ตั้งแต่ขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดในเดือนมกราคม กราฟคู่สกุลเงินยูโรเทียบดอลลาร์ก็ไม่เคยกลับขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดนั้นได้อีกเลย และในปัจจุบันกราฟ EURUSD ก็ยังวิ่งอยู่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดนั้น 5% โดยประมาณ สิ่งที่สกุลเงินยูโรกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้คือสถานะที่นักลงทุนต้องการจะมอบให้ ตอนนี้ยูโรควรจะถือได้ว่าเป็นสกุลเงินสำรองปลอดภัยหรือไม่ ในวันที่ภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคกำลังมีภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้น
สกุลเงินยูโรในตอนนี้เปรียบเสมือนไส้แซนวิชที่ถูกแผ่นขนมปัง (นักลงทุนจากสองฝั่ง) บีบอัด ในตอนที่เกิดสภาวะความไม่ชัดเจนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ นักลงทุนก็อยากให้สกุลเงินยูโรเป็นสินทรัพย์สำรองปลอดภัย แต่ในขณะเดียวกัน หากทำเช่นนั้นก็จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อตามมาด้วย เนื่องจากผู้คนให้ความสนใจถือสกุลเงินเป็นสินทรัพย์สำรองปลอดภัย แต่เมื่อหันไปดูดอลลาร์สหรัฐ ก็ดูเหมือนว่าสกุลเงินนี้ไม่ได้สนใจว่าใครจะตั้งให้อยู่ในฐานะอะไร เพราะท้ายที่สุดแล้ว ผู้คนก็จะกลับมาหาดอลลาร์อยู่ดี แต่ความเชื่อนี้จะอยู่ไปได้อีกนานแค่ไหน?
หากจะตอบคำถามนี้ ก็ต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับคุณถามใคร นักลงทุนพันธบัตรพันล้านของ DoubeLine Capital ให้ความเห็นว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลสหรัฐฯ แจกเงินเหมือนเป็นของแถม ถือเป็นการช่วยเศรษฐกิจจีนและเอเชียไปในรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากผู้บริโภคสหรัฐฯ ยังมีความต้องการใช้สินค้าจากจีน แต่หากมองในอีกด้านหนึ่ง การแจกเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ทำให้ดอลลาร์สหรัฐค่อยๆ ถูกลดสถานะของสกุลเงินสำรองอันดับหนึ่งของโลกลง ซึ่งเหตุผลนี้คือเหตุผลหลักว่าทำไมดอลลาร์ถึงสามารถแข็งค่าได้ทั้งๆ ที่เผชิญกับการระบาดเดลตาไม่ต่างจากพื้นที่อื่นๆ
ถึงแม้ว่าวิสัยทัศน์แบบนี้อาจจะเป็นเรื่องจริง แต่ก็ถือว่ายังเป็นมุมมองในระยะยาว ในระยะสั้นนักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์ ได้ออกมาฟันธงแล้วว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะประกาศลดวงเงินการซื้อพันธบัตร (หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ลด QE”) ในการประชุมใหญ่ที่แจ็คสัน โฮล ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 28 สิงหาคมตามเวลาท้่องถิ่นสหรัฐฯ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจทำเช่นนั้นจริง จะเหมือนเป็นการโยนความลำบากกลับไปให้กับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทันที เพราะก่อนหน้านี้ ECB พึ่งประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อ เพราะยังเห็นว่ามีธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นเพื่อน
หากพิจารณากราฟคู่สกุลเงิน EURUSD รายปี จะเห็นว่ากราฟพึ่งจบรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ที่สร้างมาอย่างยาวนาน ตัวกราฟได้ตัดผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 50 สัปดาห์ลงมาแล้ว ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์ก็กำลังจะตัดเส้น 100 สัปดาห์ลงมาด้วยเช่นกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 สัปดาห์สามารถตัดเส้น 200 สัปดาห์ลงมาได้ ตอนนั้นจะก่อให้เกิดสัญญาณที่บอกว่ากราฟได้เปลี่ยนแนวโน้มอย่างชัดเจน
อินดิเคเตอร์หลายตัวได้ส่งสัญญาณไดเวอเจนต์ (Divergence) ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวิ่งที่ไม่เหมือนกันระหว่างราคากับอินดิเคเตอร์ อันที่จริง กราฟได้ส่งสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ก่อนเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ในตอนที่เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นของอินดิเคเตอร์ MACD สามารถตัดเส้นระยะยาวลงมาได้ แต่ตัวกราฟกลับปรับตัวขึ้น สร้างจุดสูงสุดใหม่ อินดิเคเตอร์อย่าง RSI และ ROC เองก็สร้างกรอบราคาขาลงเช่นกัน ในขณะที่ราคากำลังปรับตัวขึ้น เท่ากับว่าอินดิเคเตอร์ทั้งสามได้ส่งสัญญาณเตือนถึงการมาของขาลงมาตั้งนานแล้ว
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง: จะรอจนกว่าราคาปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1.1600 และวิ่งกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้านที่พึ่งหลุดลงมา ซึ่งจะเป็นสัญญาณพิสูจน์ว่ากราฟพร้อมปรับตัวลดลงต่อ ตามการถือครองดอลลาร์สหรัฐที่มากขึ้น
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง: จะรอสัญญาณเช่นเดียวกับกลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยง แต่จะเข้าทันทีที่กราฟวิ่งกลับขึ้นมาทดสอบแนวรับที่พึ่งกลายเป็นแนวต้าน
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง: จะวางคำสั่งขายทันทีที่พร้อม ถึงแม้ว่านักลงทุนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่เข้าใจความเสี่ยงเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะปฏิบัติตามแผนการเทรดอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 1.1750
- Stop-Loss: 1.1800
- ความเสี่ยง: 50 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:1.1600
- ผลตอบแทน: 150 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3