

โปรดลองค้นหาใหม่อีกครั้ง
ยังคงเป็นกระเด็นร้อนแรงในหมู่นักลงทุนคริปโตชาวไทยที่กำลังจับตาดูกันอย่างใกล้ชิด สำหรับนโยบายด้านการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ล่าสุดกรมสรรพากร ได้ออกมาชี้แจ้งในวันนี้ว่าจะมีการประชุมร่วมกับภาคเอกชน อาทิ สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย เพื่อสรุปแนวทางการคำนวณภาษีคริปโทเคอร์เรนซี หลังจากนั้นจะมีการแถลงข่าวเพื่อสร้างความชัดเจนให้กับนักลงทุนอีกครั้ง ในช่วงเวลาประมาณ 15.00-16.00 น. ตามที่กรมสรรพากรได้เปิดรับฟังมุมมอง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน นั้น นายเอกนิตินิติทัณฑ์ประภาศอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “จากการที่กรมสรรพากร ได้ทำงานร่วมกับผู้แทนสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งได้มีการส่งแบบสอบถามให้ทุกฝ่ายที่อยู่ในชุมชนสินทรัพย์ดิจิทัลไทยในเรื่องการจัดเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล นั้น มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามกว่า ๓,๐๐๐ ราย โดยร้อยละ ๘๒ เป็นผู้มีเงินได้จากธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีเงินได้จากการขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ซื้อมาเพื่อเก็งกำไร โดยเกือบร้อยละ ๙๐ ทราบมูลค่าของสินทรัพย์ดิจิทัลของตนเองอย่างชัดเจน จากผลการรับฟังความคิดเห็น และการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการต่างๆ โดยยึดแนวทางการถือเอาผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง (Taxpayer – Centric) รวมถึงการทำให้ชัด ผ่อนปรน และมองอนาคต อย่างไรก็ดี การประกอบธุรกิจและการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากโดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 240 ล้านบาท เป็น 4,839 ล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าเพิ่มขึ้นจาก 9,600 ล้านบาท เป็น 114,539 ล้านบาท และมีจำนวนบัญชีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 1.7 แสนราย เป็น 1.98 ล้านราย รวมถึงวิวัฒนาการเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และรูปแบบการทำธุรกรรมต่างๆ มีความหลากหลายและปรับเปลี่ยนรวดเร็วมากตลอดเวลา กรมสรรพากรจึงได้ดำเนินการในส่วนที่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการและจะดำเนินการนำเสนอเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนในบางประเด็นเพื่อรองรับกับรูปแบบธุรกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น กรมสรรพากรได้ยึดแนวทาง ทำให้ชัด ผ่อนปรน และมองอนาคต โดยมีข้อสรุปดังนี้ ทำให้ชัด สำหรับการกำหนดรูปแบบของภาษีเงินได้ ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน ทางกรมสรรพากรได้มีแนวทาง ดังนี้ ๑. การจัดเงินได้ให้ชัดเจน โดยระบุประเภทเงินได้และผลประโยชน์ให้ครอบคลุมกำไร/รายได้จากการโอน/ผลประโยชน์อันใดจากสินทรัพย์ดิจิทัล ๒.วิธีการ ๒. วิธีการคำนวณต้นทุนโดยใช้วิธีมาตรฐานการบัญชีรับรอง โดยสามารถทำได้ ๒ วิธี คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average
กดอ่านข่าว สรรพากรไทยแถลงนโยบายภาษี Crypto แล้ว ให้นักเทรดหักขาดทุนได้ ต่อที่ Siam Blockchain
นาย Do Kwon CEO ของ Terraform Labs ได้ทวีตว่าบริษัทของเขา ไม่มีภาษีที่ต้องจ่ายแล้วในเกาหลีใต้ Terraform Labs เป็นทีมหลักในการพัฒนาโปรเจค LUNA และ UST...
เมื่อเทคโนโลยีบล็อกเชนมีความก้าวหน้าและมีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเทรดคริปโต คุณจะกลายเป็นคนโชคดีทันที ถ้าได้ช้อนซื้อคริปโตเพื่อเก็งกำไรก่อนใคร...
ในปีที่ผ่านมา Cryptocurrency ได้รับความสนใจจากนักแสดงและนักกีฬาระดับแนวหน้าทั่วโลก พวกเขาบอกว่า Crypto เป็นสิ่งที่มีวัฒนธรรมและปรัชญาเฉพาะตัว...
คุณแน่ใจหรือว่าคุณต้องการบล็อก %USER_NAME%?
เมื่อทำการบล็อก คุณและ %USER_NAME% จะไม่สามารถเห็นโพสต์ของแต่ละฝ่ายบนเว็บไซต์ Investing.com ได้
%USER_NAME% ได้ถูกเพิ่มเข้าไปใน Block List ของคุณแล้ว
เนื่องจากคุณเพิ่งยกเลิกการบล็อกบุคคลนี้ คุณต้องรอ 48 ชั่วโมงก่อนการบล็อกอีกครั้ง
ฉันรู้สึกว่าความคิดเห็นนี้
ขอบคุณ!
รายงานของคุณได้ถูกส่งไปยังผู้ดูแลบอร์ดของเราเพื่อการทบทวน
แสดงความคิดเห็น
เราสนับสนุนให้ท่านได้ใช้ช่องทางการแสดงความคิดเห็นนี้เพื่อสื่อสารสัมพันธ์กับผู้ใช้เว็บไซต์อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนในทัศนคติและสอบถามข้อสงสัยกับผู้เขียนและสอบถามซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การสื่อสารสัมพันธ์นี้เป็นไปอย่างเรียบร้อยที่เราทุกคนต้องการและคาดหวังดังนี้กรุณาพึงระลึกในข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้:
ผู้ที่โพสต์เนื้อหาข้อความสแปมหรือใช้เว็บไซต์นี้ไปในทางผิดจะถูกลบรายชื่อทิ้งจากเว็บไซต์และถูกปิดกั้นการลงทะเบียนเป็นสมาชิกในอนาคตซึ่งเป็นไปตามดุลพินิจของเว็บไซต์ Investing.com