รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า เผย 3 ปัจจัยกดดันราคาทองคำ

เผยแพร่ 14/06/2564 09:48
อัพเดท 09/07/2566 17:32

สรุป ราคาทองคําวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 21.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจาก

(1.) การแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์ หลังการเปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐ จากม.มิชิแกนที่ดีดตัวขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 86.4 ในเดือนมิ.ย.

(2.) การอ่อนค่าของสกุลเงินยูโร หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ย และ “คง” วงเงินของโครงการซื้อสินทรัพย์ พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจ แต่ระบุว่าจะเข้าซื้อสินทรัพย์ตามโครงการ PEPP เพิ่มเติมในไตรมาสหน้า “ในอัตราที่สูงกว่าไตรมาสแรกอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งสัญญาณการเดินหน้านโยบาย การเงินแบบผ่อนคลายของ ECB เป็นปัจจัยกดดันยูโร และ

(3.) การอ่อนค่าของเงินปอนด์ หลังอังกฤษกําลังเผชิญกับการระบาดของ COMID-19 สายพันธุ์เดลต้า(อินเดีย) โดยคิดเป็น 90% ของ ยอดผู้เชื้อรายใหม่ ขณะที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ได้ออกมาแสดง “ความกังวลอย่างมาก” เกี่ยวกับการติดเชื้อ coWID-19 สายพันธุ์เดลด้า ตอกย้ําแนวโน้มที่อังกฤษอาจตัดสินใจ “ซะลอ” การยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ขั้นสุดท้ายจากแผนการเดิมที่เคยกําหนดไว้ในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ออกไปอีก 1 เดือน สถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความวิตกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษ อาจล่าช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนดัชนีดอลลาร์ให้ปิดตลาดแข็งค่าขึ้น 0.57% ในวันศุกร์ และปิดตลาดในรายสัปดาห์ด้วยการแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นปัจจัย สําคัญที่กดดันให้ราคาทองคําดิ่งลงเกือบ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับสูงสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,902.83 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สู่ระดับต่ําสุดบริเวณ 1,874.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคําไม่เปลี่ยนแปลง สําหรับวันนี้ไม่มีกําหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ

วันนี้ราคายังคงสร้างระดับตํ่าสุดใหม่จากสัปดาห์ก่อนหน้า ระยะสั้นหากมีแรงดีดกลับประเมิน แนวต้านระดับ 1,874-1,879 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ อาจจะเกิดแรงขายสลับออกมาเพิ่ม ทั้งนี้ประเมินแนวรับโซน 1,857-1,843 ดอลลาร์ต่อออนซ์

คําแนะนํา ราคาอยู่ในช่วงการพักฐาน โดยเน้นการซื้อ ขายทํากําไรระยะสั้น หากราคาไม่สามารถยืนเหนือโซน แนวต้านบริเวณ 1,874-1,879 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ทําให้ ราคายังคงมีโอกาสขยับลงทดสอบแนวรับบริเวณ 1,8571,843 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย