นายสตีเว่น โรช อดีตประธานมอร์แกน สแตนลีย์แห่งภูมิภาคเอเชียและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เคยกล่าวเตือนเอาไว้ว่า
“สถานการณ์โลกในตอนนี้เป็นใจให้ดอลลาร์สหรัฐสามารถอ่อนมูลค่าได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปีนับจากนี้”
อันที่จริงหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์คนนี้เคยพูดถึงเรื่องนี้หลายต่อหลายครั้งและเราก็ได้นำคำพูดของเขามานำเสนอตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน หลังจากนั้นเราก็ได้เขียนบทความที่เกี่ยวกับกราฟดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง 4 จาก 5 บทความเป็นขาลงของดอลลาร์สหรัฐหมด และบทความนี้ซึ่งกำลังจะกลายเป็นบทความที่ 6 ที่ผมจะเขียนอธิบายว่าทำไมกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมูลค่าของสกุลเงินนี้ถึงมีโอกาสปรับตัวลงต่อมากกว่าขึ้น
บทความเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมคือบทความล่าสุดที่เราเขียนถึงสกุลเงินดอลลาร์ ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่กราฟดอลลาร์สหรัฐสามารถวิ่งขึ้นมาได้จากรูปแบบการกลับตัว อย่างไรก็ตามเมื่อกราฟพยายามที่จะสร้างจุดสูงสุดใหม่ก็ไม่สามารถทำได้จนนำมาสู่ความเป็นไปได้ที่กำลังจะมุ่งหน้าลงต่อกลับเข้าสู่แนวโน้มเดิมอีกครั้ง
จากรูปจะเห็นว่ามีรูปแบบหัวไหล่ขาขึ้น (Inverted Head & Shoulder) ที่เป็นจุดต่ำสุดล่าสุด (ตัวหนังสือสีดำเข้ม) ซึ่งแสดงถึงความพยายามที่จะฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าหลังจากเฟดประกาศอัดฉีดเงินเพื่อช่วยอุ้มสหรัฐอเมริกาจากปัญหาโควิด แม้การอัดฉีดเงินครั้งนั้นจะทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ล้มมาจนถึงปัจจุบันแต่ก็แลกมาด้วยขาลงของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ร่วงลงมาจาก 100 กว่าๆ ลงมายังระดับราคาประมาณ 92 แล้วไม่เคยกลับขึ้นไปยังเกือบร้อยได้อีกเลย
ก่อนหน้านี้เราเคยเตือนแล้วว่าขาขึ้นจากหัวไหล่ตรงนี้จะถูกพิจารณาเป็นเพียงการย่อของราคาขาลงเท่านั้นเพราะปัจจัยโดยรอบไม่มีอะไรหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถแข็งแกร่งขึ้นได้เลย ดังนั้นจึงเป็นการยากมากที่ขาขึ้นครั้งนี้จะสามารถสวนกระแสหลักขึ้นมาได้ ไม่ใช่ว่ากราฟดอลลาร์ไม่เคยพยายามที่จะปรับตัวขึ้นต่อเลย กราฟได้พยายามมาถึงสองครั้งแล้วแต่ขาขึ้นทั้งสองกลับไม่สามารถเอาชนะสุดสูงสุดซึ่งเป็นยอดของกรอบราคาขาลงได้ จนกระทั่งล่าสุดกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐก็กลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้งเมื่อสามารถหลุดจุดต่ำสุดล่าสุดเมื่อวันอังคารลงมาได้
ขาลงเมื่อวานนี้ไม่เพียงแต่เจาะแนวรับได้ แต่การเจาะแนวรับที่ 93 ลงมาแสดงให้เห็นว่าขาลงพร้อมเดินเกมลงต่อและยิ่งทำให้โอกาสที่รูปแบบหัวไหล่ขาขึ้นก่อนหน้านี้จะล้มเหลวมีเพิ่มสูงขึ้น การกลับลงมายังจุดต่ำสุดที่บริเวณ 92 ได้เมื่อไหร่จะเป็นการยืนยันความพ่ายแพ้ของขาขึ้นโดยสิ้นเชิง
หลังจากที่ฝั่งขาขึ้นไม่ประสบความสำเร็จในการดันราคากลับขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 100 DMA ได้ ราคาก็ร่วงกลับลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 DMA ซึ่งสร้างความยุ่งยากให้กับฝั่งขาขึ้นเข้าไปอีก นอกจากนี้หากพิจารณาอินดิเคเตอร์ MACD แล้วจะพบว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นไม่สามารถตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวขึ้นไปได้ อินดิเคเตอร์ RSI ก็หลุดเส้นแนวรับ (เส้นประ) ลงมาแล้วเช่นกัน
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอให้กราฟสร้างจุดต่ำสุดใหม่ในกรอบราคาขาลง จากนั้นรอกราฟวิ่งย่อกลับขึ้นมาแล้วจึงจะวางคำสั่งขาย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยง แต่จะไม่รอแท่งเทียนยืนยันขาลงเพื่อวางคำสั่งขาย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายทันทีเพราะสามารถยอมรับความเสี่ยงหากกราฟวิ่งกลับขึ้นไปเพื่อย่อได้
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 93
- Stop-Loss: 94
- ความเสี่ยง: 100 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:90
- ผลตอบแทน: 300 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3