เพียงไม่นานเราก็กำลังจะก้าวเข้าสู่เดือนที่ 9 ของปี 2021 กันแล้ว สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ นี่คือเดือนที่ต้องจับตามองมากที่สุดเดือนหนึ่ง เพราะตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา เดือนกันยายนได้ชื่อว่าเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักจะทำผลงานได้แย่ที่สุดในรอบปี และจากขาขึ้นที่นักลงทุนยังสนุกสนานกันอยู่นั้น จึงนำมาสู่คำถามที่ว่าดัชนีหลักทั้งสี่ไม่ว่าจะเป็นเอสแอนด์พี 500 แนสแด็ก ดาวโจนส์และรัสเซล 2000 จะยังรักษาขาขึ้นที่ทำสถิติจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลได้อยู่หรือไม่ เพราะนอกจากสถิติของเดือนกันยายนแล้ว ยังมีวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่นวดตลาดมาอย่างยาวนาน
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว แนวโน้มขาขึ้นยังสามารถคุมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ต่อ หลังจากที่ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แจ็คสัน โฮล ได้ข้อสรุปว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่อาจจะเริ่มส่งสัญญาณปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ภายในปีนี้ นี่คือคำพูดที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวลล์ประกาศออกมาด้วยตัวเอง ถึงแม้อาจจะฟังดูเป็นข่าวดีในระยะสั้น แต่ข่าวดีนี้กลับถูกรุมล้อมไปด้วยความเสี่ยงทั้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และสาธารณสุข
อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับตลาดหุ้น นั่นจึงทำให้ดัชนีหลักของสหรัฐฯ สามารถปรับตัวขึ้นได้ รัสเซล 2000 ปรับตัวขึ้นมากถึง 3% แม้แต่แนสแด็ก 100 ที่มักจะปรับตัวขึ้นเฉพาะยามเศรษฐกิจมีปัญหา ก็ยังประตัวขึ้นได้จนเกือบถึง 1% หุ้น 11 กลุ่มของดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ หุ้นกลุ่มพลังงานกระโดดขึ้นมา 2.7% ตามมาด้วยกลุ่มการเงินและวัสดุก่อสร้างตัวละ 1.3% กลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมปรับตัวขึ้น 1.6% เมื่อพิจารณาภาพรวมรายสัปดาห์จะเห็นว่ากลุ่มพลังงานทะยานขึ้น 7.5% การเงิน 3.5% วัสดุก่อสร้าง 2.6% อุตสาหกรรม 2.25% และผู้ให้บริการโทรคมนาคม 2.4%
อันที่จริงนักลงทุนหลายสำนักได้ประเมินมาตั้งแต่ก่อนการประชุมที่แจ็คสัน โฮลแล้วว่าครั้งนี้นายเจอโรม พาวเวลล์อาจจะยังเลือกที่คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเอาไว้ดังเดิม แม้กระทั่งระยะเวลาการทำ QE ที่ชัดเจน เฟดก็ยังไม่ยอมประกาศ ที่สำคัญประธานเฟดยังได้พูดด้วยว่า “ตัวเลขการจ้างงานยังสามารถเพิ่มขึ้นได้มากกว่านี้” นี่อาจจะเป็นการส่งสัญญาณบอกกับนักลงทุนทางอ้อมว่าถ้ารายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของเดือนสิงหาคมที่จะรายงานในวันศุกร์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น เราอาจจะได้เห็นการประกาศระยะเวลาลด QE ภายในการประชุม FOMC ของเดือนกันยายน
ถือเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับนักวิเคราะห์อย่างเราเหมือนกันที่ยังคงเห็นนักลงทุนกระโดดเข้าไปในตลาดหุ้น ทั้งๆ ที่รู้ดีว่าเวลาของพวกเขาเหลือน้อยเต็มทีแล้ว หากเฟดประกาศลด QE กลุ่มที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในตอนนี้อาจจะเป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ที่เดิมก็ปรับตัวขึ้นได้ช้ากว่ากลุ่มอื่นอยู่แล้ว ยังจะต้องมาเจอการปรับลด QE ซ้ำเข้าไปอีก ที่น่าตกใจก็คือเมื่อย้อนกลับไปดูตลาดหุ้นตั้งแต่จุดต่ำสุดในปี 2020 จะเห็นว่าดัชนีรัสเซล 2000 ปรับตัวขึ้นมาจากวันนั้นจนถึงวันนี้ 135% ในขณะที่แนสแด็ก 100 ปรับตัวขึ้นมา 128% ในช่วงเวลาเดียวกัน
แต่เมื่อไปพิจารณาที่กราฟ จะเห็นว่ารูปทรงขาขึ้นของแนสแด็ก 100 กลับทำได้อย่างมั่นใจมากกว่ารัสเซล 2000 จากรูปเปรียบเทียบลักษณะการวิ่งทั้งสองภาพด้านล่างจะเห็นว่าแนสแด็ก 100 หลุดกรอบไซด์เวย์ระยะสั้นขึ้นมาแล้ว ในขณะที่รัสเซล 2000 ยังเป็นขาขึ้นที่อยู่ในกรอบไซด์เวย์ขนาดใหญ่
ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีปรับตัวลดลง
แต่ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงหลังจากขึ้นมาชนแนวต้านที่บริเวณ neckline ในสัปดาห์นี้นักลงทุนต้องจับตาดูว่ากราฟจะสามารถปรับตัวขึ้นยืนเหนือเส้น neckline ได้หรือไม่
ข่าวดีของการประกาศจากเฟดส่งให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า เพราะนักลงทุนไม่ต้องการถือดอลลาร์สหรัฐในฐานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัยอีกต่อไป
จากรูปจะเห็นว่าดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวกลับลงไปอยู่ในกรอบสีเหลืองดังเดิม หลังจากวิ่งขึ้นมาในกรอบสีเขียวตั้งแต่เดือนมกราคม แสดงให้เห็นว่าแนวต้าน 93.40 จุดของรูปแบบ double-bottom ยังแข็งแกร่ง
เมื่อดอลลาร์อ่อนค่า แน่นอนว่าก็ต้องเป็นเวลาที่ทองคำจะปรับตัวขึ้น
การทะยานขึ้นยืนเหนือ $1,810 ของทองคำเมื่อวันศุกร์ที่แล้วทำให้ราคาทะลุกรอบขาลงขึ้นมา รวมไปถึงเส้นค่าเฉลี่ย 100 และ 200 วันด้วย อย่างไรก็ตามกราฟมีสิทธิ์ที่จะสร้างรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ขึ้นมาได้ในระยะสั้น ขึ้นอยู่กับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่จะประกาศในวันศุกร์นี้
ราชาสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์เริ่มทรงตัวหลังจากขึ้นมาทดสอบจุดสูงสุด $50,000 และไม่ได้มีปฏิกริยาอะไรกับผลการประชุมที่แจ็คสัน โฮล เหมือนกับว่าตอนนี้นักลงทุนยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรทำเช่นไรต่อไป
การไซด์เวย์ของบิทคอยน์ก่อให้เกิดกรอบรูปธงขนาดเล็ก แต่จากการหลุดกรอบออกมาแล้วจากในรูปจึงมีความเป็นไปได้ที่สัปดาห์นี้กรอบไซด์เวย์ดังกล่าวจะจบลง
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทดสอบจุดสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ สวนทางกับการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ เชื่อว่านักลงทุนฝั่งกระทิงจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นหลังจากกราฟขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันได้
หากว่ากราฟน้ำมันดิบสามารถขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันได้อย่างมั่นคง แนวต้านถัดไปของราคาน้ำมันจะอยู่ที่ $70 ต่อบาร์เรล หรือที่บริเวณกรอบขาลงด้านบนพอดี
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยที่รอการจำนอง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -1.9% เป็น 0.4%
21:00 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 50.4 เป็น 50.2 จุด
วันอังคาร
03:55 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -91K เป็น -34K
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 2.2% เป็น 2.8%
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -0.3% เป็น 0.7% MoM
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก CB: จะปรับตัวลเลงจาก 129.1 เป็น 124.0 จุด
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 1.8% เป็น 0.5% QoQ
21:45 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมหาลัยไซซิน: คาดว่าจะลดลงจาก 50.3 เป็น 50.2 จุด
วันพุธ
03:55 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 57.3 จุด
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 60.1 จุด
08:15 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชน ADP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจาก 330K เป็น 638K
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยจาก 59.5 จุดเป็น 58.5 จุด
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -2.979M เป็น -2.683M
วันพฤหัสบดี
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 353K เป็น 345K
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: ตัวเลขครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ -2.7%
วันศุกร์
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคบริการ: คาดว่าจะคงที่ 55.5 จุด
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะลดลงจาก 943K เป็น 728K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 5.4% เป็น 5.2%
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะลดลงจาก 64.1 จุดเป็น 61.8 จุด