📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

กนง. “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% หลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว

เผยแพร่ 29/09/2564 15:40

กนง. “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% หลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นจากการเร่งแจกจ่ายวัคซีน

  • Bank of Thailand Benchmark Interest Rate

Actual: 0.50% Previous: 0.50%

KTBGM: 0.50% Consensus: 0.50%

  • กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ตามคาด แม้ว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของ Delta แต่การเร่งแจกจ่ายวัคซีนและการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ที่เร็วกว่าคาด ก็ช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ทั้งนี้ กนง. ยังคงมองว่า มาตรการด้านการเงินจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการลดดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ จึงคงดอกเบี้ยนโยบายตามเดิม

  • เราคงมองว่า กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยต่ำกว่า 0.50% เพราะโจทย์สำคัญในการฟื้นเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มรายได้, การเร่งเสริมสภาพคล่องให้กับภาคส่วนที่ประสบปัญหา ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็เตรียมผลักดันมาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องเพิ่มเติม นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง รวมถึงการเร่งควบคุมการระบาดและเร่งแจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้มากกว่านโยบายการเงิน

  • ทั้งนี้ เรามองว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังมีอยู่ โดยเฉพาะปัจจัยใหม่ อย่าง การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และ วิกฤติน้ำท่วมที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดต่อไป

  • การประชุมครั้งถัดไป: 10 พฤศจิกายน 2564

กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้ดี จากการเร่งแจกจ่ายวัคซีน และการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown

  • กนง. ประเมินว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้รับอานิสงส์จากการเร่งแจกจ่ายวัคซีนและการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ที่เร็วกว่าคาด ทำให้ ประมาณการเศรษฐกิจของ กนง. ใกล้เคียงกับประมาณการในการประชุมครั้งก่อน โดย กนง. มองว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 0.7% ในปีนี้ จากแรงหนุนการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภคตามการเร่งแจกจ่ายวัคซีนและผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ขณะที่การส่งออกจะขยายตัวชะลอลงกว่าคาดจากปัญหาด้าน Supply Chain ส่วนในปีหน้า กนง. มองเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและโต 3.9% หนุนโดยการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคและการท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ราว 6 ล้านคน ทั้งนี้ กนง. มองว่า มาตรการด้านการเงินยังคงมีประสิทธิภาพมากกว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ กนง. ยังคงเห็นควรให้คงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้

  • พร้อมกันนี้ กนง. ยังมองว่า มาตรการทางการคลังควรเร่งเยียวยาและพยุงเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ อีกทั้ง นโยบายภาครัฐต้องสอดประสานกับมาตรการทางการเงินและสินเชื่อที่จะต้องเร่งกระจายสภาพคล่องที่มีอยู่สูงในระบบให้เข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ทุกภาคส่วนทยอยฟื้นตัวได้

  • อย่างไรก็ดี กนง. มองว่า เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง โดยต้องติดตาม 1. สถานการณ์การระบาดและแนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown 2. ทิศทางการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นภาคเอกชน และ 3. แรงสนับสนุนจากมาตรการของภาครัฐ

เราคงมองว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 0.50% อย่างน้อย จนถึงปี 2024 หลัง กนง. ยังคงเน้นย้ำความสำคัญมาตรการด้านการเงินและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง มากกว่าการลดดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ

  • เราคงยืนยันมุมมองเดิมของเรา ว่า หากไม่เจอปัจจัยเสี่ยงรุนแรงจนเศรษฐกิจซบเซาหนัก กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยต่ำกว่า 0.50% นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พยายามพยุงเศรษฐกิจด้วยการเร่งแจกจ่ายสภาพคล่อง พร้อมช่วยบรรเทาภาระหนี้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุด ธปท. ได้เตรียมออกมาตรการรวมหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ อย่างไรก็ดี เราเห็นด้วยกับ กนง. ว่าเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง จากปัจจัยเสี่ยงเดิมอย่างปัญหาการระบาด และเรามองว่า เศรษฐกิจไทยอาจเผชิญความเสี่ยงใหม่ที่สำคัญ อย่าง ปัญหาหนี้ Evergrande ที่อาจลุกลามส่งผลกระทบวงกว้างจนฉุดการเติบโตเศรษฐกิจจีนได้ ทำให้ หากเศรษฐกิจจีนชะลอลง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยก็อาจสะดุดลงได้ และปัจจัยเสี่ยงล่าสุด อย่าง ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งต้องติดตามแนวโน้มความรุนแรงอย่างใกล้ชิด ว่าในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ประเทศไทยจะเผชิญพายุหนักขนาดไหน

  • ปัจจัยการประชุม กนง. Priced-In ไปมากแล้ว ควรจับตา ปัจจัยปริมาณประมูลบอนด์ในอนาคต ที่อาจส่งผลกระทบต่อบอนด์ยีลด์ โดย เรามองว่า บอนด์ยีลด์ระยะสั้น อาจขยับตัวขึ้นต่อได้เล็กน้อย หลัง กนง. คงดอกเบี้ยตามคาด ทั้งนี้ ทิศทางของบอนด์ยีลด์ระยะสั้น รวมถึงระยะยาว อาจต้องรอจับตาผลการประมูลบอนด์ในระยะถัดไป ว่าผู้เล่นในตลาดยังมีความต้องการสูงหรือไม่ เพราะ หากผลการประมูลสะท้อนว่าความต้องการมีน้อยกว่าคาด เราอาจเห็นบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้นได้อีก ส่วนบอนด์ยีลด์ระยะยาว อย่าง บอนด์ยีลด์ 10ปี ไทย อาจโดนผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ตามแนวโน้มการส่งสัญญาณลดคิวอีของเฟด ซึ่งเราคาดว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาวอาจแกว่งตัว Sideways ได้หลังเฟดประกาศลดคิวอีเป็นที่ชัดเจน

MPC Decision

MPC econ projections

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย