เหลียวหลัง
เงินบาท USD/THB ปิดแข็งค่าที่ 31.16 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 30.99-31.29 โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนขณะที่ราคาทองคําในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นทําสถิติใหม่ อย่างต่อเนื่อง ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีมติ เป็นเอกฉันท์ให้ คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามคาด ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 4.4 พันล้านบาท และ 3.3 พันล้านบาท ตามลําดับ
เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสําคัญส่วนใหญ่ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 5 ปี ทําจุด ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับ ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินจาก โรคระบาด อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ลดช่วงลบท้ายสัปดาห์ หลังข้อมูลบ่งชี้ว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรและค่าจ้าง เดือนก.ค.ของสหรัฐฯแข็งแกร่งเกินคาด
แลหน้า
เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.00-31.40 ต่อ ดอลลาร์ โดยนักลงทุนจะติดตามท่าทีของสหรัฐฯกับจีนก่อน การเจรจาการค้าวันที่ 15 ส.ค. รวมถึงประเด็นข้อกฎหมาย ของคําสั่งฝ่่ายบริหารซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐฯลง นามเพื่อให้จ่ายสวัสดิการว่างงาน 400 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์แก่ชาวอเมริกันที่ตกงานเพราะ COVID-19 หลังจากที่สมาชิก พรรคเดโมแครตและรีพับลิกันไม่สามารถตกลงกันเรื่อง มาตรการกระตุ้นทางการคลัง นอกจากนี้ ตลาดจะให้ความสนใจกับดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ขณะที่แรงหนุนจากตัวเลขการจ้างงานอาจส่งผลให้ ในภาพรวมตลาดเข้าสู่ภาวะพักฐานในช่วงสั้นๆ
สําหรับปัจจัยในประเทศ เงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค.ลดลง 0.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยติดลบเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อติดลบน้อยกว่าที่ตลาด คาดไว้และเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมิ.ย.ตามราคาพลังงานและ ราคาอาหารสดที่ฟื้นตัว ขณะที่กนง.ระบุว่านโยบายการเงินที่ ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปีนี้รวมถึงมาตรการด้านการคลังและ สินเชื่อจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม ทยอยฟื้นตัวและจีดีพีไตรมาส 2/63 อาจจะออกมาดีกว่าที่ เคยประเมินไว้ แต่คาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ทีกิจกรรม โดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ ทางการมองว่าค่าเงินบาทผันผวนสูงขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ แต่หากเงินบาทแข็งค่าเร็วอาจพิจารณาความจําเป็นของมาตรการอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม เรามองว่ากนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายต่อไปและเร่งกระจาย สภาพคล่องสู่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดมากขึ้น
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท | แปลงค่าเงิน