ถึงสัปดาห์นี้ตลาดลงทุนสหรัฐฯ จะมีการรายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยและดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลให้จับตามอง แต่สิ่งที่ตลาดจะให้ความสำคัญจริงๆ คือการประชุมใหญ่ประจำปีที่แจ็คสัน โฮล ไวโอมิ่ง ตามธรรมเนียมทุกๆ ปีประธานเฟดใหญ่และเหล่าคณะกรรมการนโยบายทางการเงินทุกคนจะมาร่วมประชุมกันทุกปี แต่จากสถานการณ์โควิดทำให้การประชุมในช่วงปลายสัปดาห์นี้จะเป็นการประชุมออนไลน์
การประชุมครั้งนี้จะเป็นที่จับตามองของนักลงทุนทั่วโลก นักวิเคราะห์หลายสำนักประเมินว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนของตลาดการเงินอีกครั้ง อย่างเช่นการปรับเพดานเงินเฟ้อ 2% ในปีที่แล้วก็เกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ หากพวกเขาสรุปว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องปรับลดวงเงินการซื้อพันธบัตร พนันได้เลยว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะถูกเทขายอย่างรุนแรงแน่นอน (แม้ว่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม) กลับกัน หากเฟดยังยืนยันว่าให้คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป ตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้น และน้ำหนักของการลดวงเงินในการประชุม FOMC เดือนกันยายนก็จะน้อยลงตามไปด้วย
ทั้งๆ ที่รู้ว่าสัปดาห์นี้จะมีการประชุมใหญ่รออยู่ แต่ดูเหมือนว่านักลงทุนในตลาดยังกล้าที่จะรับความเสี่ยง ก่อนที่ตลาดลงทุนในวันศุกร์จะปิดตัวลง ดัชนีหลักทั้งสี่ของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเอสแอนด์พี 500 แนสแด็ก ดาวโจนส์และรัสเซล 2000 ยังสามารถทำราคาปิดที่ปรับตัวสูงขึ้นจากจุดเปิดของวันได้ ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจเอสแอนด์พี 500 ยังสามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่มีความเสี่ยงจากการระบาดโควิดสายพันธุ์เดลตา และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีโอกาสถูกตีกลับจากสภาเป็นปัจจัยเสี่ยงล้อมรอบ
อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการวิเคราะห์เชิงลึกของตลาดลงทุนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ข้อสังเกตว่าอาจจะกำลังมีการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มที่จะขึ้นมานำตลาดเกิดขึ้น ในวันศุกร์ที่แล้วตอนปิดตลาด หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคสามารถปรับตัวขึ้น 1.25% ตามหลังกลุ่มเทคโนโลยี 0.04%
แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมตลอดทั้งสัปดาห์ จะพบว่าดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง 0.6% โดยที่กลุ่มสาธารณูปโภคและกลุ่มเฮลท์แคร์ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น (ทั้งคู่ขึ้นเกิน 1.8%) ตามมาด้วยอันดับสามอย่างกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ + 0.6% แต่ถ้าเป็นภาพรายเดือนจะเห็นว่ากลุ่มที่เติบโตมากที่สุดคือกลุ่มสาธารณูปโภคคือตัวดันเอสแอนด์พี 500 ขึ้น 2.75% ในขณะที่หุ้นสายป้องกันทำขาขึ้น 6.75% และกลุ่มเฮลท์แคร์ 5.7%
กลายปรับตัวขึ้นครั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจก็คือตัวผลักดันขาขึ้นของตลาดหุ้นกลับเป็นหุ้นที่อยู่ในสายป้องกันความเสี่ยง ส่วนหนึ่งนักลงทุนเชื่อรายงานตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จากธนาคารโกลด์แมน แซคส์ ที่ลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตในไตรมาสที่ 3 ลงจาก 9% เป็น 5.5% ในขณะที่แบงก์ ออฟ อเมริกาเพิ่มเงินสำรองเข้าไปในธนาคารสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2020 รวมไปถึงหุ้นกลุ่มสายป้องกันด้วย
ทั้งๆ ที่เป็นเช่นนี้ ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ก็ยังวิ่งอยู่ในทรงขาขึ้นระยะกลาง...อย่างน้อยก็จนถึงตอนนี้
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราเริ่มเห็นสัญญาณความลังเลเกิดขึ้นในเทรนด์กระทิงของเอสแอนด์พี 500 แล้ว นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมมาจนถึงปัจจุบันจะเห็นว่าระยะสั้นๆ นี้เอสแอนด์พี 500 เริ่มวิ่งแบบไร้ทิศทาง แม้ว่าจะสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้บ้าง หากฝั่งขาลงอาศัยจังหวะที่ขาขึ้นเริ่มแตกความสามัคคี พาเอสแอนด์พี 500 ลงต่ำกว่า 4,370 จุด เราจะเริ่มได้เห็นการเปลี่ยนผู้คุมเกมบ้าง
นอกจากขาขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เริ่มส่งสัญญาณอิ่มตัวมากขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนค่อนข้างเป็นกังวลกับภาพรวมการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เพราะแม้แต่ตัวเลขผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนกรกฎาคมยังแสดงให้เห็นถึงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในแดนมังกร ด้วยการหดตัวลดลงเหลือ 6.4% เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ 7.8% และตัวเลขของเดือนมิถุนายน 8.3% นี่คือสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบและทองแดงปรับตัวลดลงเพราะได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
เพราะเช่นนี้ นักลงทุนบางส่วนถึงได้โยกเงินเข้าสู่สินทรัพย์ที่เชื่อว่ามีความปลอดภัยสูงมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นการที่กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปียังสามารถปรับตัวขึ้นได้ แสดงว่าสัดส่วนความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของนักลงทุนยังอยู่ในระดับที่พอๆ กัน แต่โดยภาพรวมแล้ว กราฟอัตราผลตอบแทนฯ อายุ 10 ปียังถือว่าอยู่ในขาลง
จากรูปจะเห็นว่ากราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ได้วิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลงมาตามกรอบสีแดงตั้งแตช่วงกลางเดือนมีนาคม ยิ่งการที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน ตัดเส้น 200 วันลงมาได้ และกราฟไม่เคยปรับตัวกลับขึ้นไปได้เลยสักครั้ง แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มขาลงจะยังเป็นผู้คุมเทรนด์ต่อไป
อีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่เป็นตัวบอกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังปรับขึ้นในฐานะสถานที่เก็บเงินสำรอง ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจเติบโตคือขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐที่สามารถขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดในรอบ 9 เดือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถขึ้นยืนเหนือจุดสูงสุดในวันที่ 31 มีนาคมได้เรียบร้อย ยืนยันการเกิดขึ้นของรูปแบบ double-bottom อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามนักลงทุนอาจจะยังต้องระวังการทะลุแนวต้านหลอก อีกสักระยะ
ทองคำทำได้เพียงรักษาระดับราคาตัวเองให้สามารถยืนเหนือ $1,780 ให้ได้ ในวันที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะเห็นว่าราคาทองคำได้ขึ้นมาเจอแนวต้านที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน หลังจากที่เส้นดังกล่าวตัดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันลงมา ถือเป็นการยืนยันว่าแนวโน้มขาลงยังแข็งแกร่ง
บิทคอยน์ถือเป็นหนึ่งในตลาดที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุดในสัปดาห์ที่แล้ว เพราะบิทคอยน์กำลังพยายามที่จะขึ้นยืนเหนือแนวต้าน $50,000 ให้ได้เป็นครั้งแรกนับจากขาลงอย่างรุนแรงในช่วงกลางเดือนเมษายน
แท่งเทียนโดจิที่ปรากฎเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าแรงส่งขาขึ้นเริ่มขาดแรงสนับสนุน ท่ามกลางความสงสัยว่าขาขึ้นรอบนี้จะเป็นของจริงหรือไม่ ในสภาวะเช่นนี้เปิดโอกาสให้แรงฝั่งขาลงสามารถกดราคาบิทคอยน์ให้ปรับตัวกลับลงมาอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมลู่ลงอีกครั้ง อย่างไรก็ตามกราฟบิทคอยน์ยังมีแนวรับอยู่ที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน
สุดท้าย ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลของนักลงทุนต่อความต้องการน้ำมันในตลาดโลก นี่คือช่วงขาลงที่ยาวนานที่สุดในรอบเก้าเดือน และยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลงในเร็ววันนี้
ขาลงของราคาน้ำมันดิบ WTI เมื่อวันพฤหัสบดีทำให้รูปแบบสามเหลี่ยมลู่ลงเสร็จสมบูรณ์ ตอนนี้แนวรับสุดท้ายที่เป็นความหวังของฝั่งขาขึ้นคือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน และอินดิเคเตอร์ RSI ที่อยู่ในระดับ oversold แม้จะเป็นความหวังเล็กๆ แต่ขาขึ้นก็หวังว่าราคาจะสามารถกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้าน $65-66 ต่อบาร์เรลได้
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
03:30 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 65.9 จุดเป็น 65.0 จุด
04:40 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต:คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 60.4 จุดเป็น 59.5 จุด
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง: คาดว่าจะลดลงจาก 5.86M เป็น 5.81M
วันอังคาร
02:00 (เยอรมัน) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะคงที่ 1.5% YoY
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 676K เป็น 690K
วันพุธ
04:00 (เยอรมัน) ดัชนีวัดบรรยากาศทางธุรกิจจากสถาบัน Ifo: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 100.8 เป็น 100.4 จุด
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน: คาดว่าจะคงที่ 0.5%
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -3.234M เป็น -1.055M
วันพฤหัสบดี
07:30 (ยูโรโซน) การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 348K เป็น 350K
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะหดตัวลดลงจาก -1.8% เป็น -2.9% MoM
วันศุกร์
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน: MoM จะลดลงจาก 0.4% เป็น 0.3% แบบ YoY จะเพิ่มขึ้นจาก 3.5% เป็น 3.6%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการบริโภคส่วนบุคคล: คาดว่าจะลดลงจาก 1.0% เป็น 0.3%