รับส่วนลด 40%
🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

ลุ้นเจรจาการค้าจีน-สหรัฐฯ ชี้ชะตาทิศทางตลาดทุน

เผยแพร่ 07/10/2562 11:52
อัพเดท 09/07/2566 17:32
US500
-
SSEC
-

Weekly Investment Theme: Oct 7 – Oct 11, 2019

Market Review

  • ตลาดการเงินถูกรุมเร้าด้วยปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปที่อ่อนแอ่กว่าคาด รวมทั้งความกังวลมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับยุโรป ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกต่างปรับตัวลดลง

  • ความผันผวนในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นและความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอย ทำให้นักลงทุนเลือกที่จะพักเงินในสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างพันธบัตรรัฐบาล และทองคำ โดย พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวขึ้นโดดเด่น หนุนโดยฟันด์โฟลว์ไหลเข้า ETF ตราสารหนี้สหรัฐฯ ราว 1.5 พันล้านดอลลาร์ ส่วนราคาทองคำก็พลิกกลับมาปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากความคาดหวังว่าเฟดจะต้องลดดอกเบี้ยในเดือนตุลาคมเพื่อพยุงเศรษฐกิจ

  • ส่วนตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ยังคงดิ่งลงต่อเนื่อง 4.3% ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันดิบลดลง หากเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอย

Economic Outlook

  • สัปดาห์นี้ การเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในวันที่ 10-11ตุลาคม จะเป็นประเด็นสำคัญที่นักลงทุนทั่วโลกต่างจับตา โดยตลาดคาดหวังว่าการเจรจาครั้งนี้อาจนำไปสู่การพักรบสงครามการค้าชั่วคราว เนื่องจากสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ดังนั้นประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ที่กำลังเผชิญปัญหาการเมือง ก็อาจต้องการเรียกคะแนนเสียงด้วยการขอพักรบสงครามการค้ากับจีน

  • ในส่วนข้อมูลเศรษฐกิจ เริ่มจากฝั่งยุโรป ในวันอังคาร ตลาดมองว่า เศรษฐกิจเยอรมนียังไม่ฟื้นตัว สะท้อนจากยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ที่จะหดตัวราว 0.7% จากเดือนก่อนหน้า เพิ่มโอกาสที่เยอรมนีจะเช้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่วนในวันศุกร์ ตลาดประเมินว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (U of Michigan Consumer Sentiment) จะลดลงสู่ระดับ 91จุด จาก93.2จุด ในเดือนก่อนหน้า หลังเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้น

  • นอกเหนือจากประเด็นสงครามการค้าและรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะให้ความสนใจรายงานการประชุมล่าสุดของเฟด (FOMC Meeting Minutes) รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) อาทิ ประธานเฟด Jerome Powell ในวันอังคารและวันพุธ เพื่อติดตามมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเป็นไปได้ของการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อสินทรัพย์หรือคิวอีรอบใหม่

Theme of the Week

  • สัปดาห์นี้ มองว่า นักลงทุนจะรอดูทิศทางการเจรจาการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯในช่วงวันที่ 10-11 ตุลาคม และจะกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น เมื่อปัจจัยเสี่ยงสงครามการค้าเริ่มคลี่คลาย

  • อย่างไรก็ดี ในระยะสั้นนี้ ตลาดก็อาจกลับมาเปิดรับความเสี่ยงได้ไว หากบรรดาคณะกรรมการนโยบายการเงินเฟดต่างออกมาส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่ผอนคลายมากขึ้น หลังภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯแย่ลงกว่าคาด ซึ่งสินทรัพย์ที่จะได้รับอานิสงส์โดยตรง หากเฟดผ่อนคลายนโยบายการเงินก็คือ พันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลตลาดเกิดใหม่ที่ยังมียีลด์ที่น่าสนใจดว่ายีลด์จากบอนด์ตลาดพัฒนาแล้ว
  • ส่วนนักลงทุนที่กล้าเปิดรับความเสี่ยงได้เต็มที่และเชื่อว่าสหรัฐฯกับจีนจะพักรบชั่วคราว หุ้นจีน คือคำตอบ โดยเฉพาะหุ้นจีน A-shares เพราะถ้าหากสงครามการค้าเริ่มคลี่คลาย หุ้นจีนก็พร้อมที่จะปรับตัวขึ้นต่อได้ อีกทั้งหุ้นจีนยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ ตามการเพิ่มสัดส่วนหุ้นจีนบนดัชนี MSCI และการปลดล็อกลิมิตการลงทุนในจีนจากนักลงทุนต่างชาติ

