เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 31.16 ต่อดอลลาร์ USD/THB หลังซื้อขายในกรอบ 31.16-31.63 ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น มูลค่า 7.3 พันล้านบาท แต่ซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 7.1 พันล้านบาท
เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลักขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ปรับเปลี่ยนวิธีการในการบรรลุเป้าหมายด้านการจ้างงานสูงสุดและด้านเสถียรภาพของราคา โดยยุทธศาสตร์ใหม่นี้จะให้ความสําคัญกับการจ้างงาน และจะยอมอดทนต่อการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ โดยเฟดระบุว่า จะพยายามทําให้เงินเฟ้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2% บ่งชี้ว่าช่วงเวลา ที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเกินไปจะถูกชดเชยด้วยการ หนุนเงินเฟ้อให้อยู่สูงกว่า 2% ในระยะหนึ่งได้
แลหน้า
เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.90-31.25 ต่อ ดอลลาร์ หลังการปรับกรอบนโยบายของเฟดสนับสนุนการ คาดการณ์ของตลาดที่ว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ 0% ต่อไปอีกนานหลายปี อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังตั้ง คําถามต่อประเด็นที่ว่าเฟดจะตรึงดอกเบี้ยเป็นเวลานานเพียงใด
ขณะที่เฟดไม่ได้ระบุว่าจะปล่อยให้ อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับใด ทั้งนี้ คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในการประชุม FOMC วันที่ 15-16 ก.ย. นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสําคัญหลายรายการของสหรัฐฯ อาทิ ดัชนีภาค บริการ และการจ้ างงานนอกภาคเกษตร รวมถึงการชิงตําแหน่งนายกฯญี่ปุ่นคนใหม่ภายในพรรค LDP จะเป็นปัจจัยชี้นําตลาดการเงินในสัปดาห์นี้เช่นกัน
ผู้ว่าการ ธปท. ระบุว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงกรอบนโยบาย อย่างมีนัยสําคัญแต่คาดว่าการปรับนโยบายของเฟดจะทําให้ ตลาดการเงินผันผวนมากขึ้น อีกทั้งมองว่าดอกเบี้ยนโยบาย ของไทยสามารถปรับลงได้อีกหาก COVID-19 กลับมารุนแรง อย่างไรก็ดี ผู้ว่าการฯมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบไม่ เหมาะสมเพราะอาจส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ขณะที่ มาตรการการคลังควรมีบทบาทหลักอนึ่ง อัตราเงินเฟ้อซึ่งที่ ผ่านมาต่ำลงจากราคาพลังงาน มาตรการดูแลค่าครองชีพ และมาตรการปิดเมืองบางส่วนนั้น คาดว่าจะกลับเข้าสู่กรอบ เป้าหมายได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 64
นอกจากนี้ ธปท.เตรียม ผ่อนคลายเกณฑ์บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศเพิ่มเติม เร็วๆนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อค่าเงินบาทจากการซื้อขายทองคํา เราประเมินว่าเงินดอลลาร์ในตลาดโลกจะเผชิญแรงกดดันให้ อ่อนค่าลงจากการปรับนโยบายของเฟดเป็นสําคัญ ขณะที่ การปรับเปลี่ยนอาจไม่ได้สะท้อนบริบทของสหรัฐฯเท่านั้นแต่ เป็นการสอดรับกับอัตราเงินเฟ้อ, ดอกเบี้ยรวมถึงการเติบโต ทางเศรษฐกิจของโลกซึ่งอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com