รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

CPANEL … หุ้นน้องใหม่ แต่ผู้บริหารมือเก่า 

เผยแพร่ 01/10/2564 12:18
อัพเดท 09/07/2566 17:32

หุ้น IPO อีกหนึ่งบริษัทที่เข้าตลาดมาเมื่อวาน แต่ไม่เจ็บจี๊ดเหมือน UBE

เพราะว่าตอนเช้าเปิดสวย 8.70 บาท แต่ช่วงบ่ายก็เริ่มออกอาการเซลงมาปิดที่ 7.30 บาท แต่ก็ยังสูงกว่าราคาจองถึง 21.6% ใครได้หุ้น IPO คงยิ้มได้ แต่ถ้าใครได้หุ้น ATO คงยิ้มไม่ออกเท่าไหร่

จุดเริ่มต้นของ CPANEL ต้องเล่าย้อนไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว

ชายหนุ่มหน้ามนวัย 35 ณ ขณะนั้น มีชื่อว่า ชาคริต ทีปกรสุขเกษม ลูกชายคนเล็กของบ้าน เป็นผู้บริหารใหญ่ของ CCPเดินไปบอกป๊าและบอร์ดว่า

เรามาทำ Precast Concrete กันเถอะ มันจะเป็นอนาคตของบริษัท ฝ่ายผู้ใหญ่จริงๆ ก็คิดว่าน่าจะดี แต่ก็มองว่ามันอาจจะเสี่ยงเกินไป เลยอยากที่จะขอดูไปก่อน ยังไม่อยากเสี่ยงเริ่มทำ

แต่ด้วยความเชื่อมั่นว่า Precast คือ อนาคต คุณชาคริต เลยตัดสินใจลาออก พร้อมขายหุ้น เอาเงินส่วนตัว 100 กว่าล้านบาท ร่วมกับเพื่อนๆ และกู้เงินธนาคารอีกส่วนหนึ่งมาเปิดบริษัทของตัวเองชื่อว่า CPANEL ส่วน CCP นั้นได้คุณอาทิตย์พี่ชายคนโตเข้ามารับไม้ต่อบริหารแทน ซึ่งก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน

แต่ถ้าถามว่า CPANEL ตัดขาดจากบ้าน CCP เลยมั้ย ก็คิดว่าไม่นะ เพราะคุณชาคริตให้สัมภาษณ์ถึงป๊าดีมาก แถมยังบอกอีกว่าช่วงเริ่มต้น ป๊ายังส่งคนมาช่วย และก็เห็นมีการซื้อของจากชลบุรีกันยง บริษัทลูกของ CCP อยู่ เรียกได้ว่า สายสัมพันธ์ตัดไม่ขาด แต่แค่ไม่มีชื่อติดผู้ถือหุ้นของกันและกันเท่านั้น

ถ้าเราเข้าใจถึงตรงนี้ เราจะพบว่า

1️. Precast Concrete น่าสนใจ มาร์จิ้นดี ตลาดยังเล็ก แต่โจทย์คือ อยากเข้าไปแทนที่คอนกรีตทั่วไปที่ใช้แรงงานก่ออิฐฉาบปูน CPANEL บอกว่า precast ช่วยลดจำนวนแรงงาน 50% ลดเวลาก่อสร้าง 30%

2️. เป็นธุรกิจที่ Capital Intensive หรือต้องใช้เงินลงทุนเยอะ ถ้าเราดูอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทเราจะเห็นว่า D/E สูง คือ 2.15 เท่า และเหตุผลในการเข้าตลาดหุ้นก็เพราะต้องการโตต่อโดยการขยายโรงงานขนาดเท่าตัวจากของเดิม กู้ไม่พอ เพราะแบงค์ลิมิตที่ 2.5 เท่า ซึ่งตรงนี้ก็แอบเป็นความเสี่ยงได้ในอนาคตในเรื่องของ Debt Covenant หรือ เพิ่มทุน ถ้าจะต้องโตมากกว่านี้อีกในระยะยาว

3️. เหล็กและปูน คือ ต้นทุนหลัก รวมกันมากกว่า 60% ยิ่งปีนี้ราคาเหล็กขึ้น ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และบริษัทไม่มีนโยบายสต็อคนาน จะไปบวกลูกค้าเอา ถามว่าได้หมดมั้ย คำตอบคือ ได้แค่ 60-70% ที่เหลือคือ ไปปรับปรุงสูตรการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอา

แต่ที่เห็นว่า GPM ปีนี้ดีมาก 37% มันมีอีกตัวแปรคือ แรงงานรายวันกลับบ้านกลับประเทศลดลงไป 25% ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ แต่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกัน

=================

ผลประกอบการย้อนหลัง

ปี 2561 รายได้ 263 ล้านบาท กำไรสุทธิ 31 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 322 ล้านบาท กำไรสุทธิ 36 ล้านบาท

ปี 2563 รายได้ 221 ล้านบาท กำไรสุทธิ 13 ล้านบาท

1H’63 รายได้ 100 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1.3 ล้านบาท

1H’64 รายได้ 157 ล้านบาท กำไรสุทธิ 16.8 ล้านบาท

อัตรากำไร

ปี 2561 GPM 31.5% NPM 11.9%

ปี 2562 GPM 35.7% NPM 11.3%

ปี 2563 GPM 35.2% NPM 5.9%

1H’63 GPM 32.6% NPM 1.3%

1H’64 GPM 37.3% NPM 10.7%

รายได้แนวโน้มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่สะดุดที่ปี 2563 เพราะว่า ภาคอสังหา ซึ่งเป็นลูกค้าหลัก โดยเฉพาะบ้านแนวราบ มีการชะลอโครงการจากเรื่อง COVID แต่พอปีนี้ก็เริ่มกลับมาเร่งตัวขึ้น มี Utilization Rate 70% แล้ว

ในส่วนของมาร์จิ้นต้องบอกว่าทำได้ดีเลย ยิ่งผลิตเยอะ กำไรก็จะยิ่งดี มี Economy of Scale เราอาจจะพอเห็นว่า GPM ทำได้ 35-36% และ NPM ก็ทำได้ได้ 10-12%

==================

อนาคตดีต่อมั้ย

บริษัทบอกว่า Backlog ยาวไป 3 ปี มูลค่า 1156 ล้านบาท ดูตัวเลขถือว่าเยอะ มั่นคงดี แต่ก็แอบสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมบ้านแนวราบ สร้างไปขายไป โครงการไม่ยาว ทำไม backlog ถึงลากยาวได้ 3 ปี แต่บริษัทก็บอกว่า มีสัญญาหมดแล้ว และเป็นเพราะ COVID ด้วย ถ้ารายได้มาจริงตามนี้ เราจะคำนวณได้แบบนี้ครับ

ปี 2564 1H รายได้ 157 ล้านบาท Backlog ที่จะเข้าปีนี้อีก 228 ล้านบาท รวมกันได้ 385 ล้านบาท แต่อาจจะมีสะดุด Q3 ที่ปิดแคมป์ก่อสร้าง ก็อาจมาเร่งส่งมอบ Q4 แทน หรือไม่ก็ไปปีหน้าบ้าง แต่ก็ยังเป็นตัวเลข new high ของบริษัท

ปี 2565 พีคสุด ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะเป็น All Time High เพราะคาดว่าจะรับรู้รายได้ 525 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขรายได้เท่านี้คือ ใช้กำลังการผลิต 100%

ปี 2566 รายได้ตาม backlog คือ 402 ล้านบาท แต่ก็อาจจะได้งานเข้ามาเพิ่มอีก ถ้าคิดในเคสปกติ ก็คงรับได้ถึง 525 ล้านบาท Full Capacity ยกเว้นว่าจะขยับขยายตรงไหนได้เพิ่ม

