จู่ๆ ธนาคารกลางหลายแห่งสร้างแรงกระทบซึ่งกันและกัน โดยธนาคารกลางสำคัญ 2 แห่งของโลกได้ผ่อนปรนการเก็บเงินสำรองที่เคยมีก่อนหน้านี้แล้วเปิดใจที่จะ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย และผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน หลังจากที่ธนาคารกลางหลายแห่งได้ดำเนินการเช่นเดียวกันไปก่อนหน้านี้แล้ว
นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป ผู้ที่เคยพูดมาตลอดว่าธนาคารกลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนายดรากีไม่เพียงแต่เลื่อนกำหนดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไปอีกด้วย นอกจากนั้นนายดรากียังเปิดเผยใน แถลงข่าว ภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการที่กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย โดยมีคณะกรรมการหลายคนที่พูดเกี่ยวกับการที่จะใช้มาตรการซื้อสินทรัพย์หรือที่เรียกกันว่านโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณอีกครั้ง
ปัจจุบันธนาคารกลางยุโรปยังคงดำเนินการตามที่่เคยแถลงไว้ว่าจะใช้มาตรการรีไฟแนนซ์ในระยะยาว (TLTRO) เพื่อใช้ในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบธนาคาร โดยกำหนดเงื่อนไขให้ง่ายเพื่อพยายามปล่อยเงินสินเชื่อให้กับธนาคารต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศทางใต้ของยูโรโซน
จุดยืนของนายดรากีเริ่มโอนเอียงไปตามนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยแทนที่จะคงจุดยืนในการบริหารนโยบายการเงินแบบประนีประนอม แต่กลับกล่าวในวันพุธที่ผ่านมาว่าธนาคารกลางพร้อมที่จะ “ดำเนินการตามความเหมาะสม” ในช่วงที่มีความตึงเครียดทางด้านการค้ายืดเยื้อเช่นนี้ ตลาดจึงตีความคำว่า “ตามความเหมาะสม” ว่าหมายถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งหมายความว่านายพาวเวลล์พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงท่าทีหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อัตราภาษีใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
และดูเหมือนกับว่าความเสี่ยงจะยิ่งทวีเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อตัวเลขทางเศรษฐกิจในวันศุกร์ประกาศออกมาว่ามีปริมาณตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น เพียง 75,000 ตำแหน่ง ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขในเดือนก่อนๆ ที่มีนับแสนตำแหน่ง
การพลิกนโยบายของนายพาวเวลล์และดรากีในครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากธนาคารกลางใน ออสเตรเลีย และ อินเดีย ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศตลาดเกิดใหม่ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
จุดยืนของนายพาวเวลล์นั้นทำให้ท่าทีประนีประนอมของนายดรากีส่งผลเพียงเล็กน้อยกับเงิน ยูโร เนื่องจากนักลงทุนเห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ น่าจะมีความสำคัญกว่า และนักวิเคราะห์หลายฝ่ายก็เห็นด้วยว่าสงครามทางการค้าจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้โดยตรง นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีจำนวนที่จะให้ปรับใช้ได้อีกมาก โดยมีอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในขณะนี้อยู่ที่ 2.25-2.50 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปไปอยู่ที่ระดับศูนย์แล้ว
ภายหลังการประชุมธนาคารกลางยุโรป ค่าเงินยูโรก็ปรับตัวสูงขึ้นไปทะลุกรอบแนวต้านที่ 1.13 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ธนาคารกลางยุโรปยังคงปรับระดับเงินสำรองไปอยู่ในแดนลบที่อัตรา -0.4% และอาจจะทำเช่นเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นข้อสมมุติฐานที่ว่าจะมีการใช้มาตรการซื้อสินทรัพย์น่าจะเป็นไปได้ง่ายกว่า นายดรากีกล่าวว่าธนาคารกลางยุโรปมีความพร้อมที่จะใช้ “เครื่องมือทุกอย่างที่มี”
นายดรากียังกล่าวอีกว่าธนาคารจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงกลางปี 2020 ซึ่งช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ถึง 6 เดือน และเมื่อถูกถามว่าการปรับในครั้งต่อไปน่าจะเป็นการปรับขึ้นอย่างแน่นอนใช่หรือไม่ เขาก็ปฏิเสธว่า “ไม่”
สิ่งที่ทำให้ทุกคนแปลกใจก็คือนายดรากี ผู้ที่น่าจะเกษียณอายุโดยปล่อยให้ธนาคารกลางยุโรปดำเนินไปตามสถานการณ์กลับกำลังพยายามผ่อนปรนนโยบายทางการเงินอีกครั้ง มิหนำซ้ำยังพยายามให้ผู้ที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนต้องดำเนินการตามที่เขากำหนดไว้โดยการไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จะถึงกลางปี 2020
การกระทำดังกล่าวไม่น่าที่จะ เป็นผลดี กับนายเจนส์ ไวด์มันน์ ประธานธนาคารกลางเยอรมนี ผู้มีอำนาจต่อรองสูงที่คัดค้านนโยบายของนายดรากีอยู่บ่อยครั้ง การที่นายไวด์มันน์จะขึ้นครองตำแหน่งประธานธนาคารกลางยุโรปถูกมองว่าจะกระทบกับเส้นทางนโยบายที่นายดรากีเคยกำหนดไว้อย่างแน่นอน จากผลการสำรวจบางแห่งแสดงว่า นายฟรังซัวร์ วิลเลรอย เดอ กาลอ ประธานธนาคารกลางฝรั่งเศสน่าจะมารับตำแหน่งนี้ได้อย่างราบรื่นกว่า
แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ว่านายฌอง-คล็อด ทริเชได้ดำรงตำแหน่งประธานมาเป็นเวลา 8 ปีแล้วในขณะที่เยอรมนียังไม่เคยได้เสนอชื่อเลย และยังมีอุปสรรคสำหรับนายบีนัว กูรี ผู้เป็นหนึ่งในสมาชิกกรรมการบริหารที่ทุกคนรักก็ไม่สามารถได่รับการเสนอชื่อได้เนื่องจากมีกฎที่ห้ามไม่ให้สมาชิกกรรมการบริหารเข้ารับตำแหน่ง
นี่จึงเป็นเหตุให้ทั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานและอดีตประธานธนาคารกลางของฟินแลนด์ นายออลลี เรห์นและนายเอิร์กกี ลิคาเนนยังคงหวังว่าตนจะได้รับเสนอชื่อเป็นประธานได้ ปัญหาในกระบวนการวางตำแหน่งที่ซับซ้อนของอียูก็คือหากนางมาร์เกร็ตต์ เวสเทเกอร์ จากเดนมาร์กได้เป็นประธานกรรมาธิการยุโรป ก็จะทำให้ยากต่อการเสนอชาวสแกนดิเนเวียนคนต่อไปให้มารับประธานธนาคารกลางยุโรปได้ และทุกคนก็ยังไม่ลืมความเอื้ออาทรและการพัฒนาที่ได้รับจากฝรั่งเศสมาด้วยดีจนถึงทุกวันนี้