💎 เปิดเผยหุ้นราคาถูกที่ซ่อนอยู่ในตลาดเริ่มต้นเลย

ลุ้น ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ และ ติดตามการระบาด COVID-19 ในไทย

เผยแพร่ 28/06/2564 07:52
USD/THB
-

 

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจหลายประเทศจะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ได้ทำให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายตามเดิม

  • ติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) รวมถึงถ้อยแถลงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน และ สถานการณ์การระบาด COVID-19 รอบโลก

  • โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ยังมีอยู่ และพร้อมแข็งค่าขึ้น หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าคาดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างออกมาสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น นอกจากนี้ ต้องจับตาการระบาดของ COVID-19 เพราะการระบาดที่เลวร้ายลงในยุโรปหรือเอเชีย จะเป็นปัจจัยหนุนเงินดอลลาร์ ขณะเดียวกัน ปัญหาการระบาดในไทย ก็จะยิ่งกระตุ้นแรงขายสุทธิสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ กดดันให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงได้ โดยแนวต้านสำคัญของเงินบาทยังอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    31.60-32.10
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรม โดย ISM (Manufacturing PMI) ที่ระดับ 61 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึงการขยายตัว) ขณะเดียวกันตลาดแรงงานก็ฟื้นตัวดีขึ้น โดยยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) จะลดลง สู่ระดับ 3.8 แสนราย ส่วนยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนมิถุนายน ก็จะเพิ่มขึ้นกว่า 7 แสนตำแหน่ง และทำให้ อัตราว่างงานในสหรัฐฯ ลดลงเหลือ 5.7% หนุนโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาคึกคักมากขึ้น หลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และการทยอยยุติเงินช่วยเหลือผู้ตกงานเพิ่มเติมในหลายรัฐ ทั้งนี้ ภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นยังได้หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย Conference Board (Consumer Confidence) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 119 จุด ชี้ว่าการบริโภคครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ตลาดจะติดตาม มุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดถึง 4 ท่าน อาทิ Williams, Barkin (วันจันทร์) Quarles (วันอังคาร) และ Bostic (วันพุธ)

  • ฝั่งยุโรป – แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปยังสดใส หลังการแจกจ่ายวัคซีนคืบหน้ามากขึ้น (ครอบคลุมประชากรเกือบ 40% และ อาจใช้เวลา 3 เดือน เพื่อครอบคลุมประชากร 75%) หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนมิถุนายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -1.0 จุด สะท้อนว่าการบริโภคของครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกของเยอรมนี (Retail Sales) เดือนพฤษภาคม ก็จะขยายตัวกว่า 4.6% จากเดือนก่อนหน้า หลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาคึกคักมากขึ้นจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown

  • ฝั่งเอเชีย – เศรษฐกิจในฝั่งเอเชียโดยรวมยังเดินหน้าฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในฝั่งญี่ปุ่น ที่เศรษฐกิจได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี (ยอดการส่งออกเดือนพฤษภาคมโตเกือบ 50%y/y) ซึ่งการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีนั้นจะช่วยหนุนการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการผลิตอุตสาหกรรม สะท้อนผ่าน ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือนพฤษภาคม ที่จะโตขึ้นกว่า 18%y/y และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ Tankan โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ของฝั่งผู้ผลิตขนาดใหญ่ก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 16 จุด จาก 5 จุด (ดัชนี > 0 หมายถึง แนวโน้มดีขึ้น) ทั้งนี้ ตลาดจะจับตายอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคมว่าจะขยายตัวได้กว่า 8%y/y หรือไม่ หลังรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการ Lockdown บางส่วน ส่วนในฝั่งเวียดนาม ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่จะกดดันให้ เศรษฐกิจเวียดนามชะลอตัวลงได้ในระยะสั้น โดยเฉพาะภาคการผลิตและการส่งออก ซึ่งตลาดมองว่าจะได้รับผลกระทบจากคลัสเตอร์การระบาดตามนิคมอุตสาหกรรมหรือโรงงาน โดยยอดการส่งออกอาจโต 26%y/y ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่โต 36%y/y ส่วนยอดผลผลิตอุตสาหกรรมก็อาจโตเพียง 9%y/y ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามยังสามารถขยายตัวกว่า 7%y/y ในไตรมาส 2 ส่วนในฝั่งจีน เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ (Mfg. & Services PMIs) ยังอยู่ที่ระดับ 50.8 จุด และ 55.3 จุด ตามลำดับ (ดัชนี > 0 หมายถึงภาวะขยายตัว)

  • ฝั่งไทย – ปัญหาการระบาดของ COVID-19 และแผนการแจกจ่ายวัคซีนยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ควรติดตามการปรับพอร์ตลงทุนบอนด์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่ทาง J.P. Morgan ได้ปรับสัดส่วนบอนด์ ในดัชนี Government Bond Index – Emerging Markets (GBI-EM) โดยเพิ่มบอนด์ Serbia เข้าพอร์ต ทำให้สัดส่วนบอนด์ไทยลดลงราว 0.13% ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนตามดัชนี GBI-EM อาจเทขายบอนด์ไทยราว 1 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับดัชนีได้ (สัปดาห์ก่อน นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายบอนด์ไทยสุทธิราว 4.3 พันล้านบาท ซึ่งอาจมองได้ว่า นักลงทุนต่างชาติอาจขายบอนด์ได้อีก 5.7 พันล้านบาท )

Week ahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย