เมื่อไม่นานมานี้องค์กร บริษัท หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำมันได้ออกมาชี้ให้เห็นแล้วว่าภาพรวมความต้องการน้ำมันดิบยังไม่ฟื้นตัว OPEC EIA หรือแม้แต่ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่าง BP (NYSE:BP) ต่างก็ปรับลดตัวเลขความคาดหวังที่จะเห็นความต้องการน้ำมันฟื้นตัวจนกลับขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกันกับปี 2019 ลง ล่าสุด IEA พึ่งปล่อยเอกสารเกี่ยวกับภาพรวมของตลาดพลังงานออกมาซึ่ง IEA ระบุว่าความต้องการน้ำมันดิบของโลกจะไม่สามารถกลับสู่ตัวเลข 103 ล้านบาร์เรลต่อวันได้ไปจนถึงปี 2023
องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออกหรือ OPEC ได้ออกมาปรับลดตัวเลขความการณ์ความต้องการน้ำมันดิบในปี 2021 ลง 80,000 บาร์เรลต่อวันเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว คำถามก็คือว่าแล้วโอเปกกับโอเปก+ มีแผนที่จะทำอย่างไรเพื่อช่วยให้อุปสงค์น้ำมันที่ตกต่ำเช่นนี้ดีขึ้น?
ความพยายามในการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันจาก OPEC+
ณ ตอนนี้กลุ่มโอเปก+ มีความเห็นพ้องตรงกันว่าสมาชิกในกลุ่มต้องเพิ่มกำลังการผลิตอีก 2 ล้านบาร์เรลต่อวันเข้าไปในตลาดโดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2021 เป็นต้นไป แต่มีรายงานออกมาจากนิตยสาร Wall Street Journal (WSJ) เขียนว่าซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นพี่ใหญ่ของกลุ่มโอเปกอาจปัดตกข้อเสนอดังกล่าวเนื่องจากยังมองว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันดิบยังช้ากว่าที่ประเมินเอาไว้ การรายงานของ WSJ สอดคล้องกับการรายงานของบลูมเบิร์กที่รายงานว่ามีสมาชิกของกลุ่มโอเปก+ บางประเทศที่เห็นด้วยกับซาอุดิอาระเบีย
ล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมามีรายงานจากรอยเตอร์เขียนว่ารัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กล่าวในงาน EIF ว่าโอเปก+ จะยังคงลดกำลังการผลิตไปจนถึงช่วงปีใหม่เป็นอย่างน้อย สิ่งที่ รมต. น้ำมันท่านนี้สามารถตีความได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเขาอาจจะยืนหยัดในคำพูดนี้ไปจนถึงเดือนหน้าหรืออาจเป็นการบอกเป็นนัยว่ามีความเป็นไปได้ที่แผนการลดการผลิตน้ำมันนี้จะถูกเปลี่ยนแปลง เราไม่อาจรู้คำตอบนี้ได้จนกว่าจะถึงการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 30 เดือนพฤศจิกายน
ในขณะเดียวกันกำลังการผลิตน้ำมันจากลิเบียในตอนนี้ก็ได้กลับเข้าสู่ตลาดแล้วหลังจากสามารถผ่านความขัดแย้งทางการเมืองมาได้ ตอนนี้มีน้ำมันดิบไหลเวียนอยู่ในตลาดที่มาจากลิเบียอยู่ประมาณ 300,000 บาร์เรลต่อวันและมีอีก 300,000 บาร์เรลต่อวันที่กำลังรอเข้าสู่ตลาดทันทีที่ลิเบียสามารถกลับมาผลิตน้ำมันได้อย่างเต็มกำลัง ที่ผ่านมาลิเบียถูกยกเว้นจากกลุ่มโอเปก+ ไปเนื่องจากปัญหาภายในประเทศจนทำให้บริษัทผู้ผลิตน้ำมันและท่าเรือถูกปิด แต่การกลับมาของลิเบียครั้งนี้พวกเขาอาจเห็นด้วยกับการลดกำลังการผลิตน้ำมัน ไม่ว่าจากนี้โอเปกจะตัดสินใจอย่างไรก็ต้องรวมเอากำลังการผลิตน้ำมันจำนวน 600,000 บาร์เรลต่อวันจากลิเบียเข้าไปร่วมการพิจารณาด้วย
สิ่งที่นักลงทุนต้องตั้งคำถามกับเรื่องนี้มีอยู่ 3 คำถามด้วยกัน หากอุปสงค์น้ำมันยังซึมอยู่แบบนี้ไปจนถึงไตรมาสที่หนึ่งปี 2021 โอเปกจะสามารถเอาคำสั่งลดกำลังการผลิตน้ำมัน 2 ล้านบาร์เรลต่อวันออกได้จริงๆ หรือ? และหากไม่เอาออก การผลิตน้ำมันจำนวน 2 ล้านบาร์เรลต่อวันแล้ว น้ำมันอีก 600,000 บาร์เรลต่อวันของลิเบียจะนับเป็นส่วนหนึ่งใน 2 ล้านบาร์เรลหรือเป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามากลายเป็น 2,600,000 บาร์เรลต่อวัน? และคำถามที่สำคัญที่สุดคือรัสเซียจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับเรื่องนี้ในฐานะที่เป็นพี่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มโอเปก+?
เมื่อวันพุธที่ผ่านมามีรายงานว่ามงกุฎราชกุมารของซาอุดิอาระเบียโมฮัมหมัด บิน ซัลมานได้ยกโทรศัพท์พูดคุยกับประธานาธิบดีวลาดิเมีย ปูตินเกี่ยวกับสถานการณ์ในตลาดน้ำมัน หัวข้อในการคุยครั้งนั้นคือความสำคัญของการรักษาข้อตกลงของกลุ่มโอเปก+ เพื่อพยุงไว้ซึ่งเสถียรภาพในตลาดน้ำมัน ถึงกระนั้นไม่มีรายละเอียดว่าทั้งสองคนได้คุยถึงเรื่องนโยบายการผลิตน้ำมันในอนาคตหรือไม่ และในวันเดียวกันนั้นเองรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของรัสเซียนายอเล็กซานเดอร์ โนวาคกล่าวว่า
“ผมเห็นความต้องการน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นและผมเชื่อว่ากลุ่มโอเปก+ จะเชื่อว่าเราจะสามารถค่อยๆ เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันขึ้นได้”
อย่างไรก็ตามนักลงทุนก็ยังไม่ควรที่จะมั่นใจกับคำพูดของ รมต กระทรวงพลังงานของรัสเซียมากนักเพราะต้องยืนยันกับงานประชุมของกลุ่มโอเปกและโอเปก+ ในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายนอีกที ที่สำคัญเรายังมีปัจจัยเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำมันดิบคงคลังและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมาเป็นปัจจัยกดดันการตัดสินใจลดหรือเพิ่มการผลิตน้ำมันในปี 2021 เชื่อได้เลยว่าตัวแปรสำคัญในการประชุมวันนั้นจะต้องเป็นมุมมองของซาอุดิอาระเบียที่คิดว่าการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในปี 2021 ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษกับตลาดและราคาน้ำมันดิบมากกว่ากัน
ในมุมมองของฉัน (ผู้เขียน) เชื่อว่าในระหว่างหนึ่งเดือนครึ่งก่อนถึงการประชุมยังจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายที่มีนัยสำคัญเช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิดในยุโรปที่ส่งผลต่อการใช้งานน้ำมัน ด้วยปัจจัยเสี่ยงที่มีความผันผวนสูงขนาดนี้ฉันมองว่าแม้แต่โอเปก+ เองก็ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ในตอนนี้ว่าควรเพิ่มหรือไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเช่นเดียวกันกับนักลงทุนที่ยังไม่กล้าพาราคาน้ำมันขึ้นไปเกิน $44 ต่อบาร์เรล