รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ศบศ.ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป

เผยแพร่ 03/09/2563 09:54
อัพเดท 09/07/2566 17:32

มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศของ ศบศ. วงเงินรวมกว่า 6.8 หมืน่ ล้านบาท ยังไม่พอที่จะกระตุ้น GDP และ SET INDEX ให้กระชากตัวขึ้น แรง เพราะการลงทุนภาครัฐฯและเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การส่งออกยังไม่ฟื้นเท่าที่ควร การกระตุ้นภาคบริโภคตัวแปรเดียว จึงทำได้เพียงประคองเศรษฐกิจไม่ให้ ทรุดหนักกว่าเดิม โดยคาดหวังว่ามาตรการในลักษณะร่วมกันจ่าย จะช่วยหนุนสภาพคล่อง และทำให้กระแสเงินในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดีขึ้นทุกครั้งที่มีมาตรการกระตุ้นการบริโภค กลุ่มที่มัก Outperform คือ ค้าปลีก อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าไอทีและไฟแนนซ์ แต่เนื่องจากรอบนี้เน้นกลุ่มอาหาร+เครื่องดื่ม เราจึงแนะนำหุ้นในกลุ่มเหล่านี้ที่ราคายัง Laggard คือ MINT, CRC, CPALL (BK:CPALL), BJC, OSP ส่วนหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่น่าจับตาคือ TACC, TKN, AU,M

วานนี้ศบศ. ออก 3 มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

(1) มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ เริ่ม 1 ก.ย. 63

(1.1) เพิ่มสิทธิให้ผู้ลงทะเบียน "เราเที่ยวด้วยกัน" โดยเพิ่มส่วนลดค่าที่พัก 40% จำนวน 10 คืน/คน และเพิ่มคูปองอาหารต่อการท่องเที่ยวสูงสุด 900 บาท/วัน (วันจันทร์ – พฤหัสบดี 900 บาท และวันศุกร์ – อาทิตย์ 600 บาท)

(1.2) ให้เงินคืนค่าตั๋วเครื่องบิน จำนวน 2,000 บาท/ที่นั่ง

(1.3) ให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวสิาหกิจที่ลงทะเบียนและใช้สิทธิ ในแพ็กเกจเราเที่ยวด้วยกัน ไปพักผ่อนในวันธรรมดาเพิ่ม ได้2 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา

(2) มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายวงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท ให้สิทธิผู้มีสัญชาติไทยอายุ18 ปี ขึ้นไป จำนวน 15 ล้านสิทธิ รัฐบาลช่วยค่าครองชีพ 3,000 บาท โดยมีเงื่อนไขใช้ได้ไม่เกิน 100-250 บาท/วัน รัฐบาลช่วยจ่าย 50% เน้นอาหารและเครื่องดื่มตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค. 63

(3) มาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้จบการศึกษาใหม่ 3 กลุ่ม (ป.ตรีปวส. และ ปวช.) ทั้ง หน่วยงานภาครัฐและเอกชน 260,000 อัตรา โดยรัฐบาลจะสนับสนุนเงินค่าจ้าง 50% ของ เงินเดือนตามวุฒิการศึกษา เป็นเวลา 12 เดือน (1 ต.ค. 63 – 30 ก.ย. 64) ตามอัตราค่าจ้าง ป.ตรี 15,000 บาท/เดือน, ปวส. 11,500 บาท/เดือน, ปวช. 9,400 บาท/เดือน

มาตรการยังไม่แรงพอใหเ้ศรษฐกิจฟื้นเร็ว เพราะยังไม่เน้นสินค้าคงทนที่ทรุดหนัก

ถ้าพิจารณาจากองค์ประกอบของ GDP ใน 2Q63 กลุ่มที่ทรุดหนักสุดคือ การสะสมทุน ถาวรหรือการก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องมอืเครื่องจักร -8.0% YoY ขณะที่ การบริโภค ภาคเอกชน -6.6% YoY แต่เพราะมีสัดส่วนมากถึง 56% ของ GDP รัฐบาลจึงให้ ความสำคัญในการกระตุ้นเป็นอันดับแรก

โดยถ้าอิงมาตรการชิมช้อปใช้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่ใช้กระตุ้นกำลังซือ้ ใน 4Q62 เรา พบว่าไม่ได้ช่วยหนุนการบริโภคภาคเอกชนมากนัก โดยโตเพียง 4.1% YoY ต่ำสุดในรอบปี (ค่าเฉลี่ยปี2562 อยู่ที่4.5% YoY) ขณะที่ องคป์ระกอบอื่นของ GDP ยังถดถอยต่อเนื่อง ส่วนมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว เรามองเป็นเพยีงการปรับเงื่อนไขเพื่อจูงใจให้ใช้สิทธิ มากขึ้นเท่านั้น ผลกระทบต่อ GDP และ SET INDEX ในมุมมองของเราจึงค่อนข้างเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายรอบนี้มีจุดดีตรงที่เป็นการร่วมจ่าย จึง น่าจะช่วยดึงเงินของผู้ที่มีเงนิเหลือไปช่วยผู้ที่ขาดเงินได้มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วย กระตุ้นสภาพคล่องและการหมุนเวยีนของเงินในระบบเศรษฐกิจได้ดกีว่าการที่รัฐบาลเป็นผู้จ่ายฝ่ายเดียว

ทั้งนี้สำหรับมาตรการที่ออกมาแล้วจะช่วยหนุน SET INDEX ในช่วงวกิฤตเิช่นนี้เรายังคง ให้ความสำคัญกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการทางภาษีควบคู่ไปกับการ ช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยถ้าย้อนไปช่วงที่รัฐบาลมีการลงทุนสูงในปี 2553-2556 GDP โต เฉลี่ย 5% ต่อปี และ SET INDEX ปรับตัวขึ้นถึง 18% ต่อปี เทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา (2558- 2563) ที่การลงทุนโตเฉลี่ยเพยีง 1.8% ต่อปี และ SET INDEX ปรับตัวขึ้นเพียง 5% ต่อปี

เน้นกลุ่มอาหารเครื่องดื่ม และผู้ค้าปลีกรายเล็ก

ทุกครั้งที่มีมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ กลุ่มที่มัก Outperform คือ ค้าปลีก อาหาร เครื่องดื่มสินค้าไอทีและไฟแนนซ์แต่เนื่องจากรอบนี้เน้นกลุ่มอาหาร+เครื่องดื่ม และผู้ประกอบการขนาดเล็กกลุ่มที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจึงเป็นค้าปลีกที่เน้นอาหาร และเครื่องดื่มซึ่งหุ้นใน SET100 ที่ยัง Laggard ตลาดในช่วง 1-3 เดือน คือ MINT, CRC, CPALL, BJC, OSP ส่วนหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่น่าจับตาคือ TACC, TKN, AU, M โดยใน เชิงของแรงหนุนจากนโยบายการคลัง เรายังให้ตดิตามปัจจัยการเมอืงในประเทศ ที่อาจ กระทบกับความต่อเนื่องในการออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ ในอนาคต ซึ่งจะทำให้8 หุ้น แนะนำ ข้างต้นไม่สามารถสะท้อนปัจจัยบวกทเี่ราคาดหวังได้อย่างเต็มที่

บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย