Cyber Monday Deal: ลดสูงสุด 60% InvestingProรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.92/93 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค เม็ดเงินไหลเข้าหนุน รอผลประชุม BoE คืนนี้

เผยแพร่ 03/11/2566 00:32
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.92/93 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค เม็ดเงินไหลเข้าหนุน รอผลประชุม BoE คืนนี้
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.92/93 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าอยู่ที่ระดับ 35.99 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.91 - 36.05 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทยังไร้ปัจจัย ใหม่ มี flow เข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรประมาณ 3,000 ล้านบาท ด้านสกุลเงินในภูมิภาคแข็งค่า สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แถลงนโยบายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งคาดว่าจะคง ดอกเบี้ย เนื่องจากเงินเฟ้อชะลอแล้ว นอกจากนี้ ต้องติดตามจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐฯ ด้วย นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.80 - 36.20 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 150.32/36 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 150.32 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0618/0622 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 1.0598 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,403.99 จุด เพิ่มขึ้น 24.03 จุด (+1.74%) มูลค่าซื้อขาย 44,380.64 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,291.28 ลบ. - นายกรัฐมนตรี กล่าวกล่าวปาฐกถาพิเศษ ภายใต้หัวข้อ "การปฏิรูปเศรษฐกิจไทยท่ามกลางวิกฤตรอบด้าน" ระบุว่าประเทศ ไทยเปิดแล้ว พร้อมรองรับการลงทุน และพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ - สภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยรายงาน Gold Demand Trends ไตรมาสที่ 3 พบแรงหนุนทองคำ ที่ต่อเนื่องจากการซื้อทองคำของธนาคารกลางที่ยังคงสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ดีมานด์รายไตรมาส (ไม่รวมการซื้อขาย นอกตลาดหลักทรัพย์) พุ่งแตะ 1,147 ตัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปีถึง 8% - ราคาทองคำในตลาดโลกมีแนวโน้มพุ่งขึ้นในปี 67 จากระดับเฉลี่ยของปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคาร กลางทั่วโลกจะเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงิน และคาดว่าความตึงเครียดในตะวันออกกลางจะหนุนราคาทองคำอย่างต่อเนื่อง หลังจาก ปัจจัยดังกล่าวทำให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์เมื่อวันที่ 30 ต.ค. - นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการเติบโต ทางเศรษฐกิจและช่วยเหลือภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อ โดยการประกาศมาตรการดังกล่าว มีขึ้นในขณะที่คณะบริหาร ของนายคิชิดะพยายามพลิกฟื้นความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชน หลังจากคะแนนนิยมของรัฐบาลลดน้อยลง

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย