การที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงานเบอร์ต้นๆ ของโลกกำลังกลายเป็นภัยทำให้เศรษฐกอจของประเทศไม่สามารถวนออกจากอ่างได้ ยิ่งราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นมากเท่าไหร่ ญี่ปุ่นก็ยิ่งพบว่าตัวเองต้องใช้สกุลเงินเยนซื้อพลังงานในปริมาณเท่าเดิมแต่มีราคาแพงขึ้น ยิ่งทำให้สกุลเงินของประเทศตัวเองอ่อนค่าลงไปทุกวันๆ
ตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นต้องต่อสู่กับการเสื่อมค่าของสกุลเงินมาโดยตลอด การที่สินค้าหรือบริการมีราคาถูกลงอาจเป็นผลดีในสายตาของผู้บริโภค แต่ในมุมมองทางเศรษศาสตร์ นั่นคือเศรษฐกิจที่ไม่มีการเติบโตทางการเงิน เพราะการที่ราคาสินค้าถูกลงก็จะทำให้ผู้ผลิตลดจำนวนการผลิตตามไปด้วย ไม่มีใครอยากลงทุนผลิตสินค้าที่ขายได้ต่ำกว่าต้นทุนตัวเองจริงไหม? หากเป็นเช่นนั้น ก็จะส่งผลให้ค่าจ้างถูกลง และจำนวนความต้องการจ้างงานก็จะต้องลดลงตาม
ในตอนนี้เราทราบกันดีว่าทั้งโลกกำลังประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อจากเงินช่วยเหลือเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นภัยโรคระบาด แม้ว่าการที่สินค้ามีราคาแพงขึ้นจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น (ธุรกิจมีรายได้มากขึ้น มีการจ้างงานและเพิ่มค่าจ้างสูงขึ้น) แต่เมื่อเงินเฟ้อขึ้นเร็วเกินไป ก็ทำให้กำลังซื้อด้วยสกุลเงินเยนนั้นขยับตัวขึ้นตามไม่ทัน กลายเป็นการบั่นทอนความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุน
ตอนนี้ประเทศญี่ปุ่นมีรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตสูงที่สุดในรอบ 13 ปี กลายเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาคการผลิตที่ตอนนี้ก็ประสบปัญหาซัพพลายเชนขาดแคลนอยู่แล้ว เมื่อสินค้ามีราคาแพงเพราะมีจำนวนจำกัด ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถสู้ราคาไหว ส่งผลกระทบย้อนกลับมายังความสามารถการบริโภคภายในประเทศ ความอ่อนแอของสกุลเงินเยน สะท้อนออกมาผ่านกราฟเทียบคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเยนในปัจจุบัน
กราฟ USDJPY ได้ขึ้นมาชนจุดสูงสุดของกรอบขาขึ้น (กรอบสีเขียวเข้ม) เพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่กราฟมีโอกาสดีดตัวกลับลงไป อินดิเคเตอร์อื่นๆ ก็เริ่มส่งสัญญาณอาจกลับตัว ยกตัวอย่างเช่น ROC ที่หยุดอยู่ ณ บริเวณจุดสูงสุดเดิม และ RSI ที่วิ่งอยู่ ณ 74.84 เข้าสู่โซน overbought เป็นที่เรียบร้อย
แม้ว่าความเร็วของขาขึ้นระลอกนี้จะชะลอตัวลง แต่ราคาก็ยังไม่ยอมปิดตัวลดลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดของวันอังคาร อย่างไรก็ตาม จุดที่นักลงทุนขาขึ้นควรระวังคือตัวกราฟได้สร้างรูปแบบคนห้อยหัวออกมาแล้ว (Hanging Man) นี่อาจเป็นกับดักหลอกให้นักลงทุนขาขึ้นเข้าใจว่ากราฟจะปรับตัวขึ้นต่อ ขึ้นอยู่กับว่าแท่งเทียนในวันนี้จะปิดต่ำกว่าแท่งคนแขวนคอหรือไม่ ถ้าใช่ มีโอกาสที่ USDJPY จะวิ่งลงมายังกรอบราคาด้านล่างเพื่อทดสอบแนวรับ
จากการพิจารณากราฟ USDJPY รายสัปดาห์ เราจะพบว่ากราฟดอลลาร์เทียบเยนได้วิ่งอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นมาหกสัปดาห์ติดต่อกัน ถือเป็นขาขึ้นที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2016 ณ จุดนี้เราจะเห็นเส้นค่าเฉลี่ย 50 DMA ตัดเส้น 100 DMA ขึ้น และกำลังมุ่งหน้าขึ้นทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA ที่ระดับราคานั้นเคยเป็นเส้น neckline ที่รองรับรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ที่ไม่สำเร็จมาก่อน และก่อให้เกิดขาขึ้น 3.5% ในปัจจุบัน
เมื่อขยายใหญ่ออกไปดูกราฟรายเดือนอีกจะเห็นว่ากราฟ USDJPY สามารถวิ่งขึ้นจนหลุดเส้นเทรนด์ไลน์ขาลงตั้งแต่ปี 1990 ได้สำเร็จ ถือเป็นครั้งที่สองที่ทำได้นับจากการหลุดขึ้นมาในปี 2015 นอกจากนี้การหลุดเส้นเทรนด์ไลน์ดังกล่าวขึ้นไปได้ ยังเป็นการหลุดกรอบของการพักตัวแบบสามเหลี่ยมสมมาตร ซึ่งสามารถตีความได้ว่าขาขึ้นครั้งนี้มีอนาคตไกล
โดยสรุปก็คือถึงในระยะสั้นกราฟ USDJPY จะส่งสัญญาณเป็นไปได้ที่อาจะเกิดการชะลอตัว แต่ในระยะกลางถึงยาวนั้นขาขึ้นพึ่งจะตั้งไข่ได้ แต่จะเป็นขาขึ้นระยะยาวได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าสามารถขึ้นยืนเหนือจุดสูงสุด 125 ได้อย่างมั่นคงหรือไม่
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟระยะสั้นดีดตัวกลับลงมา ณ กรอบราคาด้านล่าง และการพักฐานในบริเวณนั้นจะต้องส่งสัญญาณว่ากำลังสะสมแรงออกมาด้วย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง รอสัญญาณคล้ายกันกับกลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยง แต่เมื่อย่อลงไปแล้วจะไม่รอกราฟสะสมแรงเพื่อยืนยันขาขึ้น แต่รับความเสี่ยงที่บริเวณจุดต่ำสุดขอบกรอบราคาเลย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะสวนเทรนด์ด้วยการวางคำสั่งขายตามการย่อครั้งนี้ลงไป เก็บกินในระยะสั้น นักลงทุนกลุ่มนี้จะเข้าใส่อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนดี อย่างไรก็ตาม หากคิดจะเล่นวิธีนี้ต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดีควบคู่กันไปด้วย
ตัวอย่างการเทรด (ขาลง)
- จุดเข้า: 113.60
- Stop-Loss: 113.85
- ความเสี่ยง: 25 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:112.60
- ผลตอบแทน: 100 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:4