1. การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐ
2. ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจของยูโรโซนยังแข็งแกร่ง
ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาดการณ์ก็มีส่วนช่วยให้ยูโรแข็งค่าขึ้น ตัวเลขการว่างงานที่ลดลงอย่างน่าประหลาดใจของเยอรมันช่วยให้อัตราการว่างงานที่มาพร้อมกับการรายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนปรับตัวขึ้น ชดเชยอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้จะมีข่าวลือหนาหูว่าในการประชุมของธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) สัปดาห์หน้าจะต้องมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่อย่างแน่นอนแต่นักลงทุนก็ได้ทำใจรอความเคลื่อนไหวดังกล่าวเอาไว้แล้ว ดังนั้นต่อให้ ECB อัดฉีดเงินเข้าระบบจนทำให้ยูโรอ่อนค่าลง ก็ไม่น่าจะทำให้นักลงทุนตกใจได้จนถึงขนาดเทยูโรทิ้ง
3. การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในยุโรปชะลอตัว
ในตอนนี้ดูเหมือนว่ามาตรการล็อกดาวน์จริงจังของยุโรปเริ่มจะมีการผ่อนปรนบ้างแล้วเมื่อเห็นสัญญาณการชะลอตัวของการแพร่ระบาด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในฝรั่งเศสลดลงเหลือ 4,005 คนต่อวันเมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเดิมที่เคยทำเอาไว้ที่ 86,000 คนในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ในสเปนมีตัวเลขเหลือ 10,000 คนนิดๆ เมื่อเทียบกับ 25,000 คนในวันที่ 30 ตุลาคม รายงานจากประเทศอิตาลีล่าสุดเมื่อวันจันทร์เช่นกันมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 16,370 คน ลดลงจาก 40,902 คนในวันที่ 13 พฤศจิกายน ถึงจะยังมีความผันผวนขึ้นๆ ลงๆ ของตัวเลขอยู่บ้างแต่ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐอเมริกา
4. ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น
5. การเจาะแนวต้านของ EURUSD ตามหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค
หากจะพูดกันในเชิงของการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้ว แนวต้าน 1.20 ถือเป็นหน้าด่านที่สำคัญยิ่งของกราฟ EURUSD สังเกตดูได้จากความเร็วของขาขึ้นที่ได้เห็นเมือ 1.20 ถูกเจาะขึ้นไปได้ภายในเวลาไม่ถึงนาที หมายความว่ามีคำสั่งซื้อถูกวางเอาไว้เหนือ 1.20 เป็นจำนวนมาก กราฟ EURUSD ก็กระโดดขึ้นมากกว่า 20 จุดภายในเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง มีราคาซื้อขายสูงขึ้นกว่าเดิม 50 จุด สำหรับตอนนี้ แนวต้านถัดไปของกราฟ EURUSD จะอยู่ที่ 1.2093 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเดือนกันยายนปี 2017