“เอาแน่เอานอนไม่ได้” คือคำที่ดีที่สุดที่สามารถหามาอธิบายสถานการณ์ในตลาดหุ้นและตลาดสกุลเงินของเดือนตุลาคม เชื่อว่าสถานการณ์ในเดือนตุลาคมคงจะดำเนินเช่นนี้ต่อไปตลอดทั้งเดือนและถูกจดจำในฐานะเดือนที่ผันผวนที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก่อนอื่นต้องขอชมเชยว่าเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นทำได้ดีในการวิ่งตามคำพูดที่กลับไปกลับมาของประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ การวิ่งขึ้นมากกว่า 500 จุดของดัชนีดาวโจนส์แสดงให้เห็นว่านักลงทุนยังคงรอที่จะได้ฟังข่าวดีเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกถึงแม้จะทำใจไว้บ้างว่าอาจจะเจอทรัมป์ออกมาพูดอะไรแบบไม่ทันตั้งตัวอีกก็ตาม
รายงานการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) คือสิ่งที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าอยู่ได้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ยกเว้นแต่กราฟ USD/JPY ที่สามารถวิ่งขึ้นจนสามารถหลุดแนวต้านที่แข็งแกร่งที่สุดมาตั้งแต่วันที่ 14 กันยายนขึ้นมาได้ การปรับตัวขึ้นของกราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีแสดงให้เห็นว่านักลงทุนในตลาดไม่ได้สนใจสิ่งที่รายงานการประชุมบอกเท่าไหร่ นอกจากพูดเรื่องเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อแล้วธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ยังย้ำเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะอยู่ในระดับนี้ไปจนถึงปีหน้าอีกครั้ง แม้จะแอบให้ความหวังว่าเฟดอาจจะเพิ่มวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกแต่ตลาดก็มองว่าสิ่งนั้นคงไม่เกิดขึ้นหากสถานการณ์ไม่แย่ลงไปถึงขั้นมีการระบาดรอบสองขึ้นจริงๆ หรือประธานาธิบดีเกิดป่วยจนถึงขั้นโคม่าจนทำให้ตลาดหุ้นอยู่ดีๆ ก็ร่วงลงมา
อย่างที่ทราบกันว่าคืนก่อนหน้านี้ทรัมป์พึ่งสั่งห้ามทีมงานของตนคุยกับพรรคเดโมแครตเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกไปจนกว่าจะผ่านการเลือกตั้ง แต่เมื่อคืนนี้เขาก็เปลี่ยนใจอีก โดนัลด์ ทรัมป์ทวีตบอกว่าอยากให้สภาอนุมัติการอัดฉีดวงเงิน $25,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยธุรกิจการบินและอีก $135,000 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับธุรกิจรายย่อย นอกจากนี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้กลับมาทำงานที่ออฟฟิศตามเดิมแล้ว ตอนนี้ไม่ว่าใครจะชนะการเลือกตั้งก็สามารถมั่นใจได้เลยว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่สองนั้นมาแน่แต่ธุรกิจจะรอดถึงตอนนั้นหรือไม่...นี่คือคำถาม กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้ทำให้นักลงทุนในตลาดหุ้นดีใจเป็นอย่างมากจนอาจจะเรียกได้ว่าดีใจมากเกินไปด้วยซ้ำหากพวกเขาคิดว่าสภาจะอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทันทีโดยไม่ผ่านระบบการถ่วงดุลอำนาจหรือเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจได้ก่อนสิ้นปี สำหรับการลงทุนในช่วงนี้ทั้งตลาดหุ้นและฟอเร็กซ์จะวิ่งตามข่าวพาดหัวใหญ่ที่ออกมาเกี่ยวกับทรัมป์และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน
รายงานการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) คือสิ่งที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าอยู่ได้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ยกเว้นแต่กราฟ USD/JPY ที่สามารถวิ่งขึ้นจนสามารถหลุดแนวต้านที่แข็งแกร่งที่สุดมาตั้งแต่วันที่ 14 กันยายนขึ้นมาได้ การปรับตัวขึ้นของกราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีแสดงให้เห็นว่านักลงทุนในตลาดไม่ได้สนใจสิ่งที่รายงานการประชุมบอกเท่าไหร่ นอกจากพูดเรื่องเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อแล้วธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ยังย้ำเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะอยู่ในระดับนี้ไปจนถึงปีหน้าอีกครั้ง แม้จะแอบให้ความหวังว่าเฟดอาจจะเพิ่มวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกแต่ตลาดก็มองว่าสิ่งนั้นคงไม่เกิดขึ้นหากสถานการณ์ไม่แย่ลงไปถึงขั้นมีการระบาดรอบสองขึ้นจริงๆ หรือประธานาธิบดีเกิดป่วยจนถึงขั้นโคม่าจนทำให้ตลาดหุ้นอยู่ดีๆ ก็ร่วงลงมา
ดอลลาร์ออสเตรเลียสามารถแข็งค่าขึ้นได้โดยไม่สนตัวเลขดัชนี PMI ที่แย่ลง รายงานล่าสุดระบุว่ากิจกรรมในภาคบริการของออสเตรเลียหดตัวลงอีกจาก 42.5 เป็น 36.2 การที่เราได้เห็นตัวเลข PMI ภาคการผลิตและบริการของเดือนกันยายนหดตัวก็เท่ากับว่าออสเตรเลียดอลลาร์จะเข้าสู่การปรับฐานที่ยาวนานกว่าเดิม ดอลลาร์ออสเตรเลียไม่ใช่สกุลเงินเดียวที่เจอกับปัญหานี้แต่ยังรวมไปถึงดอลลาร์แคนาดาด้วยที่ยังคงแข็งค่าขึ้นได้แม้ตัวเลขดัชนี PMI จาก IVEY ของเดือนที่แล้วจะลดลงจาก 67.8 เหลือ 54.3 ส่วนดอลลาร์นิวซีแลนด์วิ่งไปคนละทางกับดอลลาร์ออสเตรเลียเนื่องจากมีข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจจะกำลังพิจารณาเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นแม้ว่าตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันจะออกมาลดลง นักเศรษฐศาสตร์หวังว่าตัวเลขนี้จะสามารถเพิ่มขึ้น 1.5% แต่ตัวเลขที่ออกกลับลดลง 0.2% ยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ในฝรั่งเศสและสเปนยังคงเพิ่มสูงขึ้น ฝรั่งเศสตอนนี้เข้าสู่ระดับการเตือนภัยสูงสุดแล้วในขณะที่สเปนได้ออกมาคุมเข้มตั้งแต่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ที่ยอดผู้ติดเชื้อรวมเพิ่มขึ้นจนสามารถแตะตัวเลข 800,000 รายได้ มีหลายมาตรการคุมเข้มผู้คนออกมาเยอะมากในยูโรโซนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิตาลีและสเปน
สำหรับสกุลเงินปอนด์ไม่มีข่าวไหนสำคัญไปมากกว่าการเจรจาเพื่อขอออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ที่ยังคงมีความคืบหน้าเกิดขึ้นน้อยมาก ข่าวดีส่วนใหญ่ที่ออกมามาจากฝั่งสหราชอาณาจักรมากกว่าในขณะที่พาดหัวข่าวของประเทศในสหภาพยุโรปเกี่ยวกับ Brexit เต็มไปด้วยข้อสงสัย ในขณะที่ทั้งสองยืนยันตรงกันว่าไม่อยากให้เดินไปจนถึงจุดที่เป็น Brexit ที่ไม่ทำสนธิสัญญาใดๆ แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าสหภาพยุโรปจะถือไพ่เหนือกว่า ข้อตกลงระหว่างทั้งสองประเทศยังมีหวังและการแข็งค่าขึ้นของปอนด์สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนในตลาดยังเชื่อว่าจะสามารถหาข้อตกลงร่วมกันที่ทั้งสองฝ่ายต่างได้ประโยชน์ได้ พูดถึงสถานการณ์โควิดในสหราชอาณาจักรตอนนี้ภาครัฐมีการใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