โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2019
เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 48 ชั่วโมงก่อนที่จะมีการจัดการประชุม G20 ขึ้นที่กรุงโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงนี้หลายฝ่ายจึงหันมาให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมากขึ้น ช่วงเช้าของการซื้อขายในตลาดยุโรปวันพุธที่ผ่านมา USD/JPY ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมีข่าวออกมาว่าสหรัฐฯ กับจีนบรรลุข้อตกลงกันไปแล้วถึง 90% แต่ในความเป็นจริงนั้น นายมนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ไม่ได้ให้สัมภาษณ์เช่นนั้น แต่เขากล่าวเพียงว่าการเจรจาข้อตกลงทางการค้า “ในช่วงก่อนหน้านี้เสร็จสิ้นไปแล้วประมาณ 90%” เมื่อพิจารณาจากรูปประโยคจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างอย่างมากระหว่างความหมายของ “ข้อตกลงที่ใกล้จะบรรลุ” กับ “ข้อตกลงที่เกือบจะบรรลุได้ แต่ต้องเลิกล้มไปเสียก่อน”
อย่างไรก็ตาม เงิน ดอลลาร์ มีการปรับตัวขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากนักลงทุนฟอเร็กซ์ยังคงหวังที่จะเห็นการบรรลุข้อตกลงกันได้เสียก่อน นักลงทุนยังคงคาดหวังว่าการเจรจาข้อตกลงทางการค้าจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากที่ทั้งสองประเทศเข้าร่วมการประชุมในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ซึ่งเราก็คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ อะไรก็เกิดขึ้นได้กับประธานาธิบดีทรัมป์ ในวันนี้ทรัมป์กล่าวว่าเขาเชื่อว่าผลการเจรจาข้อตกลงทางการค้าจะออกมาดี แต่ก็รู้สึกว่า “สถานการณ์ปัจจุบันก็ดีอยู่แล้ว” และยังคงมีความคิดที่จะพิจารณาเพิ่มการเรียกเก็บภาษีอยู่ จากความคิดเห็นดังกล่าวทำให้เห็นว่า ทัศนคติของประธานาธิบดีทรัมป์ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนัก ดังนั้นในช่วงที่ USD/JPY กำลังปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนการประชุม G20 ที่กำลังจะมาถึง ก็น่าจะเป็นโอกาสในการทำกำไรกับสกุลเงินคู่นี้ได้ เว้นเสียแต่ว่าจะมีข้อมูลสำคัญใหม่ๆ ออกมาในช่วงก่อนถึงวันศุกร์นี้
ในขณะที่ความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น สกุลเงินหลักอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นำโดย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ที่ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือนซึ่งอาจทำให้ใครหลายคนแปลกใจ เพราะการที่ธนาคารกลางออกมาแถลงว่าอาจจำเป็นต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย หากมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเป็นขาลง สิ่งที่ทำให้ธนาคารกลางเกิดความกังวลก็คือตัวเลขการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของทั่วโลกที่ลดลง และความเสี่ยงของกำลังซื้อในประเทศที่น้อยลง การลดราคาขายบ้านซึ่งแสดงถึงการใช้จ่ายที่กำลังหดตัว รวมทั้งความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกับการตัดสินใจลงทุนทางภาคธุรกิจ NZD/USD จึงปรับตัวลดลงทันทีหลังจากที่มีประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยออกมา แต่ก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้ในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากนั้น หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์น่าจะเลือกใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ออกมาให้เห็น ตลาด สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดอกเบี้ยนโยบาย เชื่อมั่นว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคม 66% และ 79% ในเดือนกันยายนซึ่งก็ไม่แตกต่างจากข้อมูลเมื่อสัปดาห์ก่อนมากนัก แต่ในขณะนี้ทุกคนต่างหันไปจับจ้องที่การประชุม G20 แทนและด้วยความที่ NZD เป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงมากที่สุดตัวหนึ่ง หากความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนพัฒนาขึ้น ย่อมส่งผลด้านบวกกับ NZD ด้วยอย่างมาก
USD/CAD ร่วงลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนโดยมีน้ำมันเป็นปัจจัยหลัก ราคาน้ำมันดิบ ปรับตัวสูงขึ้นได้มากกว่า 3% หลังจากที่เกิดการขาดแคลนน้ำมันครั้งสำคัญในฝั่งอีสต์โคสท์ ซึ่งนับเป็นความเสียหายครั้งร้ายแรงที่อาจทำให้โรงกลั่นน้ำมันที่มีอายุมากที่สุดและขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคต้องปิดกิจการอย่างถาวรได้ เศรษฐกิจของแคนาดายังคงเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยในสัปดาห์นี้มีการประกาศตัวเลขรายงานทางเศรษฐกิจตัวหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักออกมาก็คือ ยอดขายส่ง ที่มีปริมาณสูงขึ้นซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้น ส่วน ตัวเลขจีดีพี ที่มีกำหนดจะประกาศออกมาให้ทราบในวันศุกร์นี้น่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ แต่ก็อาจมีโอกาสที่จะสูงขึ้นได้ แนวรับถัดไปของ USD/CAD อยู่ที่ 1.30