เป็นที่ทราบกันดีว่าตลาดน้ำมันดิบนั้นขับเคลื่อนด้วยปัจจัยจากอุปสงค์และอุปทานในตลาดเป็นสำคัญ หากความต้องการน้ำมันมีมากกว่าปริมาณน้ำมันที่มีอยู่ ราคาน้ำมันย่อมที่จะต้องปรับตัวสูงขึ้น คำถามคือแล้วถ้าปัจจัยพื้นฐานทั้งภาพใหญ่และเล็กต่างก็สนับสนุนขาขึ้นในตลาด แบบนี้ราคาน้ำมันก็สมควรที่จะต้องปรับตัวขึ้นใช่หรือไม่?
ประเด็นหลักๆ ที่สนับสนุนขาขึ้นของตลาดน้ำมันดิบ WTI ในสัปดาห์นี้มีสองเรื่องด้วยกัน อย่างแรกคือการกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 ของสหรัฐอเมริกาที่ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจอเมริกาอาจกลับมาเป็นปกติได้อย่างเร็วที่สุดคือสิ้นไตรมาสที่สอง การกระจายวัคซีนต้านโควิดของไบเดนอย่างมีแบบแผนและนโยบายอัดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ สร้างจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์อยู่เรื่อยๆ
ประการที่สองคือรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจาก API ที่ประกาศออกมาเมื่อวันอังคารระบุว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลง หมายความว่ามีการใช้งานน้ำมันมากขึ้น เรื่องนี้คือสาเหตุที่หนุนราคาน้ำมันให้ปรับตัวขึ้นมาสองวันติดต่อกัน
แต่เมื่อพิจารณาตลาดน้ำมัน WTI ด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้วพบว่าภาพรวมขาขึ้นของ WTI นั้นยังอ่อนแอ และยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงต่อด้วยซ้ำ เกิดอะไรขึ้นกับพฤติกรรมราคาน้ำมันดิบ WTI กันแน่?
กราฟน้ำมันดิบ WTI ได้วิ่งหลุดกรอบขาขึ้นออกมาในช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม จากนั้นได้แยกออกมาสร้างกรอบราคาขาลงของตัวเองก่อนที่จะพัฒนามาเป็นการวิ่งในกรอบรูปธงขาขึ้น ถ้าหาก WTI ยังหลุดกรอบนี้ลงอีก วิเคราะห์ได้อย่างเดียวเลยว่านี่คือสัญญาณการปรับตัวลดลงต่อ
การพักฐานเป้นรูปแบบธงครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นวันที่สามติดต่อกันแล้ว สังเกตว่านี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ราคาได้ปรับฐานอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน แต่หากจะให้เชื่อว่านี่จะเป็นการเกิดขึ้นของขาลงครั้งใหม่ แท่งที่จะหลุดออกจากกรอบรูปธงนี้ควรจะเป็นแท่งเทียนขาลงขนาดใหญ่ แท่งเดียวจบชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยงในการทะลุลงหลอก หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นจริง จะเป็นการยืนยันการสร้างบริเวณไหล่ขวาของรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ที่สมบูรณ์อีกด้วย
ยิ่งมาพิจารณาอินดิเคเตอร์จะยิ่งเห็นสัญญาณขาลงที่ชัดเจน อินดิเคเตอร์ RSI ได้ทำ ‘ไดเวอร์เจนต์ (Divergence)’ กับราคาน้ำมันมาตั้งแต่ช่วงของการขึ้นไปสร้างส่วนหัวของราคาน้ำมันดิบแล้ว เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นในอินดิเคเตอร์ MACD ก็ได้ตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวเป็นสัญญาณขาลงมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม
แม้ปัจจัยทุกอย่างจะบ่งชี้ไปในทิศทางขาลง แต่สิ่งที่จะยืนยันขาลงว่าเกิดขึ้นจริงได้ดีที่สุดคือการเกิดแท่งเทียนสีแดงยาวหลุดออกมาจากกรอบพักฐานรูปธง ก่อนจะถึงตอนนั้นให้วิเคราะห์ว่าเป็นเพียงความเป็นไปได้หนึ่งเอาไว้ก่อน อย่าพึ่งลงมือ
กลยุทธ์การเทรด (สำหรับขาลง)
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอให้เกิดแท่งเทียนขาลงยาวก่อนหนึ่งแท่งและต้องสามารถทำจุดปิดต่ำกว่าจุดต่ำสุดของวันที่ 24 มีนาคมได้ จากนั้นจะรอราคาให้ลงไปยังเส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน ก่อนดีดกลับขึ้นมา แล้วจึงหาจุดวางคำสั่งขาย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอสัญญาณทะลุจุดต่ำสุดของวันที่ 24 มีนาคมเช่นเดียวกัน แต่จังหวะที่ดีดกลับขึ้นมาจะไม่รอให้เกิดแท่งเทียนยืนยันขาลง
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายทันทีที่มีโอกาส นักลงทุนกลุ่มนี้ยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเจอขาลงหลอกได้เมื่อเทียบกับจุดเข้าที่ดีกว่า
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: $60
- Stop-Loss: $61
- ความเสี่ยง: $1
- เป้าหมายในการทำกำไร:$55
- ผลตอบแทน: $5
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:5