รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.73 อ่อนค่ารับดอลลาร์แข็ง หลัง CPI สหรัฐสูงกว่าคาด หนุนเฟดไม่เร่งลดดอกเบี้ย

เผยแพร่ 13/03/2567 16:33
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.73 อ่อนค่ารับดอลลาร์แข็ง หลัง CPI สหรัฐสูงกว่าคาด หนุนเฟดไม่เร่งลดดอกเบี้ย

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.73 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากปิดวันก่อนที่ระดับ 35.57 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ตามการพลิกกลับมาปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังเงิน เฟ้อ (CPI) สหรัฐฯ ออกมา 3.2% สูงกว่าคาดเล็กน้อย ทำให้ตลาดมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่รีบปรับลดดอกเบี้ย นโยบาย และอาจลดดอกเบี้ยเพียง 3 ครั้งในปีนี้ สำหรับวันนี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าลุ้นอาจมีไม่มากนัก ทำให้การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินอาจทรงตัว เนื่องจาก ตลาดรอลุ้นข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ช่วงปลายสัปดาห์ อาทิ ยอดค้าปลีก และดัชนีราคาผู้ผลิต PPI นอกจากนี้ ตลาดรอจับตาถ้อยแถลง ของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของ ECB "แนวโน้มค่าเงินบาท อาจแกว่ง sideways หลังพลิกกลับมาอ่อนค่าเร็วและแรง จากช่วงตลาดทยอยรับรู้อัตราเงินเฟ้อ สหรัฐฯ...เงินบาทอาจยังไม่กลับมาแข็งค่าได้มาก เนื่องจากยังขาดปัจจัยสนับสนุนที่ชัดเจน" นายพูน ระบุ นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.55-35.80 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.67750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.44 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 147.38 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0923 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0930 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.513 บาท/ดอลลาร์ - "แบงก์ชาติ" เอาจริง สั่งแบงก์ เร่งส่งแผนออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ภายในไตรมาส 2 ปี 67 พร้อมแผนเกี่ยวกับ transition plan สำหรับปี 2568 เพื่อช่วยหนุนธุรกิจเปลี่ยนผ่านไปสู่ "ความยั่งยืน" อย่างน้อย 1 เซกเตอร์ หวังช่วยธุรกิจเปลี่ยนผ่าน ไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น - รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยสถิตินักท่องเที่ยววันที่ 4-10 มีนาคม มีนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะใกล้ เช่น อาเซียน เอเชียตะวันออก และกลุ่มตลาดระยะไกล เช่น ยุโรป ปรับตัวลดลงตามฤดูกาล - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้น 3.8% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบเป็นรายปี สูง กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.7% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.9% ในเดือนม.ค. - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (12 มี. ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลด อัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์ก ปิดร่วงลงกว่า 1% ในวันอังคาร (12 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่อยู่ ในระดับสูงของสหรัฐ อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 22.50 ดอลลาร์ หรือ 1.03% ปิดที่ 2,166.10 ดอลลาร์/ออนซ์ - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนก.พ.ของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจน เกี่ยวกับทิศทางเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยของเฟด ก่อนที่การประชุมนโยบายการเงินของเฟด จะมีขึ้นในวันที่ 19-20 มี.ค. - ข้อมูลจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 70% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการ ประชุมเดือนมิ.ย. ซึ่งลดลงจากระดับ 71% ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยดัชนี CPI - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีก เดือนก.พ., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมี.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนก.พ. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย