คำถามที่เราอยากให้คุณผู้อ่านให้ความสนใจในสัปดาห์นี้คือ “ดอลลาร์สหรัฐจะยังคงอยู่ในสถานะสกุลเงินที่ทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์สำรองและยังขึ้นต่อได้อยู่หรือไม่” คำตอบของเราคือ “ใช่...อาจจะพอเป็นไปได้อยู่” ตราบเท่าที่ยังไม่มีการแทรกแซงทางการเงิน จากมุมมองของนโยบายทางการเงินเราวิเคราะห์ว่าตอนนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ไม่เหลือทางเลือกมากนัก อัตราดอกเบี้ยก็เหลือ 0%-0.25% แล้ว QE และการอุ้มกองทุนทางการเงินก็ทำแล้ว ดังนั้นเราเชื่อว่าในสัปดาห์นี้จะไม่ได้เห็นข่าวใหญ่ที่จะสามารถหยุดขาขึ้นของดอลลาร์ได้จากทางเฟดอีก
กฏหมายเยียวยาของทรัมป์จะสามารถผ่านสภาได้อย่างรวดเร็วและยิ่งผ่านได้เร็วเท่าไหร่ดอลลาร์จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในปฏิทินเศรษฐกิจสัปดาห์นี้ยังไม่มีข่าวสำคัญใดที่จะกระทบกับดอลลาร์ได้มากนัก ที่นักลงทุนต้องจับตาดูในสัปดาห์นี้ก็จะมีรายงานยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน ตัวเลข GDP และดัชนีวัดบรรยากาศของผู้บริโภคจากมหาลัยมิชิแกนที่ปรับปรุงตัวเลขแล้ว
ความเสี่ยงเดียวที่ดอลลาร์มีก็คือการแทรกแซงสกุลเงินของกลุ่ม G7 เพราะการทะยานขึ้นของดอลลาร์ทำให้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ต้องปรับตัวลงสู่จุดต่ำสุดใหม่ ธนาคารกลางของประเทศบราซิลและนอร์เวย์จะต้องเร่งหามาตรการมาพยุงค่าเงินของตนเองไว้ มีความเป็นไปได้มากกว่าเหตุการณ์ต่อไปที่อาจจะเกิดขึ้นคือการร่วมมือกันมากขึ้นในระดับโลกซึ่งหากเกิดขึ้นจริงนักลงทุนจะเทขายดอลลาร์และไม่ซื้อเพิ่ม แม้ว่าการแทรกแซงค่าเงินจากธนาคารกลางจะไม่สามารถช่วยพยุงค่าเงินไว้ได้นานแต่ก็จะช่วยลดความวิตกกังวลและพอจะทำให้ตลาดหุ้นในประเทศตัวเองปรับตัวขึ้นไปได้บ้าง