ปี 2567 เป็นต้นไป โรงงานที่สองจะเสร็จ กำลังการผลิต 720,000 ตารางเมตร เท่ากับโรงงานแรก แปลว่า Cap เพิ่ม 100% ยังตอบไม่ได้ว่ารายได้จะเพิ่มเท่าไหร่ แต่ถ้าหาได้เยอะ เกิน break even point กำไรก็จะดี

ทีนี้ทุกคนก็สามารถเอารายได้ที่ผมทำให้ 385, 525 และอาจจะเป็น 600-700 ล้านบาท มาคำนวณกำไรกันได้นะครับ

ถามว่า ใช้ NPM 11-12% คูณเลยได้มั้ย ก็อาจจะพอได้ แต่จะมีเรื่องที่ต้อง note ไว้คือ

กำลังการผลิตตอนนี้ 70% ได้ GPM 35-36% ถ้าปีหน้าใช้ cap เต็มร้อย GPM น่าจะดีขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ แต่ต้องไปดูในรายละเอียด เช่น ราคาเหล็ก จำนวนแรงงาน.

ตอนนี้มีหนี้อยู่ 300 ล้านบาท จะเอาเงินไปคืนหนี้ 50-100 ล้านบาท ทำให้ต้นทุนการเงินลดลง NPM น่าจะเพิ่มได้

แต่ช้าก่อน โรงงานใหม่ลงทุน 500 ล้านบาท แบ่งเงินจาก IPO มา 150 ล้านบาท ไม่พอนะครับ ต้องกู้เพิ่มอีก และใช้กระแสเงินสด เข้ามาเพิ่ม แปลว่า เดี๋ยวดอกเบี้ยก็เพิ่มอีก (ถ้ายังงั้นทำไมไม่ออก IPO ให้เยอะกว่านี้นะ สงสัย)

นี่ยังไม่นับประเด็นปลีกย่อย ถ้างานที่ได้เป็นโครงการเล็ก ถนนแคบ ต้องใช้รถสิบล้อ (ปกติใช้รถแบบ Low Bed Trailer) หรือถ้ามี write off เครื่องจักร (มีทำปี 2564) ก็จะกระทบกำไรได้บ้าง

แต่โดยสรุป ก็อาจจะตั้งต้น NPM 11-12% หรือถ้ามองบวก ก็ให้ 15% ก็ลองดูได้ครับ แต่สำคัญสุดคือ backlog ต้องส่งมอบได้จริงตามแผนนะ

ในแง่การประเมินมูลค่า ผมก็ใช้ P/E ปกติ ซึ่งเราอาจจะไปเทียบกับ CCP, SMART, STC, SK, DCON แบบนี้ก็ได้ อาจจะไม่ใช่สินค้าที่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็พอเทียบเคียงกันได้บ้าง เฉลี่ยๆ หลายๆ ปี ก็อาจจะได้ซัก 15-20 เท่า

ผมจะไม่บอกคำตอบนะครับ แค่อยากแชร์ไอเดียให้ฟังกัน แล้วอยากให้ลองเอาไปปรับให้เหมาะสม สุดท้ายเราก็จะได้ตัวเลขออกมา แล้วเราก็จะบอกตัวเองได้ สมมติเช่น

6-7 บาท คือ ราคาเหมาะสมของกำไรปีนี้

9 บาท คือ ราคาเหมาะสมของกำไรปีหน้าที่ Full Capacity

13-15 บาท คือ ราคาเหมาะสมเมื่อรวมโรงงานใหม่เข้ามา และ Run 50% Utilization

ข้างบน คือ ตัวเลขสมมตินะครับ แต่มันจะช่วยบอกเราได้ว่า ราคาที่เราเห็นบนกระดานนั้น มันสะท้อนถึงเรื่องราวอะไร และเราควรตัดสินใจอย่างไร ใครคิดออก คนนั้นรวยครับ

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง Stock Vitamins - วิตามินหุ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย