นักลงทุนจะตระหนักได้แล้วหรือไม่ว่าสมควรโดดออกจากตลาดหุ้นที่มีความเสี่ยง?
หรือนักลงทุนจะยิ่งเห็นว่านี่คือโอกาสการไปต่อของขาขึ้น?
สถานการณ์ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตอนนี้กลับตาลปัตรกันหมด ไม่มีอีกแล้วภาพจำที่ว่าหากเศรษฐกิจดี ตลาดหุ้นจะต้องวิ่งอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น เพราะเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว หลังจากที่เราได้เห็นตัวเลขการจ้างงานในเดือนสิงหาคมหดตัวมากที่สุดในรอบเจ็ดเดือนล่าสุด ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับขยับทำนิวไฮได้ ทั้งๆ ที่สัญญาณนี้ควรจะทำให้นักลงทุนเป็นกังวล แต่ไม่ พวกเขากลับเห็นเพียงแค่ว่าตัวเลขการจ้างงานนี้จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยิ้มออก และประกาศคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปโดยที่ไม่มีใครสามารถโต้เถียงด้วยตัวเองการจ้างงานฯ ได้เลย
ถึงแม้ว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะสามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้ แต่ก็เป็นการขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นักลงทุนบางกลุ่มก็ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าควรตามขาขึ้นต่อดีหรือไม่ ทั้งๆ ที่ตัวเลขการจ้างงานฯ ในเดือนสิงหาคมออกมาเพียง 235,000 ตำแหน่ง แม้แต่ตัวเลขคาดการณ์ยังประเมินเอาไว้ที่ 720,000 ตำแหน่ง
นักวิเคราะห์จากวอลล์ สตรีทเชื่อว่านักลงทุนบางกลุ่มเริ่มตั้งคำถามกับขาขึ้นที่ไม่สนความเป็นจริงครั้งนี้มากขึ้นเรื่อยๆ และท่ามกลางความสงสัยนี้ นักลงทุนบางคนจะเริ่มเลือกที่จะไปอยู่กับฝั่งขาลง ช่วยกันเทขายลงมาให้ตลาดได้ปรับฐาน ก่อนที่จะกลับเข้าไปช้อนซื้อใหม่อีกครั้ง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมดัชนีเอสแอนด์พี 500 ถึงจบตลาดการซื้อขายในวันศุกร์ด้วยการไม่ขยับไปไหนมากนัก ปรับตัวลดลงจากราคาเปิดเมื่อวันศุกร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เมื่อพิจารณาเข้าไปดูว่าหุ้นแต่ละกลุ่มบนดัชนีเอสแอนด์พี 500 เป็นเช่นไร เราก็จะเห็นรูปแบบการวิ่งเข้าหาความเชื่อมั่นเหมือนกับในสมัยขาขึ้นของปีที่แล้วที่พึ่งพาแต่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นมากที่สุด 0.4% ส่วนหุ้นกลุ่มอื่นที่เคยเป็นแกนนำก่อนหน้านี้ต่างพากันปิดติดลบทั้งสิ้น กลุ่มสาธารณูปโภค -0.8% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง -0.7% อุตสาหกรรม การเงินและพลังงานล้วนแต่ติดลบ 0.6%
เมื่อไปดูดัชนีทางด้านเทคโนโลยีโดยตรงอย่างแนสแด็กและแนสแด็ก 100 ความเป็นจริงในข้อสังเกตนี้ก็ยิ่งเด่นชัดขึ้น ดัชนีแนสแด็ก 100 สามารถปิดบวกได้ 0.4% ในขณะที่แนสแด็กปรับตัวปิดบวก 0.2% เป็นเพียงสองดัชนีเท่านั้นที่สามารถปิดตลาดซื้อขายเมื่อวันศุกร์เป็นขาขึ้นได้ นอกจากนี้เอสแอนด์พี ดัชนีอื่นๆ ต่างพากันปรับตัวลดลง รัสเซล 2000 ติดลบ 0.5% ส่วนดาวโจนส์ก็ไม่รอด ปิดตลาดติดลบ 0.2%
สิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดลงทุนสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่แล้วกำลังบอกอะไรกับนักลงทุน? สิ่งนี้กำลังบอกว่าถึงแม้หน้าฉากดูเหมือนว่าตลาดหุ้นอยากปรับตัวขึ้นต่อจากความเป็นไปได้ที่เฟดจะยืดระยะเวลาการลดวงเงิน QE ออกไป แต่ในความเป็นจริง นักลงทุนก็กำลังกลัวสัญญาณที่จะบ่งบอกว่าเศรษฐกิจอเมริกากำลังอ่อนแอ และตัวเลขการจ้างงานเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว คือคำตอบที่ชัดเจนที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเกิดการชะลอตัวเพราะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดเดลตา
อัตราผลตอบแทนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นมายืนเหนือ 1.30 แสดงให้เห็นว่านักลงทุนเทดอลลาร์สหรัฐทิ้ง และยอมหันไปถือสินทรัพย์เสี่ยงอื่นอย่างเช่นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมากกว่า
แม้ว่ากราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีจะปรับตัวขึ้นหลังจากทรางตัวเลขการจ้างงานฯ แต่เมื่อขึ้นไปทดสอบเส้น neckline กราฟกลับดีดตัวกลับลดลงมา
การเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หมายความว่าผู้คนกำลังเทสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐด้วย ทำให้กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ทำสถิติขาลงเป็นวันที่หกติดต่อกัน และเป็นขาลงวันที่สิบจากสิบเอ็ดวันล่าสุด
ขาลงในวันศุกร์ของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐทำให้ราคาสามารถกลับลงมาทดสอบเส้น neckline ได้เป็นครั้งที่สาม ในสัปดาห์นี้เราจะได้เห็นกันอีกครั้งว่าแนวรับนี้จะสามารถรั้งขาลงเอาไว้ได้หรือไม่
ตามธรรมเนียม เมื่อดอลลาร์อ่อน ทองคำก็ต้องขึ้น
ขาขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่แล้วเป็นการยืนยันว่ากรอบสามเหลี่ยมรูปธงระยะสั้นได้จบลงด้วยชัยชนะของฝั่งขาขึ้น ที่น่าสนใจก็คือขาขึ้นครั้งนี้ยังสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 100 และ 200 วันได้ด้วย ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของฝั่งขาขึ้น
แม้ว่าขาขึ้นของบิทคอยน์จะดูเฉื่อยชามาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายน แต่อย่างน้อยขาขึ้นในตอนนี้ก็ยังรักษามาตรฐานให้ตัวเองสามารถยืนเหนือระดับราคา $50,000
การหดตัวของตัวเลขการจ้างงานฯ ทำให้บิทคอยน์ได้อานิสงส์มาด้วยเล็กน้อย และทำให้กราฟทำจุดสูงสุดใหม่ที่สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการเกิดแท่งเทียนรูปแบบโดจิติดต่อกันเช่นนี้ไม่ใช่สัญญาณที่ดี เพราะนั่นหมายความว่าแนวโน้มเดิมที่ดำเนินมาก่อนหน้ากำลังอ่อนแรง ยิ่งนำอินดิเคเตอร์มาพิจารณาร่วม ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่ากราฟและอินดิเคเตอร์ กำลังวิ่งไปคนละทางกัน ถ้าในเร็ววันนี้บิทคอยน์จะถล่มลงมาเพื่อพักตัว ก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
น้ำมันดิบปิดตลาดด้วยการปรับตัวลดลงเล็กน้อย
ราคาน้ำมันดิบปรับตัดลดลงหลังจากขึ้นไปทดสอบเส้นเทรนด์ไลน์ด้านบนของกรอบราคาขาลง อย่างไรก็ตามช่วงนี้ขาขึ้นของตลาดน้ำมันดิบยังมีพายุเฮอริเคนไอดาเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์นี้ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
ตลาดหุ้นในสหรัฐฯ และแคนาดาปิดเนื่องในวันแรงงาน
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการก่อสร้าง: คาดว่าจะลดลงจากครั้งก่อน 58.7 เป็น 56.9 จุด
วันอังคาร
00:30 (ออสเตรเลีย) ผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงที่ 0.10%
05:00 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขบรรยากาศทางเศรษฐกิจจาก ZEW: คาดว่าจะลดลงจาก 40.4 เป็น 30.0 จุด
19:50 (ญี่ปุ่น) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่า MoM จะเพิ่มขึ้นจาก 0.3% เป็น 0.4% และ YoY เพิ่มขึ้นจาก 1.3% เป็น 1.6%
วันพุธ
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จาก JLOT: คาดว่าจะลดลงจาก 10.073M เป็น 9.281M
10:00 (แคนาดา) ผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงที่ 0.25%
10:00 (แคนาดา) ดัชนี PMI จาก IVEY: ตัวเลขในเดือนกรกฎาคมออกมาอยู่ที่ 56.4 จุด
วันพฤหัสบดี
07:45 (ยูโรโซน) การประชุมอัตราดอกเบี้ยและนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
08:30 (สหรัฐฯ) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 340K เป็น 335K
วันศุกร์
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงมายัง 0.50%
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะลดลงจาก 0.2% เป็น 0.1%
06:30 (รัสเซีย) ผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 6.50% เป็น 6.75%
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้ผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 1.0% เป็น 0.6%
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลขการจ้างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 94.0K เป็น 75.0K