เหลียวหลัง
• เงินบาทปิดอ่อนค่าที 31.54 ต่อดอลลาร์ USD/THB หลังซื้อขายในกรอบ 31.09-31.55 โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าสวนทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขาย สุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 5.6 พันล้านบาท และ 3.2 พันล้านบาท ตามลําดับ
• เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโรแต่อ่อนค่าเทียบเงินเยน ขณะทีรายงานการประชุมวันที 28-29 ก.ค.ของธนาคารกลาง สหรัฐฯ(เฟด)ระบุว่าอาจจําเป็นต้องผ่อนคลายนโยบาย การเงินลงอีกเพื่อเยียวยาเศรษฐกิจโดยประเมินว่าการฟื้นตัว ของการจ้างงาน กำลังชะลอตัวและสถานการณ์ ของตลาดแรงงานจะขึ้นอยู่กับการเปิดเมืองอีกครั้งอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม ตลาดผิดหวังที่ เฟดไม่ได้แสดงท่าทีสนับสนุน การใช้ Yield Curve Control หรือมาตรการใหม่ๆในขณะนี้
แลหน้า • เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.35-31.80 ต่อ ดอลลาร์ โดยจุดสนใจจะอยู่ที Jackson Hole Symposium ซึ่งเป็นการประชุมเชิงวิชาการของธนาคารกลางจากหลายประเทศโดยประธานเฟดมักใช้เวทีนี้ส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งสําคัญ
ขณะที่ คาดว่าในวันที 27 ส.ค. ประธานเฟดอาจกล่าวถึงการพิจารณาทบทวนกรอบนโยบาย การเงินของเฟดเพื่อสะท้อนทิศทางนโยบายที่ จะส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากเป็นเวลานานกว่าทีตลาดเคยคาดไว้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะยังคงจับตาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ความคืบหน้าเกี่ยวกับ แพคเกจการคลังชุดใหม่ของสหรัฐฯ รวมถึงการแพร่ระบาด ของ COVID-19 ที่ขยายวงอีกครั้งในยุโรปและเอเชีย
• สําหรับปัจจัยในประเทศ นักลงทุนจะติดตามข้อมูลส่งออก และนําเข้าเดือนก.ค. รวมถึงสถานการณ์ทางการเมือง ขณะที่ ธปท.เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน(กนง.)สําหรับวันที 5 ส.ค.โดยระบุว่าดอกเบี้ยนโยบาย ทีต่ำเป็นประวัติการณ์เอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และ การลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอาจมีประสิทธิผลจํากัด จึงเห็นควรให้ รักษาขีดความสามารถในการดําเนินนโยบาย การเงิน(Policy Space) เพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและให้ เกิดประสิทธิผลสูงสุด ทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนทางการเห็น ควรให้ประเมินความจําเป็นของมาตรการที เหมาะสมเพิ่มเติม โดยเฉพาะการเร่งสร้างสมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยเอื้อให้ภาคเอกชนทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศได้สะดวกขึ้น และลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เสรีขึ้น อนึ่ง เราคาดว่า กระแสเงินทุนไหลออกที่กลับมาเร่งตัวในเดือนนี้มีแนวโน้ม กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นสัปดาห์จนกว่าท่าทีของ ประธานเฟดจะชี้นําทิศทางค่าเงินดอลลาร์ในระยะถัดไป
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท | แปลงค่าเงิน