รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

2 กองทุน ETF ที่มีโอกาสเติบโตในช่วงเวลาเฟดจะคงดอกเบี้ยระดับต่ำไปอีกนาน

เผยแพร่ 04/08/2564 10:30
อัพเดท 02/09/2563 13:05

เดือนกรกฏาคมที่ผ่านมาถือเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่สามารถเอาชนะตัวเลขคาดการณ์ไปได้ กำไรของบริษัทเหล่านี้ยังคงเติบโตต่อไปท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ถูกกดดันด้วยภาวะเงินเฟ้อ หนึ่งในไฮไลท์สำคัญประจำเดือนกรกฎาคมคือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 กรกฎาคม ซึ่งผลที่ออกมาก็เป็นไปตามที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์คือคงนโยบายการเงินและดอกเบี้ยเอาไว้ดังเดิม 

แต่สิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจกลับไม่ใช่นโยบายการเงิน แต่เป็นถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวลล์ ที่ได้ออกมาบอกว่าเศรษฐกิจอเมริกามีการฟื้นตัวอย่างเป็นรูปธรรม และเขายังยืนยันคำเดิมว่าเงินเฟ้อที่กำลังเผชิญอยู่เป็นเพียงผลกระทบชั่วคราวจากนโยบายทางการเงิน นอกจากนี้ประธานเฟดยังคงย้ำชัดว่าจะไม่มีนโยบายใดๆ เพิ่มเติมหรือลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรจนกว่าตลาดแรงงานจะฟื้นตัวกลับมาเป็นไปตามเป้าของเฟด และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการระบาดของโควิดมากนัก

ท่าทีของเฟดเช่นนี้ถือว่าเข้าทางนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ยังต้องการให้ตลาดปรับตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ราวกับว่าปาร์ตี้จะไม่มีวันเลิกรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มเติบโตในระยะยาว ดังนั้นเราจึงได้มาแนะนำ 2 กองทุน ETF ที่เน้นหุ้นกลุ่มเติบโตเป็นหลัก

1. Direxion NASDAQ-100 Equal Weighted Index Shares ETF

ระดับราคาปัจจุบัน: $85.01
กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $61.09 - $85.25
เปอร์เซ็นต์การปันผล: 0.45%
อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.35% ต่อปี

กองทุน ETF ที่มีชื่อว่า Direxion NASDAQ-100 Equal Weighted Index Shares (NYSE:QQQE) เป็นกองทุนที่เน้นหุ้นที่อยู่บนดัชนีแนสแด็ก 100 เป็นหลัก กองทุนนี้เริ่มต้นเปิดให้ลงทุนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นออกเป็นสามกลุ่มหลักๆ ได้แก่เทคโนโลยี 41.35% ผู้ให้บริการโทรคมนาคม 12.99% และสินค้าฟุ่มเฟือย 15.06% หุ้นสิบอันดับที่มีมูลค่าสูงสุดในกองทุนคิดเป็น 52% ของสินทรัพย์ทั้งหมดซึ่งมีอยู่เกือบ $405 ล้านเหรียญสหรัฐQQQE Weekly

ปัจจุบัน QQQE ถือครองหุ้นรวมแล้วทั้งสิ้น 100 ตัว อ้างอิงราคามาจากดัชนี NASDAQ 100 Equal Weighted Index มีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักอยู่ที่ 1% ซึ่งหุ้นส่วนใหญ่เราต่างก็รู้จักเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Apple (NASDAQ:AAPL) Microsoft (NASDAQ:MSFT) Amazon (NASDAQ:AMZN) คิดเป็นสัดส่วนน้ำหนักเป็น 10% 9.82% และ 8.35% ตามลำดับ

การอ้างอิงราคาตามดัชนี NASDAQ 100 Equal Weighted Index มีข้อดีตรงที่เราสามารถลงทุนในบริษัทแอปเปิล ไมโครซอฟต์ และอะเมซอน ด้วยความเสี่ยงที่ลดลง เพราะไม่ว่าอย่างไรก็มีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักอยู่ที่ 1% เทียบกับการลงทุนในหุ้นของทั้งสามบริษัทโดยตรงบนดัชนีแนสแด็ก 100 ที่มีโอกาสผันผวนมากกว่าตามราคาของหุ้นทั้งสามตัว

จากการที่หุ้นเทคโนโลยีสามารถทำผลงานขาขึ้นได้อย่างโดดเด่นมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และการที่ QQQE พึ่งจะทำจุดสูงสุดตลอดกาลใหม่ ทำให้ตลอดทั้งปี ราคากองทุน QQQE ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 13.2% เทียบกับขาขึ้น 16.2% ของกองทุน Invesco QQQ Trust (NASDAQ:QQQ) ที่อ้างอิงราคาจากแนสแด็ก 100 เหมือนกัน 

นักลงทุนที่ต้องการถือครองหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีชื่อดัง แต่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงโดยตรง สามารถพิจารณาซื้อกองทุน QQQE เอาไว้ได้ ด้วยการถ่วงน้ำหนักเฉลี่ย 1% ทำให้กองทุนตัวนี้ลดความเสี่ยงระยะสั้นที่มักเกิดกับหุ้นสายเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขาลง

2. iShares Russell Mid-Cap Growth ETF

ระดับราคาปัจจุบัน: $114.25
กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $81.44 - $115.53
เปอร์เซ็นต์การปันผล: 0.34%
อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.23% ต่อปี

กองทุน ETF นาม iShares Russell Mid-Cap Growth (NYSE:IWP) เป็นกองทุนที่ลงทุนในบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ที่ประเมินแล้วว่ามีโอกาสทำกำไรเติบโตได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของความสามารถในการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐฯ  IWP Weekly

กองทุนนี้เริ่มต้นเทรดในเดือนกรกฎาคมปี 2001 มีมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดอยู่ที่ $16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อ้างอิงราคามาจากดัชนี Russell Mid-Cap Growth Index ถือครองหุ้นอยู่ทั้งสิ้น 387 ตัว หากพิจารณาเป็นสัดส่วนของกลุ่มหุ้นที่ถือครองแล้ว จะพบว่าแบ่งออกเป็นกลุ่มเทคโนโลยีสำหรับการให้ข้อมูล 34.05% เฮลท์แคร์ 17.59% สินค้าฟุ่มเฟือย 16.11% 

หุ้นสิบอันดับแรกที่กองทุนถือครองคิดเป็นสัดส่วน 11% หลายบริษัทจดทะเบียนที่กองทุนนี้เลือกถือครองมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามตลาดประมาณ $60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทชื่อดังที่ IWP ถือครองได้แก่ DocuSign (NASDAQ:DOCU) Roku (NASDAQ:ROKU) Chipotle Mexican Grill (NYSE:CMG) และ Veeva Systems (NYSE:VEEV)

ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นของกองทุน IWP ปรับตัวขึ้นมาแล้วมากกว่า 11% และในปีที่แล้วสามารถวิ่งขึ้นมาได้ 35% ทำจุดสูงสุดตลอดกาลไปเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ถามว่าใครเหมาะกับกองทุนนี้? ส่วนตัวเรามองว่านี้คือกองทุนกระจายความเสี่ยง ที่เหมาะกับคนที่ถือครองหุ้นของบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่อยู่แล้ว

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย