ไม่แปลกใจเลยที่รายงานตัวเลขผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของบริษัทขายปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างแอมาซอน (NASDAQ:AMZN) จะสร้างสถิติตัวเลขใหม่ที่สูงขึ้นกว่าเดิมได้อีกครั้ง แน่นอนว่าปรากฎการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นเพราะแอมาซอนคาดการณ์ได้ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าที่จะเปลี่ยนไปจากเดิมที่ต้องออกไปซื้อของที่ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้ากลายมาเป็นการซื้อของผ่านทางรูปแบบออนไลน์แทนซึ่งการเข้ามาของวิกฤตโควิด-19 คือปัจจัยที่เร่งให้เรื่องเหล่านี้เกิดได้เร็วขึ้น ตอนนี้ผู้บริโภคเสพย์ติดความสะดวกสบายจากการสั่งของผ่านมือถือแล้วและการที่แอมาซอนสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้จึงไม่แปลกใจเลยที่ตัวเลขผลกำไรของแอมาซอนจะเพิ่มสูงขึ้น
เรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะแอมาซอนเท่านั้น เมื่อพิจารณาหุ้นตัวท๊อปที่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีจะพบว่านอกจากแอมาซอนแล้วยังมีหุ้นของกลุ่ม “FANGMAN” ที่พากันปรับตัวสูงขึ้นด้วยกันหมดทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟท์ (NASDAQ:MSFT) แอปเปิล (NASDAQ:AAPL) และเน็ตฟลิกซ์ (NASDAQ:NFLX) นอกจากนี้ดัชนีหลักของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่าง NASDAQ มีการขยายตัวของตัวเลขมูลค่ารวมทั้งตลาดอยู่ที่ $2,900,000 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งสามารถตีความได้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจแล้วว่าต่อให้สถานการณ์โควิดจะจบลงแต่พฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าใจถึงการมาถึงโลกออนไลน์แล้วจะไม่มีวันเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิม การแก้ปัญหาของมนุษยชาติจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อของที่เราสามารถสั่งของอะไรก็ได้จากอีกซีกโลกหนึ่งมายังอีกซีกโลกหนึ่งภายในเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
การดีดตัวขึ้นจากเส้นเทรนด์ไลน์ระยะยาวที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดในเดือนมีนาคมของหุ้นแอมาซอนอาจเป็นสัญญาณยืนยันว่าการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบธงลู่ลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากพิจารณาเฉพาะกรอบเส้นประสามเหลี่ยมก็สามารถวิเคราะห์ได้ว่ากราฟหุ้นแอมาซอนกำลังพยายามสร้างรูปแบบที่แสดงถึงการไปต่อของแนวโน้มขาขึ้นเพียงแต่ตอนนี้กราฟยังรอเวลาที่จะหลุดกรอบขึ้นไปเท่านั้น
เมื่อพิจารณาจากเครื่องมือวอลลุ่ม (Volume) จะเห็นว่าเครื่องมือนี้ได้ยืนยันความเป็นไปได้ที่เราวิเคราะห์ว่าการฟอร์มตัวของรูปแบบธงนั้นเสร็จแล้ว แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาวอลลุ่มก็เทไปทางแรงฝั่งขาขึ้นทั้งหมด อย่างไรก็ตามในกรณีที่กราฟขึ้นต่อไม่สำเร็จและปรับตัวลดลงมา เราเชื่อว่ากราฟจะไม่สามารถทะลุเส้นเทรนด์ไลน์หลักนั้นลงมาได้
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟจะหลุดกรอบสามเหลี่ยมเส้นประขึ้นไปโดยมีเงื่อนไขว่าขาขึ้นนี้จะต้องสามารถขึ้นยืนเหนือจุดสูงสุดประวัติการณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมได้และจะต้องมีราคาปิดสูงกว่าจุดสูงสุดนั้น 3% เพื่อกันไม่ให้เจอขาขึ้นหลอก นอกจากนี้หลังจากที่เงื่อนไขก่อนหน้านี้สมบูรณ์แล้วพวกเขาจะรอไปอีก 3 วันเพื่อให้แน่ใจว่าขาขึ้นสามารถยืนอยู่ได้จริงๆ จากนั้นจะรอให้ราคาย่อกลับลงมาทดสอบแนวต้านที่กลายเป็นแนวรับก่อนที่จะวางคำสั่งซื้อ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง เงื่อนไขใกล้เคียงกันกับกลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยงแต่นักลงทุนกลุ่มนี้จะรอเพียงการทะลุขึ้นไป 2% และสามารถยืนอยู่บนนั้นได้เพียง 2 วันก็พอ แม้ว่าจะรอการย่อกลับลงมาเหมือนกันแต่นักลงทุนกลุ่มนี้ไม่ได้รอให้วิ่งกลับลงมาเพื่อยืนยันแต่รอให้กลับลงมาเพื่อหาจุดเข้าที่ดีกว่าเดิม
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะรอให้กราฟทะลุกรอบสามเหลี่ยมด้านใดด้านหนึ่งขึ้นไปแล้วจะวางคำสั่งซื้อขายตาม ในกรณีของขาลงพวกเขาอาจจะรอจนกว่ากราฟสามารถกลับเข้ามายังกรอบรูปธงให้ได้ก่อนค่อยตัดสินใจวางคำสั่งขาย
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: $3,100
- Stop-Loss: $3,000
- ความเสี่ยง: $100
- เป้าหมายในการทำกำไร:$3,400
- ผลตอบแทน: $300
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3