ดอลลาร์เริ่มอ่อนแรง ในขณะที่ยูโรยังคงต้องรับศึกหนักหลายด้าน

เผยแพร่ 03/07/2562 04:33
อัพเดท 09/07/2566 17:31

ดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management

ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 2 กรกฎาคม 2019

หลังจากที่ ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวขึ้นได้อย่างสวยงามเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้เพียงไม่นานก็กลับมาลดต่ำลงอีกครั้งเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ สืบเนื่องมาจากข่าวดีที่ได้รับจากการประชุม G20 ซึ่งทำให้ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นอีกครั้ง USD/JPY, ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และผลตอบแทนพันธบัตรยังคงปรับตัวลดลงเมื่อประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียต้องยกเลิกการประชุมกับรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยหลังจากที่รองประธานาธิบดีเพนซ์ของสหรัฐฯ เดินทางกลับไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อย่างกะทันหัน โดยในขณะนี้ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่มีรายงานว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางด้านนิวเคลียร์ แม้ว่านักลงทุนอาจจะกำลังสับสนและมีความคิดที่อยากจะรีบขายออกไปโดยเร็ว แต่อย่าลืมว่าหลังการประชุม G20 ดอลลาร์เคยพยายามที่จะไต่ให้สูงขึ้นก่อนที่จะปรับลดลงเช่นนี้ แม้ว่าผลการประชุม G20 จะจบลงได้อย่างสวยงามแต่นักลงทุนก็เริ่มที่จะตระหนักได้ว่า มีเพียงแค่เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าการเจรจาพักรบในครั้งนี้จะเป็นหนทางไปสู่การบรรลุข้อตกลงทางการค้าได้จริงหรือไม่

ในขณะเดียวกันทางฝั่งของเงิน ยูโร ก็ยังคงต้องรับศึกหนักจากปัจจัยหลายด้าน ยูโรดีดตัวสูงขึ้นหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของยุโรปออกมากล่าวว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จึงทำให้ EUR/USD ดีดตัวขึ้นไปอยู่เหนือ 1.1320 แต่ก็ปรับขึ้นได้ไม่นานเนื่องจากยังคงมีสัญญาณออกมาอย่างต่อเนื่องว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านตัวเลข ยอดขายปลีก ของเยอรมันและ ดัชนีราคาผู้ผลิต ของยูโรโซนก็ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม แม้ว่าธนาคารกลางยุโรปจะยังไม่พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทันที แต่อย่าเข้าใจผิด เพราะธนาคารกลางฯ ยังมีเครื่องมือที่พร้อมจะนำออกมาใช้ได้อีกมาก ในช่วงก่อนปิดตลาดเงินยูโรก็ถูกกดดันอีกครั้งหลังจากที่สหภาพยุโรปเสนอชื่อนางคริสเตียน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนนายมาริโอ ดรากี ซึ่งแม้ว่านางลาการ์ดจะมีประสบการณ์ในการทำงานเป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของฝรั่งเศสและเป็นผู้บริหาร IMF มาก็จริง แต่ยังไม่เคยเป็นผู้ว่าการธนาคารมาก่อน จึงทำให้นางลาการ์ดเป็นนักการเมืองคนแรกที่อาจจะได้มาดำรงตำแหน่งนี้ การปรับตัวลดลงของเงินยูโรเพียงเล็กน้อยชี้ให้เห็นว่านักลงทุนน่าจะต้องการให้สมาชิกจากคณะกรรมการชุดเดิมอย่างเช่น นายไวด์มันน์ ประธานธนาคารกลางเยอรมนี หรือนายวิลเลอร์รอย เดอ กัลฮอ ประธานธนาคารกลางฝรั่งเศส ซึ่งน่าจะมีความเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบันของธนาคารกลางมาดำรงตำแหน่งนี้มากกว่า รวมทั้งจะมีการประกาศเพื่อปรับตัวเลขดัชนี PMI ภาคบริการ และ คอมโพสิต ออกมาให้ทราบในวันพรุ่งนี้ หากมีการปรับลดลงก็อาจทำให้ยูโรปรับตัวลงตามไปได้ด้วยเช่นกัน

สกุลเงินที่แปรผันตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้ง 3 สกุลยังคงมีการซื้อขายกันที่ระดับสูงขึ้นได้ แม้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนปรนก็ตาม ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับลด อัตราดอกเบี้ย ลงอีก 25 จุดเบสิส ซึ่งนับเป็นการปรับลงครั้งที่สองของปีนี้ไปอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1% และยังมีท่าทีว่าอาจจะมีการปรับลดได้อีก ซึ่งก็น่าจะไม่เป็นผลดีกับเงินออสเตรเลียเท่าใดนัก แต่หลังจากที่เกิดการปรับตัวลดลงในช่วงแรกแล้ว AUD/USD ก็ฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่นาที เนื่องจากธนาคารกลางได้ออกมาแถลงข่าวดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาบ้าน การใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนทางด้านทรัพยากร นอกจากนี้ตลาดได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวตามมาอีกระลอกในเดือนสิงหาคม ดังนั้นการออกมาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งจึงน่าจะไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจอีกต่อไป จากการแถลงของ นายโลวี ธนาคารกลางออสเตรเลียมีความพร้อมที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหากจำเป็นที่จะต้องช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อขยายตัวได้มากขึ้นต่อไป ธนาคารกลางออสเตรเลียจึงนับเป็นธนาคารกลางที่มีการใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงินมากที่สุดแห่งหนึ่งในปัจจุบันเลยทีเดียว ดังนั้นแนวต้านของ AUD จึงน่าจะลดต่ำลงมาได้อีก ตัวเลขทางเศรษฐกิจสำคัญๆ ของออสเตรเลียซึ่งกำลังจะประกาศออกมาให้ทราบในวันนี้ รวมถึงดัชนี PMI ภาคบริการและรายงานดุลการค้าด้วย หากอุตสาหกรรมการผลิตยังคงซบเซา ประกอบกับท่าทีของธนาคารกลางในการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรนเช่นนี้ ก็น่าจะทำให้ดอลลาร์ออสเตรเลียยังมีความเสี่ยงที่จะปรับลดลงได้อีกอย่างแน่นอน

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย