เชื่อว่าสัปดาห์นี้ ตลาดลงทุนจะวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ ไปจนกว่าการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ครั้งสุดท้ายของปี 2021 จะเริ่มขึ้น หลังจากได้เห็นตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1982 ตลาดลงทุนก็ยังไม่เชื่อว่าการประชุมในวันอังคารและพุธนี้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทันที แต่อาจจะเป็นการร่นระยะเวลาการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ให้จบเร็วขึ้น
สิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจเกี่ยวกับการประชุมครั้งนี้คือนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ถึงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่สอง จะประดิษฐ์คำพูดอะไรออกมากล่าวถึงสิ่งที่ธนาคารกลางฯ จะดำเนินนโยบายต่อไปในอนาคต เพราะนั่นจะเป็นตัวกำหนดว่าขาขึ้นของดัชนีหลักอย่างเช่นดาวโจนส์ เอสแอนด์พี 500 และแนสแด็กจะยังคงเสถียรภาพต่อไปได้หรือไม่
ถ้าเจอโรม พาวเวลล์พูดออกมาตรงๆ ว่าเฟดตั้งใจจริงที่จะร่นระยะเวลาการทำ QE ให้จบไวขึ้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะถูกเทขาย แต่เฟดยังต้องการจะคงความเร็วในการลด QE เอาไว้เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ หรือแสดงท่าทีว่าไม่รีบที่จะจบ QE ตลาดลงทุนจะมองว่าพฤติกรรมเช่นนี้คือข่าวดี และผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
การจบสัปดาห์ที่แล้วด้วยการสร้างจุดสูงสุดตลอดกาลใหม่ของดัชนีเอสแอนด์พี 500 ไม่ได้เกิดขึ้นจากข่าวเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี แต่เป็นเพราะกระแสผลกระทบข้างเคียงจากการระบาดของเชื้อโควิดโอมิครอนอาจไม่ได้รุนแรงอย่างที่ตื่นกลัวกันในตอนแรก แม้ว่าเงินเฟ้อจะหนุนขาขึ้นในตลาด แต่ปัจจัยกดดันสามอย่างหลักๆ (เงินเฟ้อ นโยบาบยการเงินตึงตัว และโอมิครอน) ยังคงเป็นข่าวหลัก ที่พร้อมจะเปลี่ยนตลาดจากขาขึ้นให้กลายเป็นขาลงได้เสมอ การที่ดัชนีวัดความผันผวนลงมาทำจุดต่ำสุด อาจเป็นไปได้ว่าที่เหลือต่อจากนี้อาจจะกลายเป็นขาขึ้นจากความกังวลของตลาดลงทุน
อันที่จริงแล้ว เราสามารถใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อระบบการเงินได้ หาดพวกเขาเชื่อมั่นในนโยบายทางการเงินของอเมริกา และไม่สนใจข่าวการระบาดของโอมิครอน กราฟอัตราผลตอบแทนฯ อายุ 10 ปีจะปรับตัวขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าโควิดสายพันธุ์ล่าสุดถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นภัยร้ายแรง และเป็นพิษต่อเศรษฐกิจจริง นักลงทุนจะทิ้งตลาดหุ้น หันมาถือพันธบัตร และทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง
แต่เป็นเพราะในความเป็นจริง ณ ตอนนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่าผลการประชุมของเฟด และโอมิครอนที่จริงแล้วจะมีผลเป็นเช่นไร นั่นจึงทำให้กราฟอัตราผลตอบแทนฯ อายุ 10 ปีเกิดความผันผวน วิ่งขึ้นวิ่งลงอย่างที่เห็นในรูป ทิ้งความเป็นไปได้ในกับตลาดว่าจะลงเอยด้วยการสร้างรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) หรือไม่ นอกจากจะเป็นขาลงของรูปแบบหัวไหล่แล้ว หากไหล่ขวาสำเร็จ จะเป็นการสร้างรูปแบบ double-top ในภาพใหญ่อีกด้วย
การปรับตัวขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคสู่จุดสูงสุดในรอบ 39 ปี ทำให้ดอลลาร์สหรัฐปิดตลาดด้วยท่าทีอ่อนค่า
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐผันผวนอยู่ในกรอบรูปธง ซึ่งโดยปกติแล้ว การหลุดกรอบของรูปแบบนี้มักจะจบลงด้วยการทะลุกรอบตามเทรนด์เดิมก่อนหน้า และก็อย่างที่เห็น…ว่าเทรนด์ก่อนหน้านี้คือขาขึ้น
เมื่อดอลลาร์อ่อนค่า ก็ต้องเป็นทองคำที่ปรับตัวขึ้น
ตอนนี้ความเป็นไปได้ของทองคำมีอยู่สองแบบ หนึ่งคือกรอบราคาขาขึ้น (เส้นสีดำ) และสองคือสร้างกรอบรูปธง (เส้นสีแดง) ถ้าเป็นไปตามการปรับตัวแบบรูปธง ก็แปลว่าทองคำมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงต่อในอนาคต
หลังจากปรับตัวลงต่อเนื่องมาสองสัปดาห์ติด ตอนนี้บิทคอยน์เริ่มพอที่จะประคองตัวเองได้แล้ว แต่เพราะนี่คือขาลงติดต่อกันที่หนักที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2018 จึงยังไม่อาจวางใจได้ว่า ณ บริเวณนี้จะเป็นการปรับตัวกลับขึ้นไป หรือเป็นเพียงการพักตัวเพื่อลงต่อ
การที่ขาลงรอบนี้ของบิทคอยน์สามารถหลุดเทรนด์ไลน์ในรูปลงมาได้ ถือเป็นการสร้างความกังวลให้กับฝั่งขาขึ้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทรนด์ไลน์นี้ถือเป็นเส้นหลัก ที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดในเดือนกรกฎาคม หากว่านี่คือการยืนยันว่าบิทคอยน์จะเข้าสู่ขาลงยาวๆ และสามารถลงไปวิ่งต่ำกว่า $29,000 ได้ จะถือว่าเป็นขาลงที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของบิทคอยน์
ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ แต่จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค แนวโน้มหลักยังคงเป็นขาลง
จากการวิเคราะห์กราฟรายวัน มีความเป็นไปได้ที่กราฟน้ำมันดิบกำลังสร้างรูปแบบหัวไหล่ขนาดใหญ่ ตอนนี้มีความเป็นไปได้ที่ราคากำลังจะสร้างบริเวณไหล่ด้านขวา หากเป็นเช่นนั้นก็มีโอกาสที่ราคาจะกลับขึ้นไปทดสอบ $76 ต่อบาร์เรลได้อีกครั้ง
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)
วันอาทิตย์
18:50 (ญี่ปุ่น) ดัชนีภาคการผลิตในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จาก Tankan: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 18 เป็น 19 จุด
18:50 (ญี่ปุ่น) ดัชนีที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จาก Tankan: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 2 เป็น 6 จุด
วันอังคาร
02:00 (สหราชอาณาจักร) ดัชนีค่าเฉลี่ยวัดรายได้และเงินโบนัส: คาดว่าจะลดลงจาก 5.8% เป็น 4.5%
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานจำนวนคนว่างงานที่ใช้สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน: ครั้งก่อนออกมา -14.9K
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้ผลิต: คาดว่าจะคงที่ 0.6%
21:00 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 3.5% เป็น 3.8%
วันพุธ
02:00 (สหราชอาณาจักร) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 4.2% เป็น 4.7%
08:30 (สหรัฐฯ) ตัวเลขค้าปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 1.7% เป็น 1.0%
08:30 (สหรัฐฯ) ตัวเลขค้าปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 1,7% เป็น 0.8%
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: ตัวเลขสัปดาห์ที่แล้วออกมาอยู่ที่ -0.240M
14:00 (สหรัฐฯ) การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขการจ้างงาน: คาดว่าจะออกมาที่ 200.0K
วันพฤหัสบดี
03:30 (สวิตเซอร์แลนด์) การประชุมของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ -0.75%
03:30 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 57.4 เป็น 57.0 จุด
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคบริการและการผลิต: ครั้งก่อนออกมาที่ 58.1 และ 58.5 จุด
07:00 (สหราอาณาจักร) การประชุมของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงที่ 0.10%
07:45 (ยูโรโซน) การประชุมของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงที่ 0.00%
08:30 (สหรัฐฯ) ตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 184K เป็น 195K
21:30 (ญี่ปุ่น) การประชุมของธนาคารกลางฯ
วันศุกร์
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขค้าปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 0.8% เป็น 0.5% MoM
04:00 (เยอรมัน) ดัชนีวัดความเชื่อมั่นจากภาคธุรกิจโดย Ifo: คาดว่าจะลดลงจาก 96.5 เป็น 95.4 จุด
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะคงที่ 4.90%
05:30 (รัสเซีย) การประชุมของธนาคารกลาง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 50 จุดเบสิสเป็น 8.00%