงบดุล ยังไม่เป็นที่ ชัดเจนมากนัก ส่งผลให้ตลาดการเงินเผชิญความผันผวนต่อไป

  • ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) โลก: ทั้งจากความตึงเครียด ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน-สหรัฐ, จีน-ไต้หวัน-สหรัฐ และความไม่สงบใน ตะวันออกกลาง ซึ่งความเสี่ยงข้างต้นจะกดดันบรรยากาศการลงทุน (Sentiment) ของนักลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ แม้ ระยะสั้น ความเสี่ยงจะเริ่มผ่อนคลายลงบ้าง หลังรัสเซียและยูเครนเจรจาหยุด ยิง และยังระบุว่ารัสเซียพร้อมเจรจากับสหรัฐ แต่รัสเซียก็ยังไม่ได้ถอนกำลัง ออกจากบริเวณชายแดน

ปัจจัยกดดันสำคัญทั้ง 2 ส่วนข้างต้น ส่งผลให้ตลาดการเงินโลกแกว่งตัวผันผวนต่อ สังเกตจาก

  • Bond Yield: Bond Yield ช่วงอายุสั้นๆปรับขึ้น เช่น Bond Yield อายุ 2 ปี ของสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นต่อเป็น 1.19% อยู่ใกล้จุดสูงสุดในรอบ 2 ปี ตามมุมมอง อัตราดอกเบี้ยสหรัฐ แต่ Bond Yield ช่วงอายุปานกลางปรับลงเล็กน้อย เช่น Bond Yield 10 ปีของสหรัฐ ลดลงเหลือ 1.81% หลังไปทดสอบจุดสูงสุดใน รอบ 2 ปีเชื่อว่าบางส่วนเกิดจากความกังวลความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์

  • อัตราแลกเปลี่ยน: Dollar Index เดินหน้าแข็งค่าอีก 0.33% โดยเคลื่อนไปแตะ ระดับ 96.5 จุด ทำจุดสูงสูดในรอบ 1 เดือน กดดันเงินบาทอ่อนค่า 0.82% กลับไปอยู่ที่โซน 33.25 บาท/ดอลลาร์

  • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลงเป็นส่วนใหญ่ จากค่าเงิน Dollar Index แข็งค่า แต่เชื่อว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังสามารถทรงตัวสูงได้ จากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่

  • ตลาดหุ้น: ตลาดหุ้นโลกแกว่งตัวในแดบลบต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นสหรัฐลดลง เฉลี่ย -0.15%, ยุโรป -0.86%, เอเชีย -1.46%

จากความผันผวนของตลาดการเงินข้างต้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยในวันนี้น่าจะยังแกว่ง ตัวผันผวนตามไปด้วย ประกอบกับภาวะค่าเงินบาที่กลับมาอ่อนค่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ หนึ่งลดทอนการไหลเข้าของ Fund Flow ต่างชาติ ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวน แต่ในระยะกลาง-ยาว ASPS ยังมองว่าตลาดหุ้นไทยน่าสนใจอยู่ เพราะแม้ปัจจัยเสี่ยง ข้างต้นจะน่ากังวล แต่เชื่อว่าได้สะท้อนผ่านราคาหุ้นไปในระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้น หากไป มีเหตุการณ์ที่ต่างไปจากที่ตลาดคาด เชื่อว่าตลาดหุ้นจะมี Downside ของการปรับลง จำกัด นอกจากนี้ตลาดหุ้นไทยยังมีส่วนได้เปรียบตลาดหุ้นพัฒนาแล้วจากดอกเบี้ย นโยบายที่มีโอกาสยืนอยู่ในระดับต่ำนาน ช่วยหนุน Forward Market Earning Yield 65F ของไทยยังกว้างต่อเนื่อง ผิดกับของประเทศพัฒนาจะแคบลง หลังดอกเบี้ยทยอย ปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ตลาดหุ้นสหรัฐ Forward Market Earning Yield 65F จะลดลง จาก 4.5% เหลือ 3.6% หากดอกเบี้ยนโยบายมีการปรับขึ้น 4 ครั้งในปีนี้

Covid ทั่วโลก และไทยดูผ่อนคลายขึ้น หนุนรัฐประกาศเป็นโรคประจำถิ่น... หนุน เงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง

ดังที่กล่าวในช่วงต้น 2 ประเด็นสำคัญ (Fed, Geopolitic risk) ที่สร้างความผันผวนต่อ สินทรัพย์เสี่ยงและสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงนี้) สลับวนเวียนเข้ามาในช่วงที่ผ่านมา ดู เหมือนว่าผ่อนคลายขึ้น แต่มีอีกประเด็น Covid ที่เคยกดดันตลาดก่อนหน้าเริ่มเห็น ทิศทางดีขึ้น คือ สถานการร์ Covid โลก และไทนทั้งความรุนแรงของสายพันธ์ Omicron ที่ลดลง รวมถึงการคุมเข้มกิจกรรมเศรษฐกิจที่ลดลง หลักๆพิจารณาจาก ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศหัวเรือใหญ่ อาทิ อังกฤษ : ประกาศ Covid เป็น

โรคประจำถิ่น และใช้ชีวิตร่วมกัน เช่นเดียวกับไทย เมื่อวาน คณะกรรมการโรคติดต่อ ประกาศแนวทางพิจารณาให้ COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น กำหนดเกณฑ์ ตือ 1.) ผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 ราย/วัน 2.) อัตราป่วย-ตาย น้อยกว่า 0.1% 3.การเข้า รักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่า 10% 4.) กลุ่มเสี่ยงได้วัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่า 80%

โดยรวม ASPS ประเมินเป็นการตอกย้ำการกลับมา Lockdown ประเทศ ในโลกและ ไทยแบบเข้มงวดโอกาสจะน้อยลง ผลคือคาดจะจำกัด Downside ต่อ GDP Growth และกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2565 ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกกับตลาดหุ้นไทย และบวก ต่อหุ้นในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง เช่น กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม อาทิ ERW, CENTEL, MINT, AOT (BK:AOT), กลุ่มสายการบิน อาทิ AAV BA กลุ่มห้างสรรพสินค้า อาทิ CRC, CPN และกลุ่มร้านอาหาร เช่น AU, M

ธนาคารและ AMC เปิดช่องบริหารจัดการ NPL คล่องตัวขึ้น

ธปท. ออกกฎเกณฑ์ให้ธนาคาร ตั้ง JV ร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) หลักๆ กำหนดให้สัดส่วนการถือหุ้นใน JV ของธนาคารและ AMC เท่ากัน ยื่นขอจัดตั้ง JV ภายใน 31 ธ.ค. 67 และมีอายุการดำเนินงานเบื้องต้น 15 ปี (เว้นแต่ได้รับการผ่อนผัน จาก ธปท.) โดย JV ที่จัดตั้งสามารถซื้อหนี้ NPL ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาพรวมช่วยให้ธนาคาร มีช่องทางในการบริหารจัดการ NPL มากขึ้น โดยปกติธนาคาร มีการบริหารจัดการ NPL ภายในของตนเอง ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าเทียบ Recovery rate ดังนั้นฝ่ายวิจัยคาดว่า JV ที่จัดตั้งให้น้ำหนักไปที่สินเชื่อบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น บัตรเครดิต, P- Loan) เนื่องจากมองว่าสินเชื่อธุรกิจทางธนาคาร สามารถปรับ โครงสร้างหนี้ (การผ่อนชำระต่องวดให้สอดรับกับรายได้) ส่วนสินเชื่อที่มีหลักประกัน ธปท. ออกกฎเกณฑ์ให้ธนาคาร ตั้ง JV ร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) หลักๆ กำหนดให้สัดส่วนการถือหุ้นใน JV ของธนาคารและ AMC เท่ากัน ยื่นขอจัดตั้ง JV ภายใน 31 ธ.ค. 67 และมีอายุการดำเนินงานเบื้องต้น 15 ปี (เว้นแต่ได้รับการผ่อนผัน จาก ธปท.) โดย JV ที่จัดตั้งสามารถซื้อหนี้ NPL ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาพรวมช่วยให้ธนาคาร มีช่องทางในการบริหารจัดการ NPL มากขึ้น โดยปกติธนาคาร มีการบริหารจัดการ NPL ภายในของตนเอง ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าเทียบ Recovery rate ดังนั้นฝ่ายวิจัยคาดว่า JV ที่จัดตั้งให้น้ำหนักไปที่สินเชื่อบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น บัตรเครดิต, P- Loan) เนื่องจากมองว่าสินเชื่อธุรกิจทางธนาคาร สามารถปรับ โครงสร้างหนี้ (การผ่อนชำระต่องวดให้สอดรับกับรายได้) ส่วนสินเชื่อที่มีหลักประกัน

อย่าง บ้าน มีหลักประกันคุ้มมูลหนี้ ภายใต้เกณฑ์ LTV ของ ธปท. เช่นเดียวกับสินเชื่อ รถยนต์ แม้ราคามือสองไม่คุ้มมูลหนี้ แต่เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง มองการยึดแล้ว นำรถออกขายน่าจะคล่องตัวกว่า ในมุมมอมงของฝ่ายวิจัย โดยปัจจุบันมีธนาคารที่ เตรียมตั้ง JV กับ AMC เช่น KBANK (จับมือกับ JMT) คงน้ำหนักเท่าตลาด เลือก KBANK, SCB ได้ประโยชน์จากการ Recovery เศรษฐกิจไทยมากสุด เพราะมีสัดส่วนลูกหนี้อิงกับภาคท่องเที่ยว อีกทั้งเป็น ธ.พ. ที่ ปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital ค่อนข้างดี ตามด้วย TISCO จาก Div yield ราว 6% - 7% ต่อปีและ ROE ที่ 17% สูงสุดในกลุ่มฯ ส่วน BBL ชอบในฐานนะ Laggard Play

ตลาดหุ้นฝุ่นตลบ ปัดออกด้วยหุ้นพื้นฐานดี-ราคาถูก ชอบ ADVANC KBANK SCC การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก มาพร้อมเงินเฟ้อ บวกกับสภาพคล่องส่วนเกินล้นระบบ จึง ทำให้ Fed ต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้นในปีนี้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับ ฐานแรงตั้งแต่ต้นปี-7.8% แต่ไทยยังแข็งแรงกว่าที่ปรับตัวลง -1.4%ytd ด้วยหลาย แง่มุมที่คอยสนับสนุน

1.การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน จะเห็นได้ว่าประเทศฝั่งกำลังพัฒนามี ความน่าสนใจมากกว่าประเทศฝั่งพัฒนาแล้ว เนื่องจาก EPS Growth65F ส่วนใหญ่เติบโต 2 หลัก (>10%) ขณะที่ประเทศฝั่งพัฒนาแล้วมี EPS Growth65F ด้วยเลขหลักเดียว (

2.หุ้นที่ถูกแรงเก็งกำไรมานานและมี PER65F สูงๆ ในปีนี้ส่วนใหญ่จะถูก Take Profit แรง สะท้อนได้จากข้อมูลที่ฝ่ายวิจัยฯ จำแนกหุ้นที่ทำการศึกษา ทั้งหมดเป็นช่วง PER65F ในระดับต่างๆ เปรียบเทียบกับผลตอบแทน ytd พบว่า หุ้นที่มี P/E น้อยเฉลี่ยแล้วปรับฐานลงน้อยกว่า หุ้นที่มีP/E สูง ดังภาพ ทางด้านล่าง

สรุปด้วยปัจจัยภายนอกยังผันผวน แต่ฝ่ายวิจัย ASPS คาดว่าตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ ยังมีความแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้วหลายๆ แห่ง ประเมินกรอบการ เคลื่อนไหวของ SET Index ในวันนี้ 1625 – 1638 จุด กลยุทธ์เน้นหุ้นขนาดใหญ่ พื้นฐานดีที่มี PER65F ต่ำ อย่าง SCC KBANK และหุ้นปันผลผันผวนต่ำ อย่าง ADVANC เป็น Top pick ในวันนี

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย