BAY มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 35.55-36.25 รอติดตามเงินเฟ้อไทย-ถ้อยแถลงประธานเฟด

เผยแพร่ 04/03/2567 22:07
© Reuters.  BAY มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 35.55-36.25 รอติดตามเงินเฟ้อไทย-ถ้อยแถลงประธานเฟด
USD/THB
-

InfoQuest - กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 35.55-36.25 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 35.94 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 35.77-36.09 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังสหรัฐฯ รายงานจีดีพีไตรมาส 4/66 เติบโต 3.2% โดยได้มีการทบทวนลงจาก 3.3% แต่ยังถือว่าเป็นระดับที่แข็งแกร่ง

ขณะที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กระบุว่า แม้เฟดต้องเดินหน้าต่อไปในการทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงสู่เป้าหมายที่ 2% แต่ยอมรับว่าเฟดมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้โดยขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ส่วนดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานสูงขึ้น 2.8% ในเดือนมกราคมถือเป็นอัตราการปรับขึ้นที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี

ทางด้านเงินเยนแข็งค่าขึ้นหลังจากสมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ให้ความเห็นว่าบีโอเจมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อได้ในที่สุดซึ่งเป็นสัญญาณไปสู่การยกเลิกนโยบายดอกเบี้ยติดลบในระยะข้างหน้า

ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทย 6,725 ล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตร 657 ล้านบาท โดยในเดือนกุมภาพันธ์เงินบาทอ่อนค่า 1.3% ซึ่งมากสุดในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย อย่างไรก็ดี ในเดือนกุมภาพันธ์นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะติดตามประธานเฟดแถลงนโยบายต่อสภา รวมถึงข้อมูลภาคบริการและการจ้างงานเดือนกุมภาพันธ์ของสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้คาดว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.0% ในสัปดาห์นี้

อนึ่ง กรุงศรีมองว่าการทบทวนคาดการณ์ทิศทางดอกเบี้ยเฟดของตลาดซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเฟดและข้อมูลเศรษฐกิจมากขึ้นแล้วนั้น จะทำให้ขาขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์เป็นไปอย่างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากตัวเลขค่าจ้างบ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่คลายตัวลง

ส่วนปัจจัยในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ของไทยยังคงติดลบเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทสไทย (ธปท.) ระบุว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้มากนักแต่ยอมรับเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ทางด้านกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยยอดส่งออกเดือนมกราคมขยายตัว 10% จากช่วงเดียวของกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 19 เดือนและสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย