สามารถเรียกได้อย่างเต็มปากแล้วว่าวิกฤตไวรัสโคโรนาครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี แต่ถึงอย่างนั้นสกุลเงินดอลลาร์ก็ยังสามารถมีมูลค่าที่สูงขึ้นในฐานะสินทรัพย์สำรองที่ใครๆ ก็อยากถือเอาไว้ก่อนในช่วงที่มีแต่ความไม่แน่นอน
ในปี 2008 ซึ่งเป็นวิกฤตทางการเงินอันโด่งดังของโลก เราเคยเห็นดัชนี S&P 500ร่วงลงมาแล้ว 57.69% จากสุดสูงสุดในเดือนตุลาคมปี 2007 ลงมาจนถึงจุดต่ำสุดเดือนมีนาคมปี 2009 หลังจากนั้น 5 เดือนต่อมาดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถทะยานขึ้น 26.76% จากจุดต่ำสุดเดือนมีนาคม 2008 ขึ้นไปยังจุดสูงสุดในเดือนมีนาคมปี 2009
ก่อนหน้านั้นอีกในปี 2001-2002 ดัชนี S&P 500 เคยร่วงลง 50.5% จากจุดสูงสุดในเดือนมีนาคมปี 2000 ลงมาถึงจุดต่ำสุดในเดือนตุลาคมปี 2002 ซึ่งตอนนั้นจุดต่ำสุดของดัชนีดอลลาร์สหรัฐลงไปต่ำกว่าตัวเลขของดัชนี S&P 500 เสียอีก แต่ในช่วงนั้นดัชนีดอลลาร์สหรัฐก็สามารถกลับขึ้นมาได้จากจุดต่ำสุดเดือนตุลาคมปี 1999 ขึ้นมาถึงจุดสูงสุดในเดือนกรกฎาคมปี 2001 คิดเป็นการปรับตัวขึ้นมาทั้งหมด 24.08%
เมื่อวันจันทร์เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับดัชนีดอลลาร์สหรัฐว่ากราฟอาจจะมีการวิ่งในรูปแบบเดิม (หมายถึงปรับตัวขึ้นในยามวิกฤต) และเปลี่ยนสถานะตัวเองเป็นสกุลเงินที่เป็นสินทรัพยสำรองท่ามกลางการร่วงลงของตลาดหุ้นทั้งกระดาน สาเหตุที่เราเชื่อว่ากราฟจะลงก่อนแล้วค่อยขึ้นได้เพราะก่อนหน้านี้จนถึงปัจจุบันดัชนีได้ปรับตัวเป็นรูปแบบของสามเหลี่ยมปากกว้างซึ่งเป็นรูปแบบของราคาในแนวโน้มขาลง
เราคาดการณ์ไว้ว่ากราฟจะดีดตัวกลับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดล่าสุดซึ่งเป็นไปตามรูปแบบปกติของ Peak & Trough ที่เมื่อราคาลงไปสร้างจุดต่ำสุดได้แล้ว ราคาจะต้องดีดขึ้นมาอย่างน้อยก็เพื่อย่อเหมือนกับเวลาที่นักกีฬาว่ายน้ำกระโดดสปริงบอร์ด แต่กลายเป็นว่าการดีดตัวขึ้นครั้งนี้เร็วและแรงกว่าที่คิดไว้ นักลงทุนในยุคนี้ไม่อาจรอให้ราคาค่อยๆ ปรับตัวขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุด ย่อก่อนแล้วค่อยขึ้นได้อีกต่อไปแล้ว
คำถามก็คือว่าเส้นทางของสกุลเงินดอลลาร์ต่อจากนี้กลายเป็นขาขึ้นที่สดใสโชติช่วงชัชวาลแล้วเลยหรือไม่?
จากกราฟในปัจจุบันแน่นอนว่านี่คือแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เมื่อขยายภาพออกมาจะเห็นว่าขาขึ้นครั้งนี้เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของการปรับฐานใหญ่มาตั้งแต่ปี 2015 และกลายเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมปากกว้างที่ใหญ่ขึ้น
อ้างอิงรูปแบบและพฤติกรรมการวิ่งของราคาในตอนนี้สะท้อนพฤติกรรมและอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดที่ตื่นกลัวและไม่กล้าตัดสินใจออกมาได้อย่างชัดเจน การวิ่งตามข่าวการขึ้นลงของดัชนีดาวโจนส์และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ไปเรื่อยๆ จนแม้กระทั่งตัวกราฟเองยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วตัวเองต้องการจะวิ่งไปในทิศทางไหน
ถ้าว่ากันตามแหล่งกำเนิดแล้ว รูปแบบความไม่แน่นอนซึ่งเกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้นกราฟย่อมมีสิทธิ์ลงมากกว่าขึ้นเพื่อทำให้รูปบบการวิ่งของราคาสมบูรณ์
แต่ถ้าพิจารณารูปแบบไดเวอร์เจนต์ที่เกิดบนเทรนด์ไลน์ บอกได้ยากมากจริงๆ ว่าเมื่อไหร่ราคาจะสร้างรูปแบบขาลงได้อย่างเสร็จสมบูรณ์และเมื่อไหร่ที่กราฟจะทะลุแนวรับแล้ววิ่งลงมา สำหรับขาขึ้นต้องบอกว่าเมื่อไหร่ที่กราฟจะเกิดรูปแบบวิ่งทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นหรือลงแล้วดีดตัวกลับลงมาเพราะไปไม่สำเร็จ ปกติแล้วรูปแบบการทะลุกรอบราคาล้มเหลวมักใช้เป็นจุดเข้าของแนวโน้มฝ่ายตรงข้ามให้ดันราคาไปในทิศทางที่เขาอยากให้ไปซึ่งในครั้งนี้อาจหมายถึงการดันราคาให้ขึ้นต่อ
เมื่อพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดเชื่อว่ากราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐอาจจะยังวิ่งขึ้นไปต่อตราบเท่าที่นักลงทุนยังไม่คลายความกังวลที่มีต่อไวรัสโคโรนาว่าจะทำให้ตลาดหุ้นร่วงลงไปเรื่อยๆ เหมือนดังเช่นที่ดัชนีดอลลาร์เคยวิ่งในวิกฤตทางการเงินสองครั้งก่อนหน้านี้
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าราคาจะวิ่งกลับลงมาที่ 100 จากนั้นรอรูปแบบแท่งเทียนที่แสดงออกถึงความต้องการอยากขึ้นเพื่อยืนยันการปรับตัวขึ้นต่อ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอจนกว่ากราฟจะวิ่งกลับลงมาเพื่อหาจุดเข้าที่ดีกว่าโดยจะไม่รอแท่งเทียนยืนยันขาขึ้น
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะลองเสี่ยงเข้าในเทรนด์ตรงข้ามโดยพิจารณาจุดเข้าจากกราฟรายชั่วโมง ในกรณีนี้จะมองว่ากราฟเกิดรูปแบบ double-top แม้ว่าจะเป็น double-top ที่ต้านเทรนด์หลักอยู่ก็ตาม การเทรดแบบนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนมืออาชีพเท่านั้น
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 100.80 (หลังจากที่กราฟทะลุ 100.50 ลงมาแล้วและได้ดีดกลับขึ้นไปทดสอบเส้น neckline)
- Stop-Loss: 101.00
- ความเสี่ยง: 20 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:100.00
- ผลตอบแทน: 80 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:4