-
หุ้นฟื้นตัวขึ้นมาได้ต่อเนื่องสองวันติด นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าจะมีการนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้อีกรอบ
-
ตลาดหุ้นในรอบสัปดาห์กลับได้รับแรงกดดันในการซื้อขายอันเนื่องมาจากตัวเลขรายงานทางเศรษฐกิจที่ยังย่ำแย่
ตลอดสัปดาห์แรกของการซื้อขายในเดือนตุลาคมยังคงมีความผันผวนตามที่คาดไว้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่รายงานออกมาหลายตัวก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร ผลตอบแทนพันธบัตรที่ยังปรับลดลงก็อาจเป็นแรงกดดันให้ดัชนี S&P 500 ขึ้นทำจุดสูงสุดได้
แม้ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P 500, ดาวโจนส์, NASDAQ และ Russell 2000 สามารถปรับตัวขึ้นมาได้ แต่เมื่อพิจารณาเทียบเป็นรายสัปดาห์ตลาดหุ้นยังถือว่ามีการเทขายอย่างต่อเนื่อง นำโดยหุ้นกลุ่มที่ไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นหรือสาธารณูปโภค รวมทั้งในช่วงเดียวกันนี้ผลตอบแทนพันธบัตรก็ร่วงลงไปด้วยเช่นกัน
รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรายงานจาก ISM ก็เริ่มทำให้นักลงทุนกังวลมากขึ้นว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังจะชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก สัญญาณอันตรายเริ่มปรากฏขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ดัชนี PMI ในภาคการผลิตของ ISM หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง รวมทั้งตัวเลข ดัชนีในภาคบริการ ก็ปรับลดลงด้วยเช่นกัน แต่ยังยืนอยู่ในแดนบวกได้
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ประจำเดือนซึ่งประกาศออกมาเมื่อวันศุกร์นั้นยังต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง ก็ยังลดลง แต่ อัตราการว่างงาน กลับลดต่ำลงเหลือ 3.5% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดเมื่อนับจากปี 1969 เป็นต้นมา ข้อมูลชิ้นสุดท้ายนี้เองที่เป็นสิ่งที่เฟดเฝ้ารอและคาดหวังว่าน่าจะช่วยให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งก็จะส่งผลให้ จีดีพี ของประเทศปรับตัวขึ้นตามไปได้ด้วย
แต่กระนั้น ความคาดหวังที่จะเห็นการ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ในเดือนนี้ก็ยังคงมีอยู่ แม้ว่าตัวเลขปริมาณการจ้างงานจะช่วยบรรเทาความกังวลลงไปได้บ้างแล้วก็ตาม ความคิดเห็นในตลาดขณะนี้จึงยังค่อนข้างขัดแย้งกันอยู่พอสมควร ล่าสุดตลาดเริ่มมีการเทขายออกมาเนื่องจากเห็นว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาดีอาจลดโอกาสที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้ง แต่ตรงกันข้าม หากตัวเลขออกมาแย่ เฟดก็น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
กระแสข่าวที่มีในตลาดขณะนี้ก็ยังค่อนไปในทางที่ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หลังจากที่ นายเจอโรม พาวเวลล์ กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าสภาพเศรษฐกิจในขณะนี้ “กำลังประสบความเสี่ยงอยู่บ้าง” แต่ภาพรวมก็ยังอยู่ในสถานะ “ที่ยังพอใช้ได้”
ดัชนี S&P 500 กำลังจะทำจุดสูงสุดจริงหรือ?
หากพิจารณาในระยะสั้น เมื่อวันศุกร์ ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นได้เป็นวันที่สอง ถือว่าเป็นการทำผลงานที่ดีที่สุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ นำโดยหุ้นกลุ่ม เทคโนโลยี หลังจากที่มีรายงาน จากญี่ปุ่นออกมาว่ายอดขายไอโฟนรุ่นใหม่ของ Apple (NASDAQ:NASDAQ:AAPL) ดีเกินคาด
ราคาดัชนี S&P 500 รายวัน
เมื่อพิจารณาจากกราฟ ดัชนี S&P 500 กำลังอยู่ในช่วงของ การกลับตัว ก่อนที่จะขึ้นทำจุดสูงสุด
กราฟผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ รุ่นอายุ 10 ปีแบบรายวัน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ รุ่นอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่เจ็ดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยปรับลดลงจากจุดต่ำสุดในวันที่ 3 กันยายนอีก 6 จุดเบสิส ถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2016 เป็นต้นมา จึงเป็นอีกครั้งที่ตลาดหุ้นและพันธบัตรเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในระยะสั้น หากกราฟดัชนี S&P ยังดำเนินต่อไปเช่นนี้ก็จะเกิดการปรับฐานในระยะกลางได้
กราฟราคาดัชนีดอลลาร์สหรัฐแบบรายวัน
แม้ว่าจะยังทรงตัวอยู่เหนือเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนได้ แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดอลลาร์ ก็ร่วงลงมาต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ อย่างไรก็ตามเส้น RSI ส่งสัญญาณว่าราคาอาจจะหลุดลงมาต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้นได้ เนื่องจากโมเมนตัมกำลังสร้างรูปสามเหลี่ยมชี้ลงซึ่งจะทำให้ราคามีโอกาสกลับตัวเป็นขาลงได้
กราฟราคา BTC/USD แบบรายวัน
บิทคอยน์ ทะลุแนวชายธงขาขึ้นด้านล่างลงไปได้ หลังจากที่ราคามีการปรับลดลงอย่างรวดเร็วก่อนหน้านี้ และน่าจะส่งผลให้ยังเป็นขาลงต่อไปหลังจากที่ทำรูปแบบสามเหลี่ยมขาลงได้สมบูรณ์
กราฟราคาน้ำมันรายวัน
น้ำมัน ปรับตัวขึ้นมาได้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยปรับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนมาปิดในวันศุกร์ได้สูงขึ้นที่ระดับเกือบ $53