โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2019
การประชุม G20 จบลงด้วยการเจรจาสงบศึกระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดีสีตกลงที่จะกลับมาเจรจาทางการค้ากันอีกครั้ง โดยที่ทรัมป์รับปากว่าจะยังไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพิ่มเติมกับจีนและยังอนุญาตให้บริษัทของสหรัฐฯ ทำการขายอุปกรณ์ให้กับหัวเหว่ยต่อไปในระหว่างนี้ได้ ด้านจีนก็ยินยอมที่จะกลับมาซื้อสินค้าจากอเมริกาอีกครั้ง และจะซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร “เป็นจำนวนมาก" อีกด้วย เงินดอลลาร์สหรัฐจึงถีบตัวสูงขึ้นตามมา แต่การเทขายเงิน ยูโร, ดอลลาร์ ออสเตรเลีย และดอลลาร์ นิวซีแลนด์ ยังคงเป็นสัญญาณว่าตลาดโดยรวมยังไม่เชื่อสนิทใจว่าสถานการณ์จากนี้ต่อไปจะยังสดใส
ปัญหาก็คือการเจรจาสงบศึกไม่เหมือนกันกับข้อตกลงทางการค้า การที่จีนซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลกยังต้องเผชิญปัญหาทางด้านภาษีอยู่เช่นนี้จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ นักลงทุนยังคงเกิดความกังวลว่าหากจีนได้รับผลกระทบ ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็ย่อมได้รับผลพวงไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่เราได้เห็นผ่านตากันมาบ้างแล้วจากตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิตที่ชะลอตัวลงของทั้งออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและยูโรโซน โดยมีสหรัฐฯ เพียงประเทศเดียวที่ได้รับประโยชน์จากการเรียกเก็บภาษีและการกลับมาเริ่มต้นการเจรจากันใหม่ในครั้งนี้ ตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐฯ ยังเติบโตได้ดีเกินเป้าในขณะที่ประเทศอื่นๆ ทำได้ดีนัก ในอีกแง่หนึ่งก็คือความโมโหของประธานาธิบดีทรัมป์ส่งผลเสียกับประเทศอื่นๆ ไปด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเงิน ดอลลาร์สหรัฐ จึงได้ปรับตัวสูงขึ้นทั้งกระดานในวันจันทร์ที่ผ่านมา
ธนาคารกลางออสเตรเลียจะมีการประชุมกันในคืนนี้ก่อนที่จะแถลงการคาดการณ์ออกมาให้ทราบ การตัดสินใจขยายระยะเวลาข้อตกลงปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันของโอเปกไปจนถึงสิ้นปี 2019 นับเป็นข่าวดีสำหรับ น้ำมัน การปรับตัวของราคาน้ำมันดิบขึ้น 1.7% ช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์แคนาดาได้เพียงเล็กน้อย USD/CAD ถูกเทขายอย่างหนักในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาและยังทรงตัวรอการฟื้นอยู่ การฟื้นตัวขึ้นของ ดอลลาร์สหรัฐ เป็นตัวเร่งชั้นดีที่ช่วยผลักดัน USD/CAD ให้ขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 1.31 ได้ โดยในสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลขสำคัญๆ ทางเศรษฐกิจของแคนาดา ไม่ว่าจะเป็น ดุลการค้า, ดัชนี PMI จากสถาบัน IVEY รวมทั้งตัวเลข ตลาดแรงงาน ออกมาให้ทราบ
แต่ในระยะสั้น ยังคงต้องจับตาไปที่ การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารกลางออสเตรเลีย หลังจากที่ AUD/USD ปรับตัวสูงขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่องถึง 8 วันภายในเวลา 9 วัน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมากลับปรับลดลงค่อนข้างมาก มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดเบสิส คำถามก็คือ หลังจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป คณะกรรมการจะเปลี่ยนท่าทีจากนโยบายแบบประนีประนอมมาเป็นกลาง หรือว่ายังเปิดโอกาสที่จะให้มีการปรับลดเพิ่มเติมอีกครั้ง? เมื่อพิจารณาจากการปรับตัวขึ้นของดอลลาร์ออสเตรเลียในช่วงล่าสุดแล้ว นักลงทุนไม่ได้คาดหวังให้ธนาคารกลางออสเตรเลียใช้นโยบายการเงินแบบประนีประนอมที่มากเกินไป โดยตลาดหวังที่จะเห็นธนาคารกลางออกมาดำเนินการอีกเพียงครั้งเดียวในปีนี้
ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายโลวี ประธานธนาคารกลางออสเตรเลียออกมากล่าวอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับว่าประสิทธิภาพของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นจะดีได้นั้น "ทุกคนก็ต้องใจเย็นๆ ด้วย" ซึ่งนับว่าเป็นความคิดเห็นที่ค่อนข้างแปลก แต่ก็มีมูลความจริงอยู่ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปพร้อมๆ กันนั้นจะทำให้เกิดดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนในการกู้ยืมซึ่งจะเป็นการช่วยภาคธุรกิจและประชาชนในประเทศได้ จากข้อมูลในตารางด้านล่าง ธนาคารกลางออสเตรเลียอาจรอให้มีข้อมูลมากขึ้นกว่านี้ก่อนที่จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย ตัวเลข ยอดขายปลีก และ อุตสาหกรรมการผลิต ยังคงไม่ดีนัก แต่ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง รวมทั้งตัวเลขธุรกิจภาคบริการยังคงเติบโตได้ดี
สถานการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้ 3 อย่างสำหรับธนาคารกลางออสเตรเลียมีดังต่อไปนี้
-
ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดเบสิส และส่งสัญญาณว่ามีความพอใจกับพัฒนาการในปัจจุบันแล้วและไม่จำเป็นต้องปรับอีก ก็จะทำให้ AUD/USD ไปอยู่ที่ระดับ .7050
-
ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดเบสิส และส่งสัญญาณว่าจะต้องมีการปรับลดอีกครั้ง ก็จะทำให้ AUD/USD ปรับตัวลงไปอยู่ต่ำกว่า .6900
-
ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม แต่จะผลักดันให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมครั้งถัดไป ก็จะทำให้ AUD/USD ไปอยู่ที่ .7050