ช่วงระยะหลังมานี้หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เจอโควิด-19 คุกคามอย่างหนักก็มีการพูดถึงสกุลเงินดอลลาร์ว่าอาจจะต้องเสียตำแหน่งสกุลเงินสำรองอันดับหนึ่งของโลกเข้าจริงๆ สักวัน เราเองก็เป็นหนึ่งในนักวิเคราะห์ที่คิดและเคยเขียนบทวิเคราะห์เช่นนั้นออกไป แต่ถึงอย่างนั้นเพราะโลกเราหมุนไปบนหลักของความเป็นไปได้ แม้เราจะเคยเขียนบทความแบบนั้นแต่ถ้าให้พูดกันจริงๆ แล้วเราก็ยังไม่เชื่อแบบสนิทใจ 100% ว่าดอลลาร์จะเสียตำแหน่งแชมป์ภายรุ่นเรา
แต่ก็ต้องยอมรับความเป็นจริงหนึ่งอย่างในปัจจุบันว่าตั้งแต่โควิดเข้ามาและมาตรการทางการเงินเพื่อต่อสู้ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการทำ QE ไม่จำกัด การปรับอัตราดอกเบี้ยให้ลงไปอยู่ในระดับเข้าใกล้ 0% ส่งผลกระทบให้ดอลลาร์อ่อนมูลค่าลงอย่างมีนัยสำคัญจริงๆ
ในฐานะนักลงทุน นอกจากเราจะวิเคราะห์ด้วยมุมมองของตัวเองแล้วในบางครั้งเราจำเป็นต้องทำเป็นว่าคิดในมุมมองของฝั่งตรงข้ามด้วย ที่ผ่านมาเราได้พยายามมองแล้วจริงๆ ว่าจะมีเหตุผลอะไรที่ใช้มาสนับสนุนขาขึ้นของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐได้บ้าง แต่หลังจากที่เราได้เห็นข้อมูลในรายงานการประชุมของเฟดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้เรารู้เลยว่าแม้แต่เฟดเองก็ยังไม่กล้าเสี่ยงแลกมูลค่าดอลลาร์สหรัฐกับเศรษฐกิจของประเทศที่อาจจะพังลงมาทันทีหากเฟดตัดสินใจคุมเข้มมาตรการทางการเงินขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับดอลลาร์
เมื่อคนที่สามารถควบคุมมูลค่าของดอลลาร์ยังคิดแบบนี้เราในฐานะนักวิเคราะห์ตัวเล็กๆ คนหนึ่งก็ไม่อาจสามารถทำอะไรได้นอกจากตามแนวโน้มขาลงที่เกิดขึ้นต่อไป ล่าสุดดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถทะลุธงสามเหลี่ยมออกมาได้แล้วและยังไม่สามารถกลับขึ้นไปได้ด้วย
แม้เราจะเห็นว่าในช่วง 2-3 วันล่าสุดนี้จะมีความต้องการถือครองดอลลาร์ใหม่เข้ามาและดันให้ราคาสามารถวิ่งกลับขึ้นไปได้บ้างแต่แนวต้านที่เกิดจากรูปแบบธงสามเหลี่ยมยังถือว่าเป็นด่านสำคัญ นอกจากนี้ฝั่งขาลงที่อยู่ในตลาดก่อนหน้านี้ตัดสินใจออกจากตลาดเพื่อต้องการจะตรวจสอบว่ามีแรงขาขึ้นที่มีนัยสำคัญหลงเหลืออยู่ในตลาดหรือไม่ ตอนนี้ถือเป็นวันที่ 5 แล้วที่แรงฝั่งขายพยายามกดดอลลาร์เอาไว้ไม่ให้ขึ้นมาสร้างจุดสูงสุดใหม่แทนจุดสูงสุดล่าสุด แม้ว่าตอนนี้หากมองเฉพาะขาขึ้นคลื่นล่าสุดจะเห็นกราฟทำรูปแบบธงลู่ขึ้นได้ แต่ตราบใดที่ยังไม่สามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ให้ตลาดได้เห็นขาลงก็ยังมีโอกาสรังแกขาขึ้นต่อไปได้เรื่อยๆ
ในมุมมองของนัดลงทุนฝั่งหมี ความพยายามของตลาดกระทิงในช่วง 3-4 วันล่าสุดเป็นได้แค่การย่อขึ้นมาเพื่อเตรียมตัวลงต่อเท่านั้น เมื่อใดที่มีแท่งเทียนสีแดงที่สามารถทะลุกรอบธงลู่ขึ้นลงมาได้ ศรัทธาที่มีในตลาดกระทิงก็จะถูกทำลายและกลับเข้าสู่แนวโน้มใหญ่ทันที ยิ่งไปกว่านั้นแท่งเทียนในกราฟรายวันของวันจันทร์ปรากฎเป็นรูปแบบคนแขวนคอ (Hanging Man) ซึ่งเป็นสัญญาณเรียกนักลงทุนขาลง ในตอนนี้รอเพียงแท่งเทียนยืนยันการปรับตัวลดลงต่อเท่านั้นซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีหากว่าราคาปิดของแท่งถัดมาสามารถปิดต่ำกว่าจุดต่ำสุดของแท่งคนแขวนคอหรือต่ำกว่าเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นที่ทำหน้าที่เป็นฐานของกรอบราคาขาขึ้น
ในส่วนของข่าวที่นักลงทุนกำลังเฝ้ารอประจำสัปดาห์นี้คือแถลงการณ์จากประธานเฟดนายเจอโรม พาวเวลล์ที่จะเกิดขึ้นในงานประชุมของเจ้าหน้าที่สมาชิกธนาคารกลางสหรัฐฯ ณ เมืองแจ็กสัน โฮล สิ่งที่นักลงทุนอยากทราบจากแถลงการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องอัตราดอกเบี้ยเพราะอย่างที่ทราบกันว่าเฟดน่าจะไม่เปลี่ยนใจแน่ๆ แต่ที่อยากรู้คือการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ที่ผ่านมาเฟดพยายามดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อให้เติบโตขึ้นแต่ก็ยังไม่เป็นผลซึ่งก็ต้องยอมรับกันจริงๆ ว่าการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อมีส่วนช่วยเรื่องความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศจริงๆ หากว่าแถลงการณ์ในวันพรุ่งนี้ยังออกมาซ้ำเติมมูลค่าของดอลลาร์ที่ตอนนี้ก็อ่อนอยู่แล้วให้อ่อนลงไปอีก มีโอกาสสูงที่เราจะได้เห็นดัชนีดอลลาร์สหรัฐวิ่งลงไปตามกรอบสีแดงที่วิเคราะห์เอาไว้
กลยุทธ์การเทรด (สำหรับขาลง)
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟดัชนีดอลลาร์จะสามารถมีราคาปิดต่ำกว่ากรอบธงลู่ขึ้นได้
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอสัญญาณยืนยันขาลงจากแท่งคนแขวนคอ จุดปิดต้องอยู่ต่ำกว่าส่วนบอดี้ของแท่งเทียนคนแขวนคอหรือต่ำกว่า 93.20
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายในทันทีเพื่อให้จุดเข้าได้อยู่ใกล้กับแนวต้านจากรูปแบบสามเหลี่ยมให้มากที่สุด
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 93.00
- Stop-Loss: 93.50 (เหนือจุดสูงสุดเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว)
- ความเสี่ยง: 50 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:90.00
- ผลตอบแทน: 300 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:6