ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์รายวัน: 29 มกราคม 2020
โดยคุณเคธี่ เหลียน กรรมการผู้จัดการวางกลยุทธ์การลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ของบริษัทจัดการสินทรัพย์บีเค
หลังจากนักลงทุนในตลาดต้องเผชิญกับการร่วงลงของราคาอย่างรุนแรงในวันเดียว ในที่สุดตลาดหุ้นสหรัฐก็สามารถดีดตัวกลับขึ้นมาได้ในช่วงเช้าของวันนี้ แม้นักลงทุนจะหวังว่าผลกระทบจากไวรัสโคโรนาที่มีต่อตลาดหุุ้นจะจบลงแล้วแต่เราต้องไม่ลืมว่าตอนนี้โลกยังไม่เห็นผลกระทบข้างเคียงจากไวรัสโคโรนาอย่างจริงจัง เรายังเห็นข่าวหลายๆ ประเทศสั่งห้ามไม่ให้มีการเดินทางไปเที่ยวประเทศจีน โลกยังคงจับตาดูการคัดกรองผู้ติดโรคจากในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลกอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ความกลัวว่าจะมีการติดโรคยังคงแพร่ปกคลุมอยู่ทั่วโลกนั่นคือสาเหตุว่าทำไมนักลงทุนบางคนยังคงเชื่อในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอยู่ ดังนั้นจึงขอประเมินไว้ก่อนว่าการกลับตัวขึ้นมาครั้งนี้ของราคาจะเป็นเพียงการกลับตัวขึ้นมาชั่วคราวเท่านั้น
ในขณะเดียวกันสัปดาห์นี้นักลงทุนต่างให้ความสนใจกับการประกาศนโยบายทางการเงินโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดี นักวิเคราะห์จากหลายๆ สำนักเชื่อว่าเฟดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใดๆ ซึ่งจากการประชุมครั้งล่าสุดเฟดก็ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน ประธานธนาคารกลางนายเจอโรม พาวเวลล์เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยในขณะที่อัตราเงินเฟ้อกำลังเติบโตทีละนิด เฟดต้องการให้อัตราเงินเฟ้อโตไปอย่างมั่นคงก่อนที่จะใช้มาตรการรัดกุมในการควบคุมอัตราดอกเบี้ย อ้างอิงข้อมูลจาก “dotplot” ที่รายงานเมื่อช่วงสิ้นปี 2019 ระบุว่าผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่ของเฟดมองว่าไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในปี 2020
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเมื่อเฟดจัดแถลงการณ์หลังตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินไปแล้ว คำถามที่ประธานเฟดอาจจะต้องเจอคือคำถามดังต่อไปนี้:
1. ภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แย่ลงกว่าเดิมหรือไม่?
2. สถานการณ์ของไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ หรือไม่?
3. การชะลอตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะจบลงเมื่อใด?
เริ่มต้นที่ภาพรวมทางเศรษฐกิจกันก่อน สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ มีทั้งดีขึ้นและแย่ลงแม้ว่าจะผ่านการเจรจาลงนามสัญญาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีนขั้นแรกกันมาแล้วก็ตาม อ้างอิงข้อมูลจากตารางด้านล่างจะเห็นว่าตัวเลขยอดขายปลีกมีการดีดตัวกลับขึ้นมาในช่วงสิ้นปี 2019 และตัวเลขกิจกรรมภาคการบริการก็ดีขึ้นแต่ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อัตราการเติบโตของตัวเลขจ้างงานและค่าจ้างโดยเฉลี่ย อัตราเงินเฟ้อ กิจกรรมด้านการผลิตและดุลการค้าลดลง
เราเชื่อว่าข้อมูลตรงนี้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เฟดเปลี่ยนใจไปลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ เฟดน่าจะรอดูข้อมูลที่อัปเดตแล้วอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคมก่อนเพราะข้อมูลในตอนนั้นจะชี้ให้เห็นถึงกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนาด้วยแล้วเฟดจึงจะตัดสินใจอีกที ยิ่งไปกว่านั้นจากข้อมูลผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ ตอนนี้ที่ยังไม่มีเพิ่มเติมและการควบคุมกับจัดการผู้ติดเชื้อได้เป็นอย่างดีของสหรัฐฯ ยิ่งทำให้พาวเวลล์มั่นใจและมองว่าผลกระทบจากไวรัสโคโรนาในประเทศยังไม่สามารถทำร้ายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ขนาดที่นักลงทุนกังวล
สุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุดคือเรื่องเกี่ยวกับสภาพคล่อง ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้จัดให้มีการเพิ่มสภาพคล่องอย่างมหาศาลผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาล เฉพาะตัวเลขในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้สภาพคล่องมามากถึง $400,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้อธิบายกลยุทธ์นี้ว่าเป็นวิธีการควบคุมกลไกทางด้านการเงินอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งธนาคารกลางจะยังคงปล่อยให้มีการซื้อพันธบัตรอย่างนี้ไปจนถึงช่วงไตรมาสที่ 2
แล้วหลังจากนั้นแล้วจะเกิดอะไรขึ้น? นักลงทุนอาจจะได้ทราบเกี่ยวกับแผนเพื่อรองรับการทำ QE จากธนาคารกลางและคำตอบเพิ่มเติมจากคำแถลงการณ์ของเจอโรม พาวเวลล์ ในช่วงเช้าของวันพรุ่งนี้
นอกเหนือจากการประชุมของ FOMC แล้วยังมีตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของออสเตรเลียและรายงานดุลบัญชีการค้าของนิวซีแลนด์ที่น่าสนใจ ทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์ต่างปรับตัวลดลงมาเป็นเวลาสักระยะแล้ว แต่ก่อนที่ราคาของทั้งคู่จะลงไปแตะจุดต่ำสุดของราคาในรอบ 7 สัปดาห์ได้ ดัชนี CPI ของออสเตรเลียอาจสร้างแรงขาขึ้นเล็กๆ ได้ถ้าตัวเลขนี้สามารถออกมาสูงเกินกว่าตัวเลขคาดการณ์ อย่างไรก็ตามตัวเลขกิจกรรมภาคการผลิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญของนิวซีแลนด์เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความอ่อนแอทางด้านการค้าของประเทศ