  • ในระยะยาว เราเชื่อว่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัวคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมได้ ดังนั้น นักลงทุนควรทยอยซื้อสะสม “พันธบัตรรัฐบาล” โดยนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ พันธบัตรรัฐบาลตลาดเกิดใหม่ (EM Sovereign Bonds) ก็ยังน่าสนใจ ด้วยระดับยีลด์ที่สูงกว่า พันธบัตรรัฐบาลตลาดพัฒนาแล้ว อีกทั้ง บอนด์ EM มักจะปรับตัวขึ้นได้ดี ในช่วงที่เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลง

สำหรับมุมมองเราต่อ Asset Classes ต่างๆ มีดังนี้

  • Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว และความไม่แน่นอนของสงครามการค้าจะเป็นปัจจัยที่สามารถกดดันบรรยากาศการลงทุนได้ทุกเมื่อ นักลงทุนจึงควรลดสัดส่วนการถือครองหุ้น และรอโอกาสเข้าซื้อ หากตลาดมีการปรับฐานหนัก (Buy on Dip) เพื่อเลือกซื้อของถูก โดยควรเน้นหุ้นที่มีคุณภาพดีและให้ปันผลสูง (High Quality and High Dividend Yield)

  • US Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มชะลอตัวมากขึ้น และปัจจุบัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ซื้อ/ขายกันในระดับราคาที่แพง (P/E 19.4ท่า) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา (P/E 17.9 เท่า) ซึ่งหากเศรษฐกิจไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นจากเดิมมาก หรือผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่ได้ออกมาดีเกินคาดไปมาก Upsides ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ดูจะไม่คุ้มความเสี่ยง

  • Europe Equity: คงมุมมอง “Neutral” เนื่องจากโอกาสเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบของสงครามการค้าและปัญหาการเมืองในยุโรปอาจกดดันแนวโน้มผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน แต่หุ้นยุโรปก็ยังมีแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นของธนาคารกลางยุโรป

  • Japan Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะตลาดการเงินมีแนวโน้มผันผวนสูงขึ้น กดดันให้เงินเยนมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นเสมอ จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Assets) ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อหุ้นญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ราคาปัจจุบันของหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX Index) ที่ P/E 13.8 เท่า ถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 10ปีที่ผ่านมา ที่ระดับ 17.5 เท่า
นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

  • EM Equity: คงมุมมอง “Neutral” แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ยังไม่สดใส จากปัญหาสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ แต่ตลาดหุ้นก็สามารถรีบาวด์ขึ้นได้ในช่วงสั้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางทั่วโลก

  • China Equity: คงมุมมอง “Overweight” โดยเราเชื่อว่าในระยะสั้น ทั้งสองฝ่ายมีความต้องการที่จะพักรบสงครามการค้าชั่วคราว นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีนก็ยังมีปัจจัยหนุนอยู่ ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางจีน (PBOC) และ การเพิ่มสัดส่วน หุ้นจีน A-Shares บนดัชนีของ MSCI อีกทั้งระดับราคาปัจจุบันของหุ้นจีน (P/E 13.8 เท่า) ถือว่าไม่แพง เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ด้วยความสามารถในการทำกำไรที่สูง (ROE 13%) และการปรับฐานของตลาดหุ้นจีนก็จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนทยอยซื้อสะสมหุ้นจีน (Buy on Dip) ในราคาที่ไม่แพง

  • Thai Equity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงและทั้งปีจะโตได้ไม่ถึง 3%จากปีก่อนหน้า ทำให้แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอาจแย่ลงกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้

  • Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” เพราะนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจากธนาคารกลางทั่วโลก คือปัจจัยหนุนตลาดบอนด์ นอกจากนี้ ตราสารหนี้ก็ยังเป็นทางเลือกหลักในการพักเงินของนักลงทุนในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวน อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรรอจังหวะที่บอนด์ยีลด์เด้งขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบอนด์

  • Global Fixed Income: คงมุมมอง “Overweight” โดยมองว่าทั้งตราสารกลุ่ม HY และตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ (EM Debts) จะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเฟด นอกจากนี้ ยีลด์เฉลี่ยของบอนด์กลุ่ม HY ประมาณ 6.3% ถือว่าน่าสนใจ ส่วนยีลด์เฉลี่ยของกลุ่ม EM ปัจจุบันอยู่ที่ 3.8% น่าดึงดูดกว่ายีลด์ในฝั่งของตลาด DM และยังมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ตามการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางใน EM

  • Thai Fixed Income: คงมุมมอง “Underweight”เพราะยีลด์บอนด์ไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.6% ต่ำกว่า ยีลด์โดยเฉลี่ยจากบอนด์กลุ่ม EM ที่ระดับ 3.8% หรือ ยีลด์ของตราสาร HY ที่ 6.3% ทำให้นักลงทุนมีตัวเลือกที่ดีกว่าบอนด์ไทย

  • Alternative Assets: คงมุมมอง “Overweight” เนื่องจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายทั่วโลก จะกดดันผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ส่วนต่างระหว่างยีลด์ของกองทุนอสังหาริมทรัพย์และบอนด์ยีลด์จากพันธบัตรรัฐบาลยังสูงเกินระดับ 2.6%-2.9% ซึ่งเป็นระดับที่ผู้จัดการกองทุนอสังหาฯ มองว่าราคากองอสังหาฯแพงไป และไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ดีนักลงทุนควรตระหนักไว้ว่า หากตลาดกลัวความเสี่ยงมากและไล่ขายสินทรัพย์เสี่ยง กองทุนอสังหาฯ ก็จะมีโอกาสโดนเทขายได้เช่นกัน

  • REITs/Infra.: คงมุมมอง “Overweight” เพราะกองทุนอสังหาฯ โดยรวมยังให้ยีลด์ที่สูงกว่าตราสารหนี้ และยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ทว่า นักลงทุนก็ควรเลือกกองทุนอสังหาฯที่มีการกระจายการลงทุนในต่างประเทศ และมีสัดส่วนการลงทุนมากกว่าในไทย เพราะกองทุนอสังหาฯไทย ปรับตัวขึ้นค่อนข้างมากอย่างรวดเร็ว จากความต้องการของนักลงทุนและสภาพคล่องที่ต่ำ ทำให้กองทุนอสังหาฯไทย แพงขึ้นมากในสายตาของนักลงทุนสถาบัน ซึ่งพร้อมที่จะขายทำกำไรกองทุนอสังหาฯไทยได้ทุกเมื่อ

  • Commodity: คงมุมมอง “Underweight” เพราะราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบ โดยความต้องการน้ำมันจะกลับมาลดลง ตามภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่อุปทานน้ำมันดิบก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นหนุนโดยกำลังการผลิตน้ำมันในฝั่งสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • Gold: คงมุมมอง “Overweight” เพราะข้อมูลในอดีตชี้ชัดว่าทองคำจะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในช่วงที่ธนาคารกลางต่างใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อีกทั้งราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการซื้อสะสมของบรรดาธนาคารกลาง และนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงตลาดปั่นป่วน ดังนั้นการปรับฐานของราคาทองคำ จะเป็นโอกาสให้นักลงทุนเข้าซื้อสะสมทองคำ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง (Buy on Dip)

ความคิดเห็นล่าสุด

ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณครับ มีคำแนะนำ ติชม บอกได้เลยครับ
ตามอ่านทุกวีคเลยครับ
ขอบคุณครับผม มีข้อสงสัย หรือคำแนะนำอะไรก็บอกได้เลยครับ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย