รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า เผย 4 ปัจจัยกดดันราคาทองคำ

เผยแพร่ 18/10/2564 10:03
อัพเดท 09/07/2566 17:32

สรุป ราคาทองคํา วันศุกร์ที่ผ่านมาปิดดิ่งลง 28.85 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคําได้รับแรงกดดันจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่

(1.) การเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนก.ย. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าอาจสติลง 0.2% ซึ่งปัจจัยดังกล่าวหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.574% จนส่งผลกดดันราคาทองคําในฐานะ สินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย

(2.) ราคาทองคําในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยยังคงได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการทะยานขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้น นิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุดในวันศุกร์ และปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดเมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการที่บริษัทโกลด์แมน แซคส์เปิดเผยผล ประกอบการไตรมาส 3 ที่แข็งแกร่ง รวมถึงตัวเลขยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.ย.

(3.) Bitcoin พุ่งขึ้นทะลุขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือระดับ 61,000 ดอลลาร์จากการคาดการณ์ว่า คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) จะให้การอนุมัติจัดตั้งกองทุน ETF บิตคอยน์เพื่อทําการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า สถานการณ์ดังกล่าวนั่นทอนเม็ดเงินเก็งกําไร ขอกจากตลาดทองคํา และ

(4.) กองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -2.62 ตัน สู่ระดับ 980.10 ต้น ทําให้ในปี 2021 กองทุน SPDR ถือครองทองลดลงแล้ว - 190.64 ตันสะท้อนกระแสเงินทุนที่ ไหลออกจากETF ทองคํา ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดกดดันให้ราคาทองคําดิ่งลงหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันบริเวณ 1,776 ดอลลาร์ต่อออนซ์จนกระตุ้นแรงขายตามทางเทคนิคเพิ่มเติม นั่นทําให้ราคา ทองร่วงลงต่อจนทดสอบระดับต่ําสุดบริเวณ 1,764.88 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ

หากราคาทองคำไม่สามารถขึ้นไปยืนเหนือ 1,781 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้มีแนวโน้มอ่อนตัวลงสู่ บริเวณ 1,764-1,757 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามในโซน 1,781-1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หาก ราคาผ่านไม่ได้ การเคลื่อนไหวในระยะสั้นจะมีรูปแบบแกว่งตัวออกด้านข้างที่ชัดเจนขึ้น และราคาอาจอ่อนตัวลงทดสอบกรอบแนวรับด้านล่างอีกครั้ง

คําแนะนํา เน้นเก็งกําไรในกรอบจากการแกว่งตัว หาก ราคายังไม่ผ่านโซน 1,781 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รอเปิด สถานะซื้อในบริเวณ 1,764-1,757 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัด ขาดทุนหากหลุด 1,757 ดอลลาร์ต่อออนซ์) เพื่อไปรอ พิจารณาแนวรับถัดไป

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย