🔥 ฟีเจอร์การคัดเลือกหุ้นระดับพรีเมียมโดย AI จาก InvestingPro ตอนนี้ลดสูงสุดถึง 50% รับส่วนลด

ธีมลงทุนเดือนพฤศจิกายน 2021 หุ้นยังไปต่อ หลัง Q3 Earnings ดีเกินคาด

เผยแพร่ 11/11/2564 14:00
อัพเดท 09/07/2566 17:32
US500
-

Economic & Markets Review

ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตลาดการเงินโดยรวมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่องจากแรงหนุนของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ต่างออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ ดัชนีตลาดหุ้นโลก MSCI ACWI ปรับตัวขึ้นกว่า 4.7% นำโดยการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว (DM) โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯและยุโรปที่ปรับตัวขึ้นไม่น้อยกว่า 5% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นในโซนอาเซียนก็เป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่เห็นการฟื้นตัวของตลาดหุ้นที่ดีขึ้น โดย ดัชนี MSCI ASEAN ปรับตัวขึ้นราว 5% หนุนโดยแนวโน้มสถานการณ์ COVID ในอาเซียนที่ดีขึ้น ตามการเร่งแจกจ่ายวัคซีน ซึ่งทำให้หลายประเทศสามารถทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ได้ตามลำดับ

นอกเหนือจากสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรับตัวขึ้นได้ดีนั้น สินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าพลังงานก็ปรับตัวขึ้นได้ดีเช่นกันในเดือนตุลาคมที่ผ่าน จากปัญหาภาวะขาดแคลนพลังงานทั่วโลก เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่กำลังการผลิตนั้นมีการฟื้นตัวที่ช้า รวมถึงปัญหาด้าน Supply Chain ที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าพลังงานก็ยิ่งทำให้ราคาสินค้าพลังงานปรับตัวสูงขึ้นและเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลอดเดือนตุลาคม ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับที่สูงนานกว่าคาด จนทำให้ตลาดต่างประเมินว่า ธนาคารกลางหลักอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดหรือขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วและมากกว่าที่ตลาดประเมินไว้

จากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อ รวมถึงมุมมองของตลาดที่เชื่อว่าธนาคารกลางหลักอาจขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว ส่งผลให้ตราสารหนี้โดยรวมปรับตัวลดลง โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากการที่บอนด์ยีลด์ 10ปี ทั่วโลกต่างปรับตัวขึ้น นอกจากนี้ ในฝั่งหุ้นกู้เอกชน ก็ยังเผชิญแรงกดดันจากความกังวลปัญหาหนี้ภาคอสังหาฯในจีน ที่ส่งผลให้ ตราสารหนี้เอกชน ทั้ง IG และ HY ต่างปรับตัวลดลง


Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก

Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564


Figure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม

Figure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564


Figure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลก

Figure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลก และความเคลื่อนไหวของบอนด์ยีลด์ 10ปี ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564


ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก

Figure4: ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2564

Investment Strategy

สำหรับในเดือนพฤศจิกายน แม้ว่าสินทรัพย์เสี่ยงจะปรับตัวขึ้นมาพอสมควรจากแรงหนุน Earnings Season แต่เราคงเชื่อว่า “หุ้น” ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ให้ Risk/Reward น่าสนใจอยู่ อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในตลาดหุ้นที่ระดับราคายังไม่แพงเกินไปและเศรษฐกิจก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี ขณะเดียวกัน กระแสการลงทุนในธีม Renewable Energy และ EV ก็เป็นสิ่งที่ควรมีติดพอร์ตไว้เช่นกัน

แนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องและผลประกอบการที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ทำให้เราคงเน้นน้ำหนักการลงทุนในหุ้น ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ที่มี Risk/Reward น่าสนใจ โดยเฉพาะ หุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่ม Financial ที่จะสามารถปรับตัวขึ้นได้ดีตามเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี แม้ว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีความน่าสนใจในแง่การเติบโตของผลประกอบการ แต่เรามองว่า ราคาหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวขึ้นมามากพอสมควร ซึ่งนักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงการลงทุนไปยังตลาดอื่นๆ ที่น่าสนใจบ้าง อาทิ ตลาดหุ้นยุโรปและญี่ปุ่น เนื่องจากทั้งผลประกอบการของบริษัทในฝั่งยุโรปและญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากรัฐบาล ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ นอกจากนี้ ระดับราคาของตลาดหุ้นยุโรปและญี่ปุ่น ณ ปัจจุบัน ถือว่ายังไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต

นอกจากนี้ ในด้านธีมการลงทุนที่น่าสนใจ เราคงชอบ ธีม EV และ พลังงานทางเลือก (Renewable) เป็นตัวเลือกการลงทุนระยะยาว (มากกว่า 5ปี) หนุนแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ EV & Renewable ที่จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายพลังงานสะอาดและรักษ์โลกของรัฐบาลทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากท่าทีของบรรดาประเทศต่างๆ ในงานประชุม COP26 ที่หันมาใส่ใจกับนโยบายลดการปล่อยมลภาวะและใส่ใจกับปัญหาด้าน Climate Change มากขึ้น

อนึ่ง สินทรัพย์ที่เรามองว่า นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงก็คือ พันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เนื่องจาก แนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ การทยอยลดมาตรการคิวอีของเฟด รวมถึงความกังวลว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาดของผู้เล่นในตลาด จะส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ระยะยาวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้ นักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเผชิญการขาดทุน (Mark to Market loss) ได้

ดังนั้นพอร์ตโฟลิโอสำหรับความเสี่ยงระดับกลาง เราจึงแนะนำแบ่งสัดส่วนการลงทุนดังนี้ 1.)กองทุนหุ้นทั่วโลก 44% เน้นหุ้น High Quality Growth ในสหรัฐอเมริกา, หุ้น Large cap. Growth ในยุโรปและญี่ปุ่น รวมถึงหุ้นกลุ่ม Global Financial 2.) กองทุนตราสารหนี้เอกชนทั่วโลก 33% 3.) กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น 18% ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน Investment grade ขึ้นไป รวมถึงเงินฝากต่างประเทศ และ 4.) กองทุนรวม REITs 5% ที่เน้นลงทุนในกลุ่ม Reopening play เช่น Retail REITs ในไทย

Risk Factors to keep eyes on

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรติดตามในเดือนนี้ ได้แก่ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ รวมถึง ทิศทางการปรับดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก ขณะเดียวกัน สิ่งที่อาจมองข้ามไม่ได้ คือ ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และสุดท้ายในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ตลาดอาจกลับมาติดตามความเสี่ยงการเมืองสหรัฐฯ อีกครั้ง

โดยในประเด็นแรกนั้น เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่อยู่ในระดับสูงจากความต้องการที่ฟื้นตัวหลังการทยอยเปิดประเทศ ขณะที่ปัญหาด้าน Supply Chain ก็ยังมีอยู่และอาจยืดเยื้อยาวนานได้ ทำให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ดี ประเด็นเงินเฟ้ออาจยังไม่ได้กดดันให้บรรดาธนาคารกลางให้ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว แต่ควรจับตาท่าทีของบรรดาธนาคารกลางหลักว่าจะมีการปรับเปลี่ยนมุมมองแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการปรับนโยบายการเงินอย่างไรบ้าง ซึ่งเราคาดว่าธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด BOE และ ECB จะมีการสื่อสารถึงแนวโน้มนโยบายการเงินที่ชัดเจนมาขึ้นในการประชุมเดือนธันวาคม และแม้ว่า อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักมากนัก แต่มีโอกาสที่เงินเฟ้อสูงจะส่งผลกระทบต่อการบริโภค รวมถึง profit margin ของภาคธุรกิจที่อาจได้รับแรงกดดันจากต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น

ประเด็นความเสี่ยงถัดมา คือ Winter COVID-19 outbreak โดยล่าสุด เราเริ่มเห็นการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในฝั่งซีกโลกเหนือทั้งในโซนยุโรปและจีน โดยสถานการณ์ในยุโรปอาจไม่ได้น่ากังวลมากนัก เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าไปมาก โดยมีผู้ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วราว 60% ดังนั้น หากมีการระบาดใหม่ เราเชื่อว่าสถานการณ์การระบาดจะไม่ได้น่ากังวลมากนัก เนื่องจากยอดผู้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตจะไม่ได้เร่งตัวขึ้นไปมากแบบการระบาดในช่วงกลางปี ดังนั้น รัฐบาลในฝั่งยุโรปอาจไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการ Lockdown เพื่อควบคุมสถานการณ์ แต่การฟื้นตัวเศรษฐกิจก็อาจได้รับผลกระทบบ้างจากยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การระบาดในฝั่งจีนอาจเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากการระบาดรอบล่าสุดได้แพร่กระจายไปยัง 19 มณฑล จาก 31 มณฑล ภายในระยะเวลาไม่นานซึ่งเร็วกว่าอัตราการแพร่ระบาดของการระบาดระลอกแรกที่เมือง Wuhan นอกจากนี้ ทางการจีนยังคงมาตรการ Zero COVID ทำให้มีโอกาสที่รัฐบาลจีนจะใช้มาตรการ lockdown ที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาด ทำให้เศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงได้ ซึ่งหากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจในโซนเอเชียที่พึ่งพาการค้าจากฝั่งจีน

และประเด็นสุดท้ายที่ต้องระมัดระวังในช่วงปลายเดือน คือ ปัญหาการเมืองสหรัฐฯ ซึ่งจะมีการพิจารณาขยายเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ของสหรัฐฯ อีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคม พร้อมกับการพิจารณาร่างงบประมาณ Social Infrastructure มูลค่าราว 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นมีโอกาสที่จะเห็นการกลับมาเล่นเกมส์การเมืองระหว่างพรรครีพลับริกันและเดโมแครตอีกครั้งในช่วงการพิจารณาทั้งเพดานหนี้ และงบประมาณ Social Infrastructure เนื่องจากในปีหน้าจะมีการเลือกตั้งกลางเทอม ทำให้ทั้งสองพรรคอาจต้องเริ่มเรียกหาคะแนนเสียง โดยเฉพาะฝั่งพรรคเดโมแครตที่คะแนนความนิยมของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เริ่มลดลง


Figure 5: จำนวนประเทศที่มีการประกาศเป้าหมายลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Figure 5: จำนวนประเทศที่มีการประกาศเป้าหมายลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง




(ที่มา Bloomberg )

Figure 6: รายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนบน S&P500 ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งประกาศงบไปแล้วกว่า 81%
(ที่มา JP Morgan )


Figure 7: สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในฝั่งยุโรปและจีน


Figure 7: สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในฝั่งยุโรปและจีน (ที่มา OurWorldinData )


Figure 8: อัตราการแจกจ่ายวัคซีนล่าสุด

Figure 8: อัตราการแจกจ่ายวัคซีนล่าสุด (ที่มา OurWorldinData )


Figure 9: คะแนนความนิยมของประธานาธิบดี Joe Biden นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่ง

Figure 9: คะแนนความนิยมของประธานาธิบดี Joe Biden นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่ง (ที่มา FiveThirtyEight )



ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย