เหลือเวลาอีกเพียงสามสัปดาห์เท่านั้นก่อนที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แห่งปี 2020 จะมาถึงและในที่สุดนักลงทุนก็เริ่มแสดงท่าทีกระวนกระวายออกมาแล้ว ถูกเทขายเป็นวันที่สองติดต่อกันซึ่งส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินอ่อนค่าลงด้วย การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งที่คาดเดาได้ยากที่สุดและส่งผลกระทบต่อตลาดและเศรษฐกิจโลกท่ามกลางภัยโรคระบาดทันที แม้จากผลสำรวจจะระบุว่าคะแนนของโจ ไบเดนยังนำอยู่ แต่นักลงทุนก็ไม่ได้ปักใจเชื่อผลสำรวจเหล่านั้นเพราะการเลือกตั้งในปี 2016 ก็เคยเกิดเหตุการณ์ฉีกผลสำรวจมาแล้วที่ฮิลลารี่ คลินตันนำมาก่อนในช่วงแรกแต่สุดท้ายเราก็ได้ประธานาธิบดีที่ชื่อโดนัลด์ ทรัมป์มา
ช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อน ตลาดหุ้นและฟอเร็กซ์อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นได้จากความหวังที่มีต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เชื่อกันเป็นอย่างมากว่าจะได้เห็นอย่างเป็นทางการก่อนการเลือกตั้งแน่นอน อย่างไรก็ตามสถานการณ์ล่าสุดคงต้องใช้คำว่า “ดับฝัน” มานิยามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนการเลือกตั้ง นางแนนซี่ เปโลซี่ ประธานสภาผู้แทนราษฎรยังคงอธิบายย้ำๆ ว่าจำนวนเงินที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เสนอนั้นยังไม่เพียงพอและการเทขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงก่อนปิดตลาดวันอังคารก็เกิดขึ้นเพราะนายสตีฟ มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกมากล่าวว่า
“ความหวังที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่จะสามารถบรรลุข้อตกลงออกมาได้ก่อนการเลือกตั้งนั้น ได้หมดลงไปแล้วเพราะผลประโยชน์ทางการเมือง”
หลังจากที่ได้ยกโทรศัพท์คุยกับนางแนนซี่อยู่หลายครั้ง เขาบอกว่ามีรายละเอียดอยู่อีกหลายส่วนที่ไม่สามารถตกลงร่วมกันได้ก่อนการเลือกตั้ง จากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าเขาได้พยายามอย่างสุดความสามารถแล้วที่จะผลักดันให้สภาคอนเกรสอนุมัติโปรแกรมคุ้มครองสินเชื่อเพื่อภาคธุรกิจ (PPP) ก่อนการเลือกตั้งให้ได้ ยิ่งเงินเยียวยามาถึงมือประชาชนชาวอเมริกันนานเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปด้วยความล่าช้าซึ่งเราจะได้เห็นข้อมูลตัวเลขที่สะท้อนการชะลอตัวนี้ออกมาผ่านการประกาศผ่านตัวเลขดัชนีภาคการผลิตโดยเอ็มไพร์ สเตตและผลสำรวจภาคการผลิตจากธนาคารกลางรัฐฟิลาเดเฟียที่จะรายงานออกมาในวันนี้ ที่สำคัญยังมีรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกในวันศุกร์อีกด้วย
สกุลเงินอ่อนมูลค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ เมื่อวานนี้ยกเว้นแต่ดอลลาร์แคนาดาเพราะราคาปรับตัวสูงขึ้นและกราฟ สามารถยืนเหนือระดับราคา 1.31 ได้ ยังสามารถวิ่งขึ้นได้เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแม้ว่าตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะออกมาลดลงส่วนวิ่งขึ้นเพราะคำพูดของผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) นายคริสเตียน ฮอคเคสบีย์ที่กล่าวว่าข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ แม้ว่าทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ต่างก็มีปัญหาของพวกเขาเอง (ความเป็นไปได้ที่ RBNZ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปจนติดลบ) แต่การควบคุมไวรัสโคโรนาที่ออสเตรเลียล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพียง 24 คนในขณะที่นิวซีแลนด์พบผู้ติดเชื้อใหม่เพียง 2 คนนั้นเทียบอะไรไม่ได้เลยกับตัวเลขในสหรัฐฯ ที่พบผู้ติดเชื้อเกินวันละ 50,000 คนต่อวัน ฝรั่งเศสมากกว่า 10,000 คนและอิตาลีเจอมากกว่า 7,000 คน ดังนั้นภาพรวมของดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จึงยังดูสดใสกว่ามาก
เมื่อพูดถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในยุโรปก็ต้องบอกว่า “แย่ลงอย่างรวดเร็ว” อิตาลีรายยอดยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นจนสร้างจุดสูงสุดใหม่ทุกวันในขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อของเยอรมันก็เข้าใกล้จุดสูงสุดตลอดกาลแล้ว ฝรั่งเศสประกาศเคอฟิวไปในทุกๆ เมืองใหญ่ จากยอดผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นและมาตรการของภาครัฐที่เข้มข้นขึ้น เราจะได้เห็นผลของการดำเนินการเหล่านี้ในรายงานตัวเลขของเดือนตุลาคมซึ่งจะออกในเดือนหน้าซึ่งเรายังขอยืนยันคำเดิมว่าโอกาสขาขึ้นของสกุลเงินยังอยู่ในระดับต่ำ
สกุลเงินที่เป็นไฮไลท์วันนี้ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือสกุลเงินเพราะเดตไลน์ตามที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันกำหนดไว้เป็นวันนี้มาถึงแล้ว ปอนด์จึงดีดตัวขึ้นทันทีเมื่อวานนี้และเป็นสกุลเงินที่ทำผลงานได้ดีที่สุดแม้ยังต้องเผชิญกับภัยโรคระบาด นักลงทุนยังคงเชื่อมั่นว่าจะได้ยินข่าวดีจากการเจรจา Brexit ในวันนี้เพราะมีรายงานออกมาว่าสหราชอาณาจักรจะไม่ยอมหยุดการเจรจา Brexit ลงโดยง่าย เนื่องจากตอนนี้การเจรจาได้มาถึงจุดสำคัญแล้วซึ่งหากยังตกลงกันไม่ได้ เราหวังเพียงว่าจะได้ยินคำว่า “การเจรจาถูกเลื่อนออกไป” ดีกว่าที่จะได้ยินคำว่า “ล้มโต๊ะการเจรจา”