รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ZEN … จะโตหรือไม่โตอยู่ที่ไหน

เผยแพร่ 02/10/2562 09:32
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ZEN … จะโตหรือไม่โตอยู่ที่ไหน

6 แบรนด์อาหารญี่ปุ่น 6 แบรนด์อาหารไทย
144 ร้านของตัวเอง 152 ร้านแฟรนไชส์ (ตัวเลขถึง 31 สิงหาคม)
แฟรนไชส์หลัก คือ ตำมั่ว 105 สาขา ขณะที่เขียงเพิ่งเปิดแค่ 3

รายได้ย้อนหลัง ขอแนะนำให้ไปดู Jitta อันนี้ความรู้ใหม่เลย ถ้าเป็นหุ้น IPO แล้วเราอยากหาตัวเลขงบการเงินในอดีตที่ Filing ไม่ได้ระบุไว้ ให้เปิด Jitta จะมีเขียนไว้ อย่างของ ZEN ก็มีข้อมูลตั้งแต่ปี 2014 เลย เพื่อไม่ให้ยาวไป เราตัดภาพมาแค่ 3 ปี ย้อนหลังพอ

ปี 2016 รายได้รวม 2,197 ล้านบาท กำไรสุทธิ 93 ล้านบาท
ปี 2017 รายได้รวม 2,513 ล้านบาท กำไรสุทธิ 82 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้รวม 2,965 ล้านบาท กำไรสุทธิ 140 ล้านบาท

1H’18 รายได้รวม 1,469 ล้านบาท กำไรสุทธิ 71 ล้านบาท
1H’19 รายได้รวม 1,496 ล้านบาท กำไรสุทธิ 65 ล้านบาท

==================

รายได้โตดีมาตลอด แต่เริ่มเอื่อยตอน Q4’18

ถ้าดูยอดขายรายปี รายได้โตแบบ Double Digit ทั้งเปิดสาขาเพิ่ม และ SSSG ที่เป็นบวกมาตลอด แต่ทว่าพอเริ่ม Q4’18 เป็นต้นมา SSSG ติดลบมา 3 ไตรมาสติดคือ -2.3%, -4.4% และ -1.3% แต่ยอดขายรวมยังโตได้อยู่จากการเปิดสาขา และขายแฟรนไชส์

ผู้บริหารให้เหตุผลที่มีทั้งฟังขึ้นและน่าสงสัย เช่น การบริโภคและการท่องเที่ยวชะลอตัว ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 เหตุระเบิดในกรุงเทพ ยอดขายที่ภูเก็ตและพัทยาลดลงเยอะฉุดภาพรวม เป็นต้น

แต่ไม่ว่าจะอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่น่ากังวลคือ SSSG ว่าจะกลับมาเป็นบวกได้มั้ยและได้เมื่อไหร่

ในด้านของกำไรสุทธิเอง ก็เหมือนจะไม่ได้ดูดีมาก ยกเว้นปี 2018 ที่โตโดดมา 140 ล้านบาท เพราะยอดขายปีนั้นโตจริง ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี และมีรายการพิเศษจากการกลับรายการประมาณการหนี้สินการรื้อถอน 17 ล้านบาท แต่ถึงหักออกไปก็โตเยอะอยู่ดี และถ้าหักก้อนนั้นไป 1H’19 กำไรจะบวกอยู่ 21%

====================
ปัจจัยอะไรที่จะมาทำให้ ZEN โต

1. ชิม ช็อป ใช้

เป็นปัจจัยระยะสั้นสำหรับ Q4’19 เพราะว่าตามข้อกำหนดของรัฐบาลมีการจำกัดจำนวนร้านค้าที่เข้าร่วมได้แค้ 20 สาขาต่อหนึ่งชื่อบริษัท และด้วยความที่ ZEN แยกบริษัทบริหารแต่ละแบรนด์ทำให้ได้อานิสงส์นี้ไปคือ สามารถเอาร้านเข้าร่วมโครงการนี้ได้ประมาณ 60 สาขา ก็น่าจะทำให้มีรายได้เพิ่มแต่เป็นระยะสั้นและอาจเป็น one-time

และที่สำคัญคนที่ได้สิทธิ์ ชิมช็อปใช้ น่าจะไม่ใช่คนกลุ่มรากหญ้า เพราะกดยาก กรอกข้อมูลซับซ้อน ต้องโหลด app เป๋าตัง อีก คือ กว่าจะได้เงิน 1,000 บาท ต้องใช้ทั้งความรู้และความอดทน ผมกำลังจะบอกว่า คนกลุ่มนี้ก็คงเอามากินมาช็อปร้านอาหาร โรงแรม กันเยอะอยู่

2. ขยายแฟรนไชส์รัวๆ

สัดส่วนรายได้แฟรนไชส์ตอนนี้แค่ 8.4% เท่านั้นเอง คือ น้อยกว่าที่คิดมาก โดยเฉพาะ “เขียง” ร้านตัวเอง 23 แฟรนไชส์ 3 ทีแรกคิดว่าจะทำได้เยอะกว่านี้ อาจจะเป็นเพราะรอดูท่าทีก่อนว่าสาขาที่เพิ่งเปิดมากำไรดีมั้ย มีทั้งเปิดในปั๊ม PTT (BK:PTT) แล้วก็เปิดใน Food Court ตามห้าง ส่วนแบรนด์ตำมั่ว อันนี้ดูอยู่ตัวแล้วน่าจะขยายไปได้เพิ่มทั้งในและต่างประเทศ ต้องติดตามครับว่า ถ้าเพิ่มสัดส่วนรายได้แฟรนไชส์ได้เร็วก็จะช่วยได้เยอะ

3. Delivery คือ เทรนด์แห่งอนาคต

สมัยนี้หลายคนชอบเข้า app กดสั่งอาหารร้านด้งร้านโปรดตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาไปวนหาที่จอดรถ รอคิวอีก ที่สำคัญหลายเจ้าก็คิดค่าส่งไม่แพง ZEN เองก็เช่นกันจากที่ไม่เคยมีรายได้ทางนี้มาก่อน ปัจจุบันทำรายได้เดือนละ 14 ล้านบาท ปีนึงก็ได้กว่า 200 ล้านบาทนะ

โดยสรุปแล้ว ZEN ดูจะฝากความหวังไว้กับ Franchise โดยเฉพาะจากแบรนด์เขียง และ Delivery ไว้อย่างมาก อาจจะมีประเด็นบวกเพิ่มเติมในกรณีทำ M&A แต่ก็อย่าลืมว่ารายได้หลักของบริษัทมาจากร้านอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะ 3 แบรนด์หลักอย่าง ZEN, AKE, On the Table ก็กินสัดส่วนไป 75% แล้ว ที่สำคัญ SSSG ยังติดลบอีก ก็ต้องดูว่าธุรกิจใหม่จะโตได้เร็วพอที่จะห้ามเลือดที่ไหลออกจากหัวใจได้หรือไม่

และถ้าอยากรู้ว่าแบรนด์อย่าง ตำมั่ว หรือ เขียง จะโตต่อไปได้แค่ไหน ถามคุณบุญยงอาจไม่ชัด ต้องไปถามคุณเบสท์ ศิรุวัฒน์ ชัชวาล อดีตครีเอทีฟโฆษณาผู้ก่อตั้งแบรนด์ร้านอาหารไทยมากับมือ ก่อนที่ ZEN จะมาซื้อไป ไว้ตอนหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังถึงวิธีคิดของผู้ชายคนนี้ครับ

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง Stock Vitamins - วิตามินหุ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